For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พลังงานฟิวชัน.

พลังงานฟิวชัน

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
การทดลองฟิชชั่นแบบแม่เหล็ก Joint European Torus (JET) ในปี 1991

พลังงานฟิวชัน (อังกฤษ: Fusion power) คือพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ปฏิกิริยาชนิดนี้เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมธาตุเบาหลอมตัวเข้าด้วยกัน และได้นิวเคลียสที่หนักกว่าเดิมและมีเสถียรภาพมากขึ้น มวลของธาตุเบาที่รวมกันจะหายไปเล็กน้อยซึ่งส่วนที่หายไปนั้นเองได้เปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานตามสมการ กระบวนการนี้ได้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา

พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกไปในระบบสุริยะเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดนี้ ซึ่งต้องอาศัยความร้อนที่อุณหภูมิสูงนับล้านองศาเซลเซียส และมาจากการรวมนิวเคลียสของไฮโดรเจน 2 อะตอม ได้เป็นฮีเลียม 1 อะตอม โดยเกิดขึ้นบริเวณแกนกลางของดวงอาทิตย์

มนุษย์พยายามที่จะสร้างพลังงานนี้โดยการรวมไฮโดรเจน 2 อะตอม (ดิวเทอเรียมกับทริเทียม)เป็นฮีเลียม 1 อะตอม โดยพลังงานต่อมวลของปฏิกิริยานี้มากกว่ากระบวนการฟิชชันมาก อีกทั้งผลิตผลจากปฏิกิริยานี้จะไม่เป็นสารกัมมันตรังสี

การทดลองที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือการทดลองที่ Joint European Torus (JET) ปี ค.ศ. 1997 JET ได้สร้างพลังงานฟิวชั่นขึ้นได้ขนาด 16.1 เมกกะวัตต์ (65% ของพลังงานที่ใส่เข้าไป) โดยที่สามารถรักษาระดับพลังงานฟิวชั่นสูงกว่า 10 เมกกะวัตต์ได้นานกว่า 0.5 วินาที

หลักการทำงาน

[แก้]
พลังงานยึดเหนี่ยวสำหรับนิวเคลียสของอะตอมที่แตกต่างกัน Iron-56 มีพลังงานสูงสุดทำให้มีความเสถียรสูงสุด, นิวเคลียสที่อยู่ทางซ้ายของ Iron-56 มักจะปลดปล่อยพลังงานเมื่อรวมตัว (ฟิวชั่น); ส่วนที่อยู่ทางขวามักจะไม่เสถียรและปลดปล่อพลังงานเมื่อเกิดการแยกกัน  (ฟิชชั่น)

ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสของอะตอมสองตัวหรือมากกว่า เข้ามาใกล้กันมากพอจนทำให้ แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (Strong interaction) ดึงมันเข้าด้วยกัน มากกว่าที่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic interaction) จะผลักมันออกจากกัน ทำให้นิวเคลียสรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสที่ใหญ่กว่า และการรวมตัวนี้จะปลดปล่อยพลังงานออกมาหากนิวเคลียสเป็นนิวเคลียสที่เบากว่า Iron-56 (หากเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า Iron-56 จะต้องแยกนิวเคลียสออกจากกันเพื่อปลดปล่อยพลังงาน เรียกกว่าปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิชชั่น)

แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม นั้นมีผลในระยะทางที่สั้นมากๆ (ระดับ femtometer) ในขณะที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลในระยะที่ไกลกว่า ในการที่จะเกิดฟิวชั่นได้อะตอมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงต้องได้รับพลังงานจลน์มากพอที่จะก้าวข้ามกำแพงคูลอมบ์ วิธีที่จะได้พลังงานจลน์มากพอเช่น เครื่องเร่งอนุภาคหรือการให้ความร้อนจนอุณหภูมิสูง

ต่อให้มีการให้ความร้อนจนอุณหภูมิสูงแล้ว โอกาสที่เชื้อเพลิงจะเกิดฟิวชั่นก็ยังน้อยมากเนื่องจากโอกาสที่นิวเคลียสจะกระจัดกระจายกันนั้นมากกว่า ฉะนั้นเชื้อเพลิงจึงต้องถูกตรึงให้อยู่ใกล้กันให้นานมากเกินพอ เพื่อให้นิวเคลียสมีโอกาสชนเข้ากับนิวเคลียสอื่น นอกจากนี้การเพิ่มความหนาแน่นให้กับเชื้อเพลิงก็เพิ่มโอกาสเกิดฟิวชั่นได้เนื่องจากนิวเคลียสจะชนกันมากขึ้นในเวลาที่น้อยลง โดยสรุปการจะเกิดฟิวชั่นได้ต้องมีการรวมกันของสามปัจจัยคือ พลังงาน (อุณหภูมิ) ความหนาแน่นของเชื้อเพลิง และ เวลาในการตรึงเชื้อเพลิง

เมื่ออะตอมได้รับความร้อนจนทำให้มีพลังงานมากกว่าพลังงาน  Ionization อิเล็กตรอนจะหลุดออกจากอะตอมเหลือแค่นิวเคลียสของมันทิ้งไว้ กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการ Ionization และนิวเคลียสเปล่าที่เหลืออยู่เรียกกว่าไอออน ผลของกระบวนการนี้ทำให้เกิดกลุ่มก้อนของไอออน และอิเล็กตรอนอิสระที่เรียกว่า พลาสม่า ซึ่งพลาสม่านั้นควบคุมได้ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นหลายแบบจึงใช้ความสามารถในการควบคุมพลาสม่าด้วยแม่เหล็กนี้ในการตรึงอนุภาคไว้ในขณะที่ให้ความร้อน

ในปัจจุบัน เทคนิคการสร้างฟิวชชั่นมีสองแบบใหญ่ๆ คือ แบบ Magnetic confinement ซึ่งเป็นการสร้างพลาสม่าและตรึงไว้ในแบบที่กล่าวไปข้างต้น และ แบบ Inertial confinement ซึ่งเป็นการใช้เลเซอร์ในการบีบอัดและให้ความร้อนกับเชื้อเพลิง ซึ่งเทคนิคที่มีการระดมทุนและดูเป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้คือ Magnetic confinement ในรูปแบบที่เรียกว่า Tokamak ซึ่งเป็นการตรึงพลาสม่าไว้ในรูปทรงที่เรียกว่า Torus แต่ในตอนนี้ยังไม่มีเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นไม่ว่าจะใช้เทคนิคหรือประเภทไหนที่สามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ใส่เข้าไป

อันตราย

[แก้]

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นเมื่อพังจะไม่เกิดอันตรายคล้ายกับฟิชชั่น[1] เนื่องจากเตาฟิวชั่นจะสร้างฟิวชั่นได้นั้นต้องใช้อุณภูมิ ความดันและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แม่นยำสูงมาก อุปกรณใดๆก็ตามที่สูญเสียการควบคุมจะทำให้ปฏิกิริยาฟิวชั่นหยุดการทำงานทันที[2]

พลาสม่าในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นมีเชื้อเพลิงอยู่แค่ไม่กี่กรัม[3] เมื่อเทียบกับเตาฟิชชั่นซึ่งมีเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับก่อฟิชชั่นได้เป็นเดือนหรือปีโดยที่ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเพิ่ม และเชื้อเพลิงที่มากนี้ทำให้เมื่อโรงงานฟิชชั่นเกิดอุบติเหตุจะเกิดการหลอมเหลวของเตาขึ้นและเป็นอันตรายมาก[4]

เตาฟิวชั่นแบบ Magnetic containment มีสนามแม่เหล็กอย่างเข้มในขดลวดที่ตรึงไว้กับโครงสร้างของเตาปฏิกรณ์ หากโครงสร้างนี้พังลงอาจเกิดการปลดปล่อยความเครียดสูง (Tension) จนเกิดการระเบิดของแม่เหล็กออกมาข้างนอก คล้ายกับอุบัติเหตุการระเบิดของเครื่อง MRI แต่ก็สามารถป้องกันได้หากเตาฟิวชั่นอยู่ในอาคารกักกันคล้ายกับของฟิชชั่น

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

[แก้]

เตาฟิวชั่นสร้างกัมมันตภาพรังสีน้อยกว่าฟิชชั่นมากๆ เตาฟิชชั่นนั้นสร้างกัมมันตภาพรังสีซึ่งปลดปล่อยรังสีเป็นพันๆปีในขณะที่กัมมันตภาพรังสีจากฟิวชั่นนั้นคือตัวแกนของเตาเท่านั้นและส่วนใหญ่จะปล่อยกัมมันตรังสีเพียงแค่ 50 ปี

ชนิดของเชื้อเพลิง

[แก้]
ฟิวชั่นของดิวเทอเรียมและทริเทียมเกิดเป็นฮีเลียม-4,ปลดปล่อยนิวตรอนและพลังงาน 17.59 MeVออกมาเป็นพลังงานจลน์ซึ่งได้มาจากมวลที่หายไปตามสมการ E = ∆mc2

เชื้อเพลิงที่ใช้ในเตานิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นส่วนใหญ่จะเป็นธาตุเบา เช่น ไอโซโทปของไฮโดรเจนอย่างโปรเทียม หรือ ดิวเทอเรียมและทริเทียม ปฏิกิริยาของดิวเทอเรียมและฮีเลียม-3 ต้องการฮีเลียม-3 ซึ่งเป็นไอโซโทปของฮีเลียมที่หายากในโลกมาก จนจำเป็นที่จะต้องไปขุดที่นอกโลกเช่นผิวของดวงจันทร์ หรือไม่ก็สร้างขึ้นมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์อื่นๆ นักวิจัยจึงพยายามที่จะทำปฏิกิริยาระหว่างโปรเทียมและโบรอน-11 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ผลิตนิวตรอนโดยตรง ปัจจุบันปฏิกิริยาที่สร้างง่ายที่สุดคือของดิวเทอเรียมและทริเทียมเพียงแต่มีข้อเสียคือทริเทียมอาจหลุดและส่งผลต่อสภาพแวดล้อมได้

กำลังการผลิต

[แก้]

หนึ่งกิโลกรัมของเชื้อเพลิงฟิวชั่นสามารถให้พลังงานได้เทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล 10 ล้านกิโลกรัม

ข้อดีและข้อเสีย

[แก้]

ข้อดี

[แก้]

ให้พลังงานสูง - พลังงานที่ได้จากนิวเคลียร์ฟิวชั่น นั้นมากกว่าพลังงานที่ได้จากการเผาฟอสซิลถึง 10 ล้านเท่า ทำให้เชื้อเพลิงที่ต้องการในโรงงานนิวเคลียร์นั้นน้อยกว่า เชื้อเพลิงในโรงงานไฟฟ้าปกติมาก

แหล่งเชื้อเพลิงที่ยั้งยืน - เชื้อเพลิงหลักของนิวเคลียร์ฟิวชั่นคือ deuterium ซึ่งหาได้มากจากมหาสมุทร หรือแม้แต่ส่วนประกอบอื่นๆก็สามารถสร้างหรือหาได้ง่าย

ค่าใช้จ่ายน้อย - หากทำสำเร็จ มีการประมาณการไว้ว่าพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นจะมีค่าประมาณ 0.03 USD ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้นิวเคลียร์ฟิวชั่นจะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ

มีความเสี่ยงต่ำ - โรงงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นหากเกิดการผิดพลาดเกิดขึ้น พลาสม่าในเตาปฏิกรณ์จะดับลงไป และปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นจะหยุดลงเองโดยไม่ก่อความเสียหายใดๆ นอกจากนี้โรงงานฟิวชั่นยังไม่ปล่อยกัมมันตรังสีรุนแรงเหมือนของฟิชชั่นอีกด้วย

ข้อเสีย

[แก้]

โรงงานมีค่าใช้จ่ายสูง - พลังงานที่ได้จากฟิวชั่นอาจราคาแค่ 0.03 USD ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง แต่นั้นยังไม่ได้รวมถึงค่าก่อสร้างที่จำเป็นในการสร้าง infrastructure ต่างๆที่จำเป็นในการสร้างโรงงานฟิวชั่น การลุงทุนสร้างโรงงานอาจใช้งบประมาณมากถึงล้านล้านดอลล่าหากต้องการใช้ในระดับ Global

ใช้พลังงานสูง - พลังงานที่ใช้ในการรวมกันของอะตอมนั้นสูงมาก พลังงานที่ได้จากฟิวชั่นนั้นมากกว่าพลังงานที่ใช้ในการเกิดฟิวชั่นไปนิดเดียว และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการทำให้ได้พลังงานมากกว่าที่ใส่เข้าไปก็ยังเป็นไปไม่ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McCracken, G. M. (2013). Fusion : the energy of the universe. P. E. Stott (2nd ed.). Waltham, MA: Academic Press. ISBN 978-0-12-384656-3. OCLC 784573591.
  2. Berry, Jan (2012-02-01). "ITER TCWS Conceptual Design Chit Resolution Report". ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. McCracken, G. M. (2013). Fusion : the energy of the universe. P. E. Stott (2nd ed.). Waltham, MA: Academic Press. ISBN 978-0-12-384656-3. OCLC 784573591.
  4. Angelo, Joseph A. (2004). Nuclear technology. Westport, Conn.: Greenwood Press. ISBN 0-313-05907-1. OCLC 61253172.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พลังงานฟิวชัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?