For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สำเพ็ง.

สำเพ็ง

ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน
แผนที่ของเขตสัมพันธวงศ์ (สำเพ็งปรากฏอยู่ในชื่อ Wanit 1 Road หรือ Sampheng Road ซึ่งเริ่มมาจากย่านตลาดน้อย ในขณะที่ส่วนที่เป็นย่านการค้าที่คึกคัก จะเริ่มต้นจากบริเวณถนนราชวงศ์ไปจนสิ้นสุดที่ฝั่งถนนจักรเพชร ในเขตพระนคร)

สำเพ็ง หรือ สามเพ็ง[1] (อักษรโรมัน: Sampheng) เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช, ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน, พาหุรัดและวังบูรพา ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ทั้งนี้สำเพ็งในปัจจุบัน รู้จักกันดีในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 และในช่วงระหว่างสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิเรียกว่า ตรอกหัวเม็ด [2]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ที่มาของชื่อ "สำเพ็ง" นั้นไม่มีใครทราบว่ามาจากคำว่าอะไร ได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "สามแพร่ง"[3], "สามแผ่น" ซึ่งแผ่นย่อมาจากแผ่นดิน[3], "ลำเพ็ง" ซึ่งเป็นชื่อพืช[3], "สามปลื้ม" ซึ่งเป็นชื่อวัด[3], หรือมาคำจีนแต้จิ๋วว่า "ซำเพ้ง" (三平 sam1 pêng5; จีนกลาง: sān píng) แปลตรงตัวได้ว่า "ศานติทั้งสาม"

ในทัศนะของสุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคำว่า "สำเพ็ง" เป็นภาษามอญที่แปลว่า "เจ้าขุนมูลนาย" จึงเป็นไปได้ว่าที่นี่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชาวมอญมาก่อน ที่ชาวจีนจะย้ายเข้ามาอยู่[4] ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์เห็นว่าเป็นมาจากภาษาเขมร "ซำเปียะลี" (សម្ពលី) แปลว่า แม่สื่อ, แม่เล้า[5] ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้เสนอไว้ว่า อาจจะมาจากชื่อคน "เพ็ง" 3 คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ เพียงเท่านั้น

ประวัติ

[แก้]

สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง[1]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่านสำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของมิชชันนารีที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็งในปี พ.ศ. 2378 ระบุความไว้ตอนหนึ่งว่า "ตลาดทั้งหมดดูแล้วน่าจะเรียกว่า "เมืองการค้า" (trading town) มากกว่า ที่นี่มีร้านค้ามากมายหลากหลาย ตั้งอยู่บนสองฝั่งฟากถนนยาวราว 2 ไมล์ แต่ด้วยเหตุที่ร้านค้าต่าง ๆ ตั้งอยู่ปะปนกัน เดินเพียงไม่กี่หลาก็สามารถหาซื้อสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้ครบตามที่ต้องการ"[1]

และในสมัยนั้น สำเพ็งเต็มไปด้วยร้านค้าตลอดจนซ่องโสเภณีและโรงฝิ่นที่ปลูกติดกันจนแน่นขนัด หลังคาของแต่ละหลังเกยซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดเพลิงไหม้บ่อย ๆ จนมีคำเปรียบเปรยว่าที่นี่ "ไก่บินไม่ตกพื้น"[6] สุนทรภู่รจนาว่า "ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ แพประจำยอดเรียงเคียงขนาน มีซุ้มซอกตรอกนางจ้างประจาน ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง" (นิราศเมืองแกลง) คำว่า "อีสำเพ็ง" กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่หมายถึง โสเภณี[7]

ปัจจุบัน สำเพ็งเป็นย่านการค้าที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร[8] โดยเปิดขายตั้งแต่เวลา 08:00 ถึง 17:00 น. ในเวลากลางวัน[9] และยังในเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 23:00 น. จนล่วงเข้าสู่วันใหม่ในเวลา 01:00 หรือจนถึง 06:00 น. ในยามเช้า[9] โดยสินค้าที่นิยมขาย ได้แก่ กิฟต์ช้อป, เครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า, เสื้อผ้าแฟชั่น, หมวก, นาฬิกา, ตุ๊กตาหรือของเล่นเด็ก รวมถึงอาหารด้วย เป็นต้น โดยมีทั้งขายปลีกและขายส่ง[2][9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ดำรงสุนทรชัย, สมศักดิ์ (January 2001). "ลัดเลาะเยาวราช ศึกษาตำนานการค้าที่ทรงวาดกับปูนซิเมนต์ไทย". นิตยสารผู้จัดการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  2. 2.0 2.1 laser (2009-03-23). ""เที่ยวไปกินไป @ สะพานหัน"". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  4. "'ขรรค์ชัย-สุจิตต์' ทอดน่อง 'ล้ง 1919' เปิดตำนานชุมชนจีน 'กฤช' พากินพระรามลงสรง (คลิป)". มติชน. 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
  5. จิตร ภูมิศักดิ์. (2550). โฉมหน้าศักดินาไทย, กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 9, ISBN 9789748075242. หน้า 240.
  6. "ไก่บินไม่ตกพื้น...ที่สำเพ็ง". สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.[ลิงก์เสีย]
  7. บาราย (2010-01-24). "ปริศนานาม..สำเพ็ง". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  8. "ตลาดสำเพ็ง เปิดประตูย่านการค้าแห่งใหญ่ใจกลางกรุง - SMELeader.com ศูนย์รวมธุรกิจ SMEs แฟรนไชส์ อาชีพทำเงิน". www.smeleader.com. สืบค้นเมื่อ 2017-11-17.
  9. 9.0 9.1 9.2 "ตลาดสำเพ็ง แหล่งขายส่งสินค้ากิ๊ฟช้อปที่ใหญ่ที่สุดของไทย | ขายอะไรดี". www.xn--22c0b1be3csl3a6k.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2017-11-17.
  10. "26 ร้านที่สำเพ็ง ช็อปมันๆ ถูกและดี คันปากอยากบอกต่อ! - CLEO Thailand Online Magazine". CLEO Thailand Online Magazine. 2017-07-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2017-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′34″N 100°30′15″E / 13.742869°N 100.504253°E / 13.742869; 100.504253

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สำเพ็ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?