For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พรรคสยามใหม่ (พ.ศ. 2518).

พรรคสยามใหม่ (พ.ศ. 2518)

พรรคสยามใหม่
หัวหน้าเปรม มาลากุล ณ อยุธยา
รองหัวหน้าเติม สืบพันธุ์
เลขาธิการสม วาสนา
ก่อตั้งมกราคม 2518
สภาผู้แทนราษฎร
3 / 269
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 279
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสยามใหม่ พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่ได้จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยได้จดทะเบียนต่อ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อปี 2518 มีนาย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค[1]

การเลือกตั้ง

พรรคสยามใหม่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป จำนวน 2 ครั้ง คือ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 3 คน[2] นำโดย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา หัวหน้าพรรคจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ สม วาสนา เติม สืบพันธุ์ จาก จังหวัดอุดรธานี

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาเพียง 1 คนคือ นายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา จากจังหวัดอุตรดิตถ์

การยุบพรรค

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[3] แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[4]

ยุคฟื้นฟู

กลุ่มสยามใหม่ นำโดยนายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา ได้ฟื้นฟูพรรคสยามใหม่ขึ้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 โดยใช้ชื่อ กลุ่มสยามปฏิรูป เนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ถูกกำหนดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 แต่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองออกมาบังคับใช้ ดังนั้น บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจึงยกเว้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นการรวมตัวอขงนักการเมืองในรูปแบบของ "กลุ่มการเมือง"[5] กลุ่มสยามปฏิรูปได้ลงเลือกตั้งใน วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยทางได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้นเพียง 1 คนคือนาย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา จากเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ [6]

ต่อมาทางกลุ่มสยามปฏิรูปได้จับมือรวมตัวกับกลุ่มสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์และ ส.ส. ที่ไม่สังกัดพรรคอีก 6 คนนำโดยนาย ประมวล กุลมาตย์ ส.ส. ชุมพรตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อว่า กลุ่มสยามปฏิรูปสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และหลังจากนั้นทางกลุ่มได้จับมือกับกลุ่มของพันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ และกลุ่มชาติประชาชนของเรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ในนาม พรรคสยามประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2526 ทำให้บทบาทของทางกลุ่มสยามปฏิรูปยุติลงนับแต่บัดนั้น

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง (39 พรรค)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  3. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
  4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2534
  5. ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 วันที่ 22 เมษายน 2522 ออนไลน์ : สถาบันพระปกเกล้า
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พรรคสยามใหม่ (พ.ศ. 2518)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?