For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ไอโซโทปของไฮโดรเจน.

ไอโซโทปของไฮโดรเจน

สามไอโซโทปที่เสถียรที่สุดของไฮโดรเจน: โปรเทียม (A = 1), ดิวเทอเรียม (A = 2), และ ทริเทียม (A = 3).

ไฮโดรเจน (H) มีไอโซโทปที่รู้จักกันดีอยู่ 3 ไอโซโทป คือ H1 H2และ H3 แต่ไฮโดรเจนมีไอโซโทปอื่นๆอีก 4 ไอโซโทป ในบรรดาไอโซโทปทั้งหมดของไฮโดรเจน ทริเทียม (H3) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เสถียรที่สุด ด้วยครึ่งชีวิต 12.32 ปี ส่วนไอโซโทปหนักอื่นๆมีครึ่งชีวิตไม่ถึง เซปโตวินาที (10-21 วินาที) ส่วนไอโซโทปที่เสถียรน้อยที่สุดคือ H7[1][2]

ไฮโดรเจนเป็นเพียงธาตุเดียวที่มีชื่อของไอโซโทปโดยเฉพาะและใช้มาจนปัจจุบัน ได้แก่ H2 เรียกว่า ดิวเทอเรียม H3 เรียกว่า ทริเทียม โดยทั้งสองมีสัญลักษณ์คือ D และ T ตามลำดับ

ไฮโดรเจน-1 (โปรเทียม)

[แก้]
โปรเทียม, ไอโซโทปที่เก่าแก่ที่สุดของไฮโดรเจน, ประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 1 อิเล็กตรอน. ซึ่งเป็นเอกลักษณ์กว่าไอโซโทปอื่นๆ, เพราะไอโซโทปนี้ไม่มีนิวตรอน. (ดู ไดโปรตอน)

H1 (มวลอะตอม 1.00782504(7) u) เป็นไอโซโทปที่เก่าแก่ที่สุดของไฮโดรเจน มีในธรรมชาติมากถึง 99.98% เพราะนิวเคลียสของไอโซโทปนี้มีแต่โปรตอน และเป็นสาเหตุที่ให้ชื่อไอโซโทปนี้ว่า โปรเทียม

โปรตอนของไอโซโทปนี้ไม่เคยถูกตั้งข้อสังเกตว่าจะมีการสลายตัวของไฮโดรเจน-1 ไปยังไอโซโทปที่เสถียรกว่านี้ แต่มีบางครั้งที่กล่าวถึงการสลายตัวของโปรตอนในฟิสิกส์สสาร ซึ่งมีการคาดเดาว่ากระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นด้วยครึ่งชีวิตที่มากกว่า 1036 ปี และการคาดเดานี้ก็ถูกต้องด้วยการสลายตัวของโปรตอนต้องใช้เวลาที่มากกว่า 6.6 × 1033 ปี

ไฮโดรเจน-2 (ดิวเทอเรียม)

[แก้]

H2 เป็นไอโซโทปหนึ่งที่มีความเสถียร ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม และประกอบด้วย 1 นิวตรอน และ 1 โปรตอน ในนิวเคลียสของมัน ดิวเทอเรียมมีในธรรมชาติอยู่ 0.0026 – 0.0184% (โดยจำนวน, ไม่ใช่โดยมวล) ซึ่งไอโซโทปนี้มีสารประกอบอยู่ตัวหนึ่งคือ ดิวเทอเรียมไดออกไซด์

ไฮโดรเจน-3 (ทริเทียม)

[แก้]

H3 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ทริเทียม ประกอบด้วย 1 โปรตอนและ 2 นิวตรอน ในนิวเคลียสของมัน ไอโซโทปนี้สามารถสลายด้วยการสลายตัวเบต้าไปเป็น ฮีเลียม-3 ด้วยครึ่งชีวิต 12.32 ปี [3] ทริเทียมในธรรมชาติมีอยู่น้อยมากและนำไปใช้ในการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ และสามารถพบได้ในรังสีคอสมิก

ทริเทียม สามารถได้มาจากการระดมยิงนิวเคลียสของลิเทียม-6 ด้วยนิวตรอน ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ไฮโดรเจน-4

[แก้]

H4 ประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 3 นิวตรอน ใน นิวเคลียส ไอโซโทปนี้ได้จากการระดมยิงทริเทียม ด้วย ดิวเทอเรียมเคลื่อนที่เร็ว[4] ไอโซโทปนี้มีครึ่งชีวิต (1.39 ± 0.10) × 10-21 วินาที

เมื่อปี ค.ศ. 1995 ไอโซโทปนี้เคยได้รับชื่อว่าควอเดียม ในหนังสือ The Mouse That Roared

ไฮโดรเจน-5

[แก้]

H5 ประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 4 นิวตรอน ใน นิวเคลียส ไอโซโทปนี้ได้จากการระดมยิงทริเทียม ด้วย ทริเทียมเคลื่อนที่เร็ว[4][5] และ ไอโซโทปนี้มีครึ่งชีวิต 9.1 × 10-21 วินาที

ไฮโดรเจน-6

[แก้]

H6 ประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 5 นิวตรอน และมีครึ่งชีวิต 2.90 × 10−22 วินาที

ไฮโดรเจน-7

[แก้]

H7 ประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 6 นิวตรอน ไอโซโทปนี้ได้จากการระดมยิงไฮโดรเจน ด้วย ฮีเลียม-8

อ้างอิง

[แก้]
  1. Y. B. Gurov; และคณะ (2004). "Spectroscopy of superheavy hydrogen isotopes in stopped-pion absorption by nuclei". Physics of Atomic Nuclei. 68 (3): 491–497. Bibcode:2005PAN....68..491G. doi:10.1134/1.1891200. S2CID 122902571.
  2. A. A. Korsheninnikov; และคณะ (2003). "Experimental Evidence for the Existence of 7H and for a Specific Structure of 8He". Physical Review Letters. 90 (8): 082501. Bibcode:2003PhRvL..90h2501K. doi:10.1103/PhysRevLett.90.082501. PMID 12633420.
  3. G. L. Miessler, D. A. Tarr (2004). Inorganic Chemistry (3rd ed.). Pearson Prentice Hall. ISBN 978-0-13-035471-6.
  4. 4.0 4.1 G. M. Ter-Akopian; และคณะ (2002). "Hydrogen-4 and Hydrogen-5 from t+t and t+d transfer reactions studied with a 57.5-MeV triton beam". AIP Conference Proceedings. 610: 920–924. Bibcode:2002AIPC..610..920T. doi:10.1063/1.1470062.
  5. A. A. Korsheninnikov; และคณะ (2001). "Superheavy Hydrogen 5H". Physical Review Letters. 87 (9): 92501. Bibcode:2001PhRvL..87i2501K. doi:10.1103/PhysRevLett.87.092501. PMID 11531562.

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ไอโซโทปของไฮโดรเจน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?