For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระเศวตอดุลยเดชพาหน.

พระเศวตอดุลยเดชพาหน

พระเศวตอดุลยเดชพาหน
(พลายแก้ว)
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศผู้
เกิดพลายแก้ว
พ.ศ. 2494
จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย
ตาย3 เมษายน พ.ศ. 2553 (59 ปี)​
โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2501–2553
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9
ยศพระ
เจ้าของสวนสัตว์ดุสิต (พ.ศ. 2500–2501)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร​ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2501)

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นพระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ เป็นช้างจำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง[1]

พระประวัติ

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เป็นช้างพลายเผือกโท จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง[2]เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494[1] ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง และนายปลื้ม สุทธิเกิด หมอเฒ่า เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่น ๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย [3] โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" [1] มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานองค์การสวนสัตว์ได้นำช้างพลายแก้วขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เพื่อประกอบพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลที่ 9

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เติบโตขึ้นโดยการดูแลขององค์การสวนสัตว์ ที่สวนสัตว์ดุสิต และมีอาการดุร้ายมากขึ้นจนควาญช้างควบคุมไม่ได้ จึงต้องจับยืนมัดขาทั้งสี่ไว้กับเสา เป็นที่เกรงกลัวของบุคคลทั่วไป จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมีพระราชเสาวณีย์ โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งอยู่ตรงกันข้ามถนน เมื่อ พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้บันทึกไว้ว่า

ในขณะที่นำคุณพระจากสวนสัตว์ดุสิตไปยังสวนจิตรลดา ซึ่งเพียงแต่มีถนนคั่นอยู่สายเดียวนั้น คุณพระก็อาละวาดอย่างหนัก ไม่ยอมออกเดิน เอางวงยึดต้นไม้จนต้นไม้ล้ม จนแทบจะหมดปัญญาเจ้าหน้าที่

กว่าจะนำคุณพระจากเขาดินไปถึงประตูสวนจิตรลดา ซึ่งมองเห็นกันแค่นั้น ก็กินเวลาหลายชั่วโมง ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากถือปลายเชือกที่ผูกไว้กับขาคุณพระทั้งสี่ขา คอยลากคอยดึง และดูเหมือนจะต้องใช้รถแทรกเตอร์เข้าช่วยขนาบข้าง เสี่ยงอันตรายกันมากอยู่ แต่ในที่สุดก็นำคุณพระไปยังประตูพระราชวังได้

พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา [4]

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17–18 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 มีกระแสพระราชดำรัสให้จัดสร้าง คชาภรณ์ หรือเครื่องทรงช้างต้นชุดใหม่ พระราชทานแก่พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เนื่องจากคชาภรณ์ชุดเดิมที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานให้ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีสภาพเก่า และมีขนาดเล็กเกินไป โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม รับสนองพระบรมราชโองการจัดสร้างเครื่องคชาภรณ์ชุดใหม่ ด้วยงบประมาณ 4 ล้านบาท ใช้ทองคำร้อยละ 96.5 หนักกว่า 5,953 กรัม ประกอบด้วย [5][6]

  • ผ้าปกพระพอง ทำด้วยผ้าเยียรบับ
  • ตาข่ายแก้วกุดั่น ทำด้วยทองคำ ร้อยลูกปัดเพชรรัสเซีย จำนวน 810 เม็ด
  • พู่หู จำนวน 1 คู่ ทำจากขนจามรีนำเข้าจากทิเบต
  • พระนาศ หรือผ้าคลุมหลัง ทำจากผ้าเยียรบับ
  • กันชีพ ทำด้วยผ้าสักหลาดปักดิ้น
  • เสมาคชาภรณ์ หรือ จี้ทองทำรูปใบเสมา เขียนลายนูนรูปพระมหามงกุฎครอบอุณาโลม
  • สร้อยเสมาคชาภรณ์ หรือสร้อยคอทองคำ
  • พานหน้า พานหลัง ทำด้วยผ้าถักหุ้มผ้าตาด
  • สำอาง ทำจากโลหะผิวทอง

พระเศวตอดุลยเดชพาหนได้ล้มลงเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล หัวหิน

พระอิสริยยศ

  • พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวมนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ๚[7] (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  2. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ข้าวไกลนา หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ว่าเกิดที่จังหวัดกาญจนบุรี
  3. อำนวย สุวรรณชาตรี, พระเศวต, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2547
  4. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์, คอลัมน์ ข้าวไกลนา, 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  5. "คชาภรณ์" อาภรณ์สำหรับช้างต้นคู่พระบารมี เก็บถาวร 2007-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ผู้จัดการ
  6. คชาภรณ์ชุดใหม่ แก่ช้างเผือกคู่พระบารมี จาก มติชน
  7. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระเศวตอดุลยเดชพาหน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?