For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระหฤทัยของพระเยซู.

พระหฤทัยของพระเยซู

วันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า
จัดขึ้นโดยโรมันคาทอลิก
ประเภทวันสมโภชในศาสนาคริสต์
วันที่วันศุกร์ที่สามหลังเทศกาลเพนเทคอสต์
ส่วนเกี่ยวข้องเทศกาลเพนเทคอสต์
พระหฤทัยของพระเยซู

ความศรัทธาต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซู[1] (ละติน: Cor Jesu Sacratissimum; อังกฤษ: the Most Sacred Heart of Jesus) เป็นการอุทิศตนรูปแบบหนึ่งของคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกต่อพระหฤทัยของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระหฤทัยเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่พระเป็นเจ้ามีต่อมนุษยชาติ

การอุทิศตนรูปแบบนี้พบทั้งในกลุ่มชาวโรมันคาทอลิก ชาวแองกลิคันไฮเชิร์ช และชาวลูเทอแรน โดยเน้นถึงการที่พระหฤทัยของพระเยซูได้ทรงเมตตากรุณาและทนทุกข์ทรมานเพื่อมวลมนุษย์ เชื่อกันว่ามีผู้อุทิศตนรูปแบบนี้มาตั้งแต่สมัยกลาง เพราะเป็นช่วงที่รหัสยลัทธิในศาสนาคริสต์กำลังเป็นที่นิยม[2] แต่รูปแบบที่แพร่หลายในปัจจุบันถือว่ามาจากการเผยแพร่ของนักบุญมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก นักพรตหญิงคณะแม่พระเสด็จเยี่ยม ผู้ได้เห็นนิมิตพระเยซูมาสอนให้อุทิศตนต่อพระหฤทัยของพระองค์

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก พระหฤทัยของพระเยซูเป็นแนวความเชื่อที่ใกล้เคียงกับกิจการชดใช้ต่อพระเยซูคริสต์ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 กล่าวไว้ในพระสมณสาสน์ Miserentissimus Redemptor ว่า "เจตนามณ์ของการชดใช้บาปที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่คารวกิจต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู"[3] แม้แต่บทภาวนาต่อพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ที่แพร่หลายในคริสตจักรก็อ้างอิงความศักดิ์สิทธิ์ของพระหฤทัยของพระเยซูเช่นกัน[4]

ในงานศิลปะมักแสดงรูปพระหฤทัยของพระเยซูในรูปของหัวใจที่มีไฟลุกและมีรัศมีส่องสว่างออกมา มีมงกุฎหนามล้อม มีไม้กางเขนตั้งอยู่และพระโลหิตไหนออกมา บางรูปเป็นพระหฤทัยส่องสว่างออกมาจากพระอุระของพระเยซู โดยมีพระหัตถ์ที่มีรอยแผลชี้ไปที่พระหฤทัยนั้น บาดแผลและมงกฎหนามแสดงถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขนจนสิ้นพระชนม์ ไฟและรัศมีแสดงถึงพลังความรักของพระเจ้า

ตามปฏิทินพิธีกรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก วันสมโภชพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้าจะจัดขึ้นในวันที่ 19 หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ เพนเทคอสต์ตรงกับวันอาทิตย์การสมโภชพระหฤทัยจึงตรงกับวันศุกร์เสมอ

ในประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยมีองค์การคาทอลิกหลายองค์การที่อุทิศตนต่อพระหฤทัยของพระเยซู ที่เป็นสถานศึกษา เช่น

ที่เป็นคณะนักบวชคาทอลิก เช่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. พื้นฐานของความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซู. คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ.
  2. "Devotion to the Sacred Heart of Jesus II. Historical Ideas on the Development of the Devotion, para (3-4)". Catholic Encyclopedia. New Advent. สืบค้นเมื่อ 11 July 2006.
  3. Miserentissimus Redemptor พระสมณสาสน์ในสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 http://www.vatican.va/holy_father/pius_xi/encyclicals/documents/hf_p-xi_enc_08051928_miserentissimus-redemptor_en.html
  4. บทภาวนาต่อพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์[ลิงก์เสีย].
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระหฤทัยของพระเยซู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?