For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระอุปสีวเถระ.

พระอุปสีวเถระ

พระอุปสีวเถระ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมอุปสีวมาณพ
สถานที่เกิดเมืองสาวัตถี
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
สถานที่บรรลุธรรมปาสาณเจดีย์
ฐานะเดิม
ชาวเมืองสาวัตถี
วรรณะเดิมพราหมณ์
การศึกษาจบไตรเพท
หมายเหตุ
อดีต 1 ใน 16 ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระอุปสีวเถระ เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรีที่ถูกส่งมาทูลถามปัญหาทั้ง 16 ต่อพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ โดยมีอชิตมาณพเป็นหัวหน้าคณะศิษย์ทั้ง 16 ของพราหมณ์พาวรี ต่อมาทั้งหมดได้บรรลุธรรมและอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยนับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของพระพุทธศาสนา

ประวัติ

[แก้]

ดูได้ที่ พาวรีพราหมณ์

ปัญหาของอุปสีวมาณพ

[แก้]

อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า

                         ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ผู้เดียวไม่อาศัยธรรมหรือ
                         บุคคลอะไรแล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสได้
                         ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกที่หน่วง
                         เหนี่ยว อันข้าพระองค์พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่
                         ข้าพระองค์เถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุปสีวะ

                         ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์
                         ว่า ไม่มี ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกาม
                         ทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้น
                         ไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
            อุ. 	ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่น
                         เสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญา
                         วิโมกข์ (คืออากิญจัญญายตนสมาบัติ ธรรมเปลื้องสัญญา)
                         เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญ-
                         ญายตนพรหมโลกนั้นแลหรือ ฯ
            พ. 	ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวง
                         ละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจ
                         ลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้ง
                         อยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น ฯ
            อุ. 	ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึง
                         ตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้ ผู้
                         นั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น
                         แหละ พึงเป็นผู้เยือกเย็น หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึง
                         เกิดเพื่อถือปฏิสนธิอีก ฯ
            พ. 	ดูกรอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
                         ไม่ถึงการนับ เปรียบเหมือนเปลวไฟอันถูกกำลังลมพัดไป
                         แล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉะนั้น ฯ
            อุ. 	ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มีหรือว่าท่านผู้นั้น
                         เป็นผู้ไม่มีโรค ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้
                         เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จ
                         ประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์
                         ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น ฯ
            พ. 	ดูกรอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชน
                         ทั้งหลายจะพึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด กิเลส
                         มีราคะเป็นต้นนั้นของท่านไม่มี เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น)
                         ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมด
                         ก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว ฯ

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงดับขันธปรินิพพาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระอุปสีวเถระ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?