For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร.

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ12 สิงหาคม พ.ศ. 2458
สิ้นพระชนม์24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (65 ปี)
พระราชทานเพลิง8 สิงหาคม พ.ศ. 2524
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
หม่อมหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
ราชสกุลฉัตรชัย (โดยประสูติ)
บุรฉัตร (โดยพระราชทาน)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
ศาสนาพุทธ
พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล

ศาสตราจารย์พิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ราชบัณฑิต (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล

พระประวัติ

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์ชายเปรม[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 มีพระโสทรภคินี 3 พระองค์ ได้แก่

มีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างมารดาอีก 8 องค์ คือ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ศุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, ท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล, ท่านหญิงหิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย[2]

พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2464 เลขประจำพระองค์ 1824 หลังจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อพระชันษาได้ 8 ปี โดยเริ่มศึกษาในโรงเรียนที่เมืองอีสบอร์น (Eastbourne) ก่อน แล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนแฮร์โรว์จนจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นทรงเข้าศึกษาที่นิวคอลเลจ (New College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในวิชาวรรณคดีและโบราณคดีอย่างมาก โปรดการอ่านและการประพันธ์เป็นชีวิตจิตใจ ขณะที่ทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษและมีพระชนมายุเพียง 19 ปี ทรงแปลวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ และทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครใช้ชื่อเรื่องว่า The Magic Lotus และจัดการแสดงโดยชาวอังกฤษที่ฮัดเดอร์สฟีลด์ (Huddersfield) เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497[3] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2498[4]

หลังจากนั้นทรงไปรับราชการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย (พ.ศ. 2510-2515) ประจำกรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา (พ.ศ. 2510-2515) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำราชสำนักเนปาล (พ.ศ. 2511-2512) ราชสำนักอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2512-2515) ราชสำนักเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน (พ.ศ. 2515-2518)

พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรและหม่อมงามจิตต์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร มีความสามารถในด้านอักษรศาสตร์ เป็นกวีและนักแปล ใช้นามปากกา "เปรมไชยา" ทรงรับราชการในตำแหน่งกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ผู้อำนวยการแผนกภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกสมาคมฝรั่งเศส กรรมการแห่งคณะกรรมการว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ตามลำดับ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 สิริพระชันษา 66 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ ประดิษฐาน ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[5] และในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงพระสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เสกสมรสกับหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสาส)[6] บุตรีพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2482 มีพระโอรสบุญธรรม 1 คน คือ หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร ซึ่งเป็นบุตรของท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล (พระขนิษฐาต่างมารดาของพระองค์)

  • หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร สมรสกับยุวดี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) และปราณี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทร์เวียง) มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
    • ชนิกานดา โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
    • ยุพาพิน บุรฉัตร ณ อยุธยา (เปลี่ยนนามสกุล จาก โกมารกุล ณ นคร)
    • ธานิฉัตร บุรฉัตร ณ อยุธยา
    • วรฉัตร บุรฉัตร ณ อยุธยา

ตำแหน่งทางวิชาการ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ไทย

[แก้]

ต่างประเทศ

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  2. เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
  3. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2497http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/079/2664.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ราชกิจจานุเบกษา 15 กุมภาพันธ์ 2498 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/014/327.PDF เก็บถาวร 2018-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๒๔ บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุและพระราชทานเพลิงศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ป.จ. ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๒๔, เล่ม 98, ตอน 127ง, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524, หน้า 4
  6. หม่อมงามจิตต์ เมื่อสมรสใช้นามสกุล ฉัตรไชย ณ อยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรเกล้าฯ พระราชทานนาม ราชสกุล บุรฉัตร สำหรับหม่อมในพระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-07. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๕๕๙๗, ๔ ธันวาคม ๒๔๙๔
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?