For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ธงชาติศรีลังกา.

ธงชาติศรีลังกา

ธงชาติศรีลังกา
Lion Flag (ธงราชสีห์)
การใช้ธงพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือพลเรือน
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้22 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนต้นธงเป็นแถบแนวตั้งสีเขียวและสีแสด ตอนปลายเป็นรูปราชสีห์สีทองยืนถือดาบในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเลือดหมู ที่มุมทั้งสี่ของสี่เหลี่ยมนั้นมีใบโพธิ์ รูปทั้งหมดนี้อยู่ในพื้นธงสีทอง
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้พ.ศ. 2515
ลักษณะธงพื้นขาว มีภาพธงชาติที่มุมธงบนด้านคันธง

ธงชาติศรีลังกา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีทอง ภายในประกอบด้วยแถบสีเขียวและสีแสดแนวตั้งที่ด้านคันธง ส่วนด้านปลายธงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเลือดหมู ภายในมีรูปราชสีห์ยืน เท้าหน้าข้างหนึ่งถือดาบ ที่มุมสี่เหลี่ยมแต่ละมุมนั้นมีใบโพธิ์มุมละ 1 ใบ ธงนี้เรียกชื่ออีกอย่างว่า "ธงราชสีห์" ("Lion Flag") ธงนี้ใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2494 เมื่อประเทศศรีลังกายังใช้ชื่อว่ารัฐอธิราชซีลอน (Dominion of Ceylon) ภายใต้ความปกครองของสหราชอาณาจักรต่อมาจึงได้มีการแก้ไขให้เป็นธงแบบปัจจุบันเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2515

ประวัติ

[แก้]

เมื่อพระเจ้าวิชยะ กษัตริย์พระองค์แรกแห่งเกาะลังกาเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้จากฝั่งอินเดียในปี พ.ศ. 57 พระองค์ได้ทรงนำเอาธงรูปราชสีห์มาใช้เป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ สัญลักษณ์รูปราชสีห์จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกานับแต่นั้นมา กษํตริย์ที่สืบทอดราชบัลลังก์ต่อมาจากพระเจ้าวิชยะต่างรับสืบทอดสัญลักณ์ราชสีห์ และสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้ภายหลังได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพและความหวัง ตามตำนานในระยะต่อมากล่าวว่าเมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีทรงทำสงครามได้ชัยชนะจากพระเจ้าเอฬาระทมิฬซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของเกาะลังกาไว้นั้น พระองค์ทรงใช้ธงรูปราชสีห์ยืนถือดาบด้วยเท้าขวาหน้าและสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์และพระจันทร์

ธงรูปราชสีห์ได้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2358 จึงสิ้นสุดลงด้วยการที่พระเจ้าศรีวิกรมะราชสิงหะ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรแคนดี ลงพระนามในอนุสัญญาแคนดีเมื่อวันที่ 2 มีนาคมของปีนั้น โดยประกาศให้พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงมีฐานะเป็นกษัตริย์แห่งซีลอน ธงราชสีห์นั้นจึงถูกแทนที่ด้วยธงยูเนี่ยนแจ็คของสหราชอาณาจักรในฐานะธงชาติซีลอน ส่วนรัฐบาลบริติชซีลอนนั้นใช้ธงอีกอย่างหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ต่างหาก สำหรับธงราชสีห์เดิมนั้น ฝ่ายอังกฤษได้นำไปไว้ที่สหราชอาณาจักรและถูกเก็บรักษาไว้ที่รอแยลฮอลปิตอลเชลซี (Royal Hospital Chelsea) ในเมืองเชลซี กาลเวลาที่ผ่านไปหลายปีทำให้ชาวลังกาหลงลืมรูปแบบดั้งเดิมของธงนี้ไป

หลังจากนั้น ด้วยความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชที่เข้มแข็งขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อี.ดับเบิลยู. เปเรรา (E. W. Perera) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในขบวนการเรียกร้องเอกราชของศรีลังกา จึงได้ค้นพบธงราชสีห์ของเดิมซึ่งถูกเก็บไว้ที่อังกฤษอีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือของ ดี.อาร. วิเชนวาร์เดเน ภาพของธงดังกล่าวจึงได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ "ดินามินา" ("Dinamina") ฉบับพิเศษ เพื่อระลึกถึงการครบรอบ 100 ปีแห่งการเสียเอกราชของศรีลังกา เนื่องจากตกเป็นอาณานิคม และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอื่น ๆ ธงราชสีห์ได้กลายเป็นจุดดึดดูดความสนใจของสาธารณชน ซึ่งได้เห็นธงนี้เป็นครั้งแรกหลังการล่มสลายของอาณาจักรแคนดี

ธงราชสีห์ได้รับการยอมรับเป็นธงชาติในฐานะธงชาติของรัฐอธิราชซีลอน เมื่อ พ.ศ. 2491 อย่างไรก็ตามต่อมาได้มีกานเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงอีกในปี พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2515 โดยในการเปลี่ยนแปลงครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2515 นั้น ได้มีการเปลี่ยนเอารูปปลายหอกที่อยู่ตรงมุมธงทั้งสี่มุมเป็นรูปใบโพธิ์แทน[1] ตามคำแนะนำของนิสสันกา วิเชเยรัตเน (Nissanka Wijeyeratne) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการวัฒนธรรมและประธานคณะกรรมการพิจารณาแบบธงชาติและเครื่องหมายประจำชาติในเวลานั้น รูปใบโพธิ์ทั้งสี่ที่เพิ่มเข้ามานั้นมีความหมายถึงคุณธรรม 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา[2] [3]

ความหมาย

[แก้]

สัญลักษณ์แต่ละอย่างในธงชาติศรีลังกามีดังนี้

สัญลักษณ์ ความหมาย
ราชสีห์ ชาวสิงหลและกำลังของชาติ
ใบโพธิ์ พระพุทธศาสนาและอิทธิพลแห่งพุทธศาสนาที่มีต่อชาติ, คุณธรรม 4 ข้อ ตามหลักพรหมวิหารธรรม ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ดาบ อำนาจอธิปไตย
ขนแผงคอราชสีห์ ไตรสิกขา 3 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
เคราราชสีห์ วาจาอันบริสุทธิ์
ด้ามดาบ ธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
จมูกราชสีห์ ความเฉลียวฉลาด
สองเท้าหน้าของราชสีห์ ความบริสุทธิ์ในการควบคุมความเจริญ
แถบแนวตั้งสีแสด ชาวทมิฬ
แถบแนวตั้งสีเขียว ชาวแขกมัวร์และความศรัทธาในศาสนาอิสลาม
ขอบธงพื้นสีเหลืองทอง ประชาชนเชื้อชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในประเทศศรีลังกา
พื้นสีแดงเลือดหมู ศาสนาอื่น ๆ และชนชาติส่วนน้อย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Volker Preuß. "Flagge des Sri Lanka (Ceylon)" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2003-09-07.
  2. Amara Samara in Sinhala เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Rivira, Retrieved on 4th January 2009.
  3. Salute the Flag เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Bottom Line, Retrieved on 4 February 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ธงชาติศรีลังกา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?