For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ธงชาติเบลีซ.

ธงชาติเบลีซ

ธงชาติเบลีซ
การใช้ธงชาติ
สัดส่วนธง3:5
ประกาศใช้21 กันยายน พ.ศ. 2524
ลักษณะธงพื้นน้ำเงิน มีขอบแดงที่ตอนบนและตอนล่าง กลางธงมีรูปวงกลมสีขาว ภายในมีภาพตราแผ่นดินของเบลีซล้อมด้วยใบมะกอก 50 ใบ
การใช้ธงผืนเก่า
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2524
ลักษณะธงพื้นน้ำเงิน กลางธงมีรูปวงกลมสีขาว ภายในมีภาพตราแผ่นดินของเบลีซล้อมด้วยใบมะกอก 50 ใบ

ธงชาติเบลีซ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ที่ขอบธงตอนบนและตอนล่างมีแถบขนาดเล็กสีแดง กลางธงมีรูปวงกลมสีขาว ภายในมีภาพตราแผ่นดินของเบลีซ ซึ่งล้อมรอบด้วยใบมะฮอกกานีสีเขียวจำนวน 50 ใบ ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 อันเป็นปีที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร โดยขณะนั้นเบลีซใช้ชื่อประเทศว่า บริติชฮอนดูรัส ภายหลังเมื่อเบลีซได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2524 ธงนี้จึงมีฐานะเป็นธงชาติเบลีซอย่างเป็นทางการ

ภายในตราแผ่นดินนั้น ประกอบด้วยรูปโล่ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพขวานและไม้พายไขว้ในพื้นสีขาวที่ช่องซ้ายบน รูปขวานกับเลื่อยไขว้กันในพื้นสีเหลืองที่ช่องขวาบน และภาพเรือใบแล่นในทะเลบนพื้นสีฟ้าช่องล่างกลาง เบื้องหลังโล่นี้มีภาพต้นมะฮอกกานี เบื้องซ้ายของโล่เป็นภาพคนงานผิวเหลืองแบกขวาน เบื้องขวาเป็นรูปคนงานผิวดำแบกพาย ทั้งสองคนนี้ยืนประคองรูปโล่ เบื้องล่างของภาพทั้งหมดมีคำขวัญประจำชาติในแพรแถบสีขาว เป็นข้อความภาษาละตินใจความว่า "Sub Umbra Floreo" (อันอาจแปลได้ว่า "เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา") ภาพทั้งหมดมีความหมายถึงอุตสาหกรรมไม้มะฮอกกานี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของชาติ ตรานี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450

ส่วนสีของธงชาตินั้น มีที่มาจากสีของพรรคการเมืองที่เป็นแกนสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของเบลีซ กล่าวคือ สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของพรรคสหภาพประชาชน (People's United Party - PUP)[1] ส่วนสีแดงคือสีของพรรคสหประชาธิปไตย (United Democratic Party - UDP)

ใบมะฮอกกานีทั้ง 50 ใบ หมายถึงปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) อันเป็นปีที่พรรคสหภาพประชาชนได้อำนาจปกครองประเทศ

ธงชาติบริติชฮอนดูรัส

[แก้]
ธงผู้สำเร็จราชการแห่งเบลีซ ธงอาณานิคมบริติชฮอนดูรัส พ.ศ. 2405 - 2524

บริติชฮอนดูรัสเป็นชื่อประเทศเบลีซในสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2405 - 2524 ในสมัยนั้นได้ธงธงชาติตามอย่างบรรดาชาติอาณานิคมของสหราชอาณาจักรทั่วไป กล่าวคือ ใช้ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน มีรูปธงชาติสหราชอาณาจักรที่มุมธงบนด้านคันธง ที่พื้นสีน้ำเงินนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบริติชฮอนดูรัส ซึ่งเป็นกรอบตราเกือบกลมลักษณะคล้ายตราอาร์ม ภายในแบ่งพื้นเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพธงชาติสหราชอาณาจักรที่ช่องซ้ายบน ภาพอุปกรณ์การทำป่าไม้ 4 ชนิดได้แก่ ค้อนใหญ่ เลื่อย ขวาน และไม้พายที่ช่องซ้ายล่าง และภาพเรือใบแล่นในทะเลหันหน้าไปทางเสาธงที่ช่องล่างสุด ภาพตราดังกล่าวนี้ล้วนสื่อความหมายถึงอุตสาหกรรมการทำป่าไม้มะฮอกกานีอันเป็นอุตสาหกรรมหลักของดินแดน และเริ่มใช้ในธงชาติเมื่อปี พ.ศ. 2413 โดยตรานั้นอยู่ในพื้นวงกลมสีขาว ต่อมาจึงยกเอาวงกลมดังกล่าวออกในปี พ.ศ. 2462

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Belize Flag - Flags of Belize". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ธงชาติเบลีซ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?