For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา.

ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา

กองบิน 1
ฐานบินโคราช, ค่ายเฟรนชิฟ
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
นครราชสีมา
ภาพถ่ายทางอากาศของกองบินโคราช 23 กรกฎาคม 2530
ประเภทฐานบินปฏิบัติการหลัก
ข้อมูล
เจ้าของกองทัพอากาศไทย
ผู้ดำเนินการกองทัพอากาศไทย
กองทัพอากาศสหรัฐ
ควบคุมโดยทัพอากาศแปซิฟิก (พ.ศ. 2507–2519)
กองทัพอากาศไทย (พ.ศ. 2498–2507; 2519–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์
สร้าง2498 (2498)
การใช้งานพ.ศ. 2498–ปัจจุบัน
การต่อสู้/สงครามสงครามเวียตนาม
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์ทัพอากาศที่ 13 (PACAF)
ผู้เข้าถือครองกองกำลังที่ปรึกษาสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2507–2508)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 6234 (ชั่วคราว) (พ.ศ. 2508–2509)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 388 (พ.ศ.2509–2519)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 354 (ประจำการเทนแนนต์) (พ.ศ. 2515–2517)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 347 (เทนแนนต์) (พ.ศ. 2517–2518)
Source: DAFIF[1]
ท่าอากาศยานทหารกองบิน 1 นครราชสีมา
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร
เจ้าของกองทัพอากาศ
ที่ตั้งตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ยุติบริการผู้โดยสาร5 ธันวาคม 2540 (2540-12-05)[2]
ปีที่สร้างพ.ศ. 2498
ปีที่ใช้งานพ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน
กองทัพที่ใช้งานกองบิน 1 นครราชสีมา กองทัพอากาศ
เหนือระดับน้ำทะเล728 ฟุต / 222 เมตร
พิกัด14°56′01″N 102°04′47″E / 14.93361°N 102.07972°E / 14.93361; 102.07972
เว็บไซต์wing1.rtaf.mi.th
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
06/24 9,843 3,000 คอนกรีต

ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา หรือ ฐานบินโคราช (อังกฤษ: Korat Royal Thai Air Force Base) (ICAO: VTUN) ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[3] เป็นที่ตั้งของกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร บริเวณทางตอนใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งในช่วงสงครามเวียดนาม ท่าอากาศยานนี้ถูกใช้เป็นฐานทัพของทหารสหรัฐในประเทศไทย

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2529[2] แต่หลังจากนั้นปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ลง หลังจากเปิดท่าอากาศยานนครราชสีมา ปัจจุบันใช้ในด้านการทหารเท่านั้น

ฝูงบิน

[แก้]

ในปัจจุบัน กองบิน 1 มี 3 ฝูงบินย่อย คือ[4]

  • ฝูงบิน 101 โดยยังไม่ได้รับการบรรจุอากาศยานเข้าประจำการ
  • ฝูงบิน 102 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)
  • ฝูงบิน 103 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)

โคปไทเกอร์

[แก้]

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน และหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย[5]

ประวัติ

[แก้]
แผนที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2516

กองบิน 1 ดอนเมือง

[แก้]

กองบิน 1 นครราชสีมามีประวัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 เดิมเรียกว่ากองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ขึ้นกับกรมอากาศยานทหารบก ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองฝั่งตะวันตก (บริเวณอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ในปัจจุบัน)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองโรงเรียนการบินที่ 1 หลังจากนั้นได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาการจัดหน่วยในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2479 ลงวันที่ 15 เมษายน 2479 ให้เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินน้อยที่ 1 และถือเป็นวันสถาปนากองบิน 1 ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 1ในวันที่ 1 ตุลาคม 2506

สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างลานบิน ณ พื้นที่ที่ตั้งของกองบิน 1 ในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานกองกำลังหนุนสำหรับกองกำลังของญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบ ประเทศไทยได้เอาพื้นที่ลานบินคืน โดยกองทัพอากาศได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วต่อจากญี่ปุ่น

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

[แก้]

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เป็นกองบินสังกัดกองทัพอากาศไทย มีหน่วยขึ้นตรงอยู่คือ ฝูงบิน 102 และ ฝูงบิน 103 เป็นฝูงบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทย ในวันที่ 24 ตุลาคม 2519 กองบิน 1 ได้ย้ายกองบินมาประจำอยู่ที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา จนถึงปัจจุบัน[6] โดยในช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาขอใช้พื้นที่ของกองบิน 1 ในการทำสงครามกับประเทศเวียดนามเหนือ จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Airport information for VTUN". World Aero Data. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-05.((cite web)): CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) Data current as of October 2006. Source: DAFIF.
  2. 2.0 2.1 ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานนครราชสีมาของกรมท่าอากาศยาน
  3. ท่าอากาศยานและสถานีควบคุมจราจรทางอากาศจาก กสทช.
  4. อากาศยานที่เข้าประจำ ณ กองบิน 1[ลิงก์เสีย]
  5. การฝึกผสมโคปไทเกอร์[ลิงก์เสีย]
  6. ประวัติความเป็นมากองบิน 1[ลิงก์เสีย]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?