For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระอัสสชิเถระ.

พระอัสสชิเถระ

พระอัสสชิเถระ
ภาพวาดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สดับพระปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
ภาพวาดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สดับพระปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมอัสสชิพราหมณ์
ชื่ออื่นพระอัสสชิเถระ
สถานที่เกิดเมืองกบิลพัสดุ์
สถานที่บวชป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (วันแรม 4 ค่ำ เดือน 8)
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
สถานที่บรรลุธรรมป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
บรรลุพระอรหันต์พร้อมกับปัญจวัคคีย์ด้วยอนัตตลักขณสูตร
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
บิดาบิดาท่านเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ทำนายลักษณะเจ้าชายสิทธัตถะ ในวันขนานพระนามหลังเจ้าชายประสูติได้ 5 วัน
วรรณะเดิมพราหมณ์
การศึกษาจบไตรเพท
สถานที่รำลึก
สถานที่ธรรมเมกขสถูป, ธรรมราชิกสถูป (สถานที่บรรลุพระอรหันต์) ภายในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระอัสสชิ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก

พระอัสสชิ มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นภิกษุรูปแรกที่ทำให้อุปติสสมาณพ ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตร เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ... พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน

ชาติกำเนิด

[แก้]

พระอัสสชิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “อัสสชิพราหมณ์”

เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ท่านได้ศึกษาศิลปะวิทยาจนจบไตรเพทในสำนักพราหมณ์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์

สาเหตุที่ออกบวช

[แก้]

เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคืออัสสชิพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย

ประวัติของท่านหลังจากนี้คล้ายคลึงกับประวัติท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ

ดูเพิ่มได้ที่ พระอัญญาโกณฑัญญะ และ พระสารีบุตรเถระ

บุพกรรมในอดีตชาติ

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ความสำคัญในพระพุทธศาสนา

[แก้]

ท่านก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้มีกิริยามารยาทน่าเลื่อมใสมาก จนทำให้อุปติสสะมาณพ บุตรแห่งนายบ้านนาลันทาเกิดความเลื่อมใสและยอมตนบวชในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวพระคาถาสำคัญในพระพุทธศาสนาคือพระคาถาที่รู้จักกันดีว่าคือพระคาถา "เย ธมฺมา" พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว คาถานี้ได้รับการยอมรับมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยทวารวดี พระคาถาจำนวน 4 บาทนี้ได้ถูกนำมาจารึกลงและบรรจุไว้ในพระเจดีย์ในฐานะองค์แทนแห่งพระพุทธศาสนา[1] พระคาถาของท่านมีดังนี้

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ

"ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้"

— พระอัสสชิเถระคาถา

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. วารสาร เมืองโบราณ MuangBoran Journal. พระพิมพ์เม็ดกระดุม (ซุ้มศรีวิชัย) กรุเขาศรีวิชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1] เก็บถาวร 2015-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงเมื่อ 3-9-52
  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระอัสสชิเถระ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?