For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พรรคเศรษฐกร.

พรรคเศรษฐกร

พรรคเศรษฐกร
หัวหน้าเทพ โชตินุชิต
เลขาธิการแคล้ว นรปติ
ก่อตั้ง4 ตุลาคม พ.ศ. 2498
ถูกยุบ6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (21 ปี)
อุดมการณ์สังคมนิยม [1]
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเศรษฐกร เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยจดทะเบียนก่อตั้งพรรค เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนาย เทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรค และนาย แคล้ว นรปติ เป็นเลขาธิการพรรค[2] และมีการจดทะเบียนขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองอีก 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในชื่อ "พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร" และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ในชื่อ "พรรคเศรษฐกร"

ประวัติ

พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498)

พรรคเศรษฐกร จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยจดทะเบียนก่อตั้งพรรค เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนาย เทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรค และนาย แคล้ว นรปติ เป็นเลขาธิการพรรค จนกระทั่งพรรคเศรษฐกรถูกยุบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ตามคำสั่ง คณะปฏิวัติ ที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ[3]

พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร

พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยได้จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นลำดับที่ 5/2511 มีนาย เทพ โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรคนาย แคล้ว นรปติ เป็นรองหัวหน้าพรรคนาย พรชัย แสงชัจจ์ เป็นเลขาธิการพรรคและนาย ทองใบ ทองเปาด์ เป็นรองเลขาธิการพรรค [4]

พรรคแนวร่วม-เศรษฐกรถูกยุบตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [5]

พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2517)

พรรคเศรษฐกร จดทะเบียนก่อตั้งอีกครั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 มีนายทิม ภูริพัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรค[6] ต่อมาถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามคำสั่งของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พรรคเศรษฐกรได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 9 ที่นั่งโดยนายเทพหัวหน้าพรรคและนายแคล้วเลขาธิการพรรคก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา

การเลือกตั้ง 15 ธันวาคม 2500

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าได้ที่นั่งในสภาทั้งหมด 7 ที่นั่งลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 2 ที่นั่ง

การเลือกตั้ง 10 กุมภาพันธ์ 2512

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พรรคแนวร่วม-เศรษฐกร ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าทางพรรคได้ที่นั่งในสภาเพียง 4 ที่นั่งและนายเทพ โชตินุชิต หัวหน้าพรรคก็ยังพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งที่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านเกิด

ในการเลือกตั้งครั้งนั้น มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้ง ประกอบด้วย แคล้ว นรปติ มีเดช วรสีหะ สนั่น ธีระศรีโชติ และ สว่าง ตราชู จากจังหวัดขอนแก่นทั้ง 4 คน

การเลือกตั้ง 26 มกราคม 2518

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคเศรษฐกร ได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 ที่นั่ง คือ เริ่มรัฐ จิตรภักดี จากจังหวัดศรีสะเกษ

อ้างอิง

  1. "อุดมการณ์สังคมนิยม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-06-30.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
  3. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอน 119 ง หน้า 3610 24 ธันวาคม พ.ศ. 2511
  5. ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 126 ก พิเศษ หน้า 3 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พรรคเศรษฐกร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?