For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ถนนพระร่วง.

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง[1] เป็นเส้นทางโบราณมีลักษณะเป็นแนวคันดินโบราณ ลักษณะเนินดินพูนสูงขึ้นมาเป็นแนวยาว บางแห่งจะขาดหายไปบ้าง ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร กว้าง 8–12 เมตร สูง 2–5 เมตร เชื่อมระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงสมัยกรุงสุโขทัย ทอดยาวจากแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านเมืองต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร เมืองเพชร (คีรีมาศ) ในจังหวัดสุโขทัยและต่อไปจนจรดลำน้ำน่านที่เมืองศรีสัชนาลัย ตลอดสองข้างทางถนนพระร่วง มีทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ[2] ระหว่างเส้นทางจะผ่านเมืองโบราณ 3 เมือง ได้แก่ เมืองบางขลัง เมืองบางพาน และเมืองไตรตรึงษ์[3]

ตำนาน

[แก้]

มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานานว่า พระร่วงเจ้าทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง บ้างว่าพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว[4]

การปรากฏในหลักฐาน

[แก้]

ชื่อ "ถนนพระร่วง" ปรากฏในเรื่อง เสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 2449 และอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำรวจถนนพระร่วงระหว่างวันที่ 18 มกราคม–2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ เที่ยวเมืองพระร่วง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาสืบหาประวัติความเป็นมาของถนนพระร่วง จากศิลาจารึก คือ หลักศิลาเมืองสุโขทัยที่ 1 มีข้อความปรากฏว่า "...๑๒๐๙ ศก ปีกุณให้ขุดเอาพระธาตุออกท้งงหลายเห็น กทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวนน จึงเอาลงฝงงในกลางเมืองศรีสัชนาไลย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้า (ปี) จึงออกแล้ว ต้งงวงผา (กำแพงศิลา) ล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึงแล้ว..."[5] ทรงวินิจฉัยว่า การก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ที่ใช้เวลานาน 6 ปี ระหว่างเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) กับสุโขทัยอยู่บ่อย ๆ อาจเป็นเหตุให้สร้างถนนพระร่วงในสมัยนี้

หลักศิลาเมืองสุโขทัยที่ 2 ปรากฏข้อความว่า "...ในการนั้นพระองค์ (พระเจ้ากมรเตญอัตศรีธรรมมิกราชาธิราช) ทรงระลึกถึงพระเชษฐาเมืองสัชนาลัยจะเสด็จนำพยุหพลไป ...ฯลฯ... แล้วพระองค์ท่านเสด็จดำเนินพลไปปราบปรามเมืองหนึ่งชื่อศรีจุธามลราชมหานครตั้งอยู่ทิศพายัพเมืองศรีสัชนาลัยเสด็จทอดพระเนตรตามระยะสถลมารคไปเห็นว่าลำบากยากแก่ราษฎรไปมาค้าขาย จึงทรงพระกรุณาโปรดให้รี้พลขุดคลองทำถนนหนทางหลวง ตั้งแต่เมืองสุโขทัยมาจนตลอดถึงเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองน้อยใหญ่ ทำทางน้ำทางบกแวะเวียนไปตามหว่างทางใหญ่ เป็นการบุญสนองคุณพระราชบิดา..."[6] ทรงวินิจฉัยว่า ที่พระเจ้ากมรเตญอัตศรีธรรมิกราชาธิราชได้สั่งให้ทำถนนระหว่างสุโขทัยกับสวรรคโลกนั้นเป้นการซ่อมถนนเก่าของพระเจ้ารามคำแหง ผู้เป็นอัยกา ส่วนคลองที่ขุดเพื่อให้มีน้ำไว้ตามทางประการหนึ่ง กับต้องการดินขึ้นมาถมถนนอีกประการหนึ่ง

สภาพในปัจจุบัน

[แก้]

สภาพของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปถึงเมืองเก่าสุโขทัยและเมืองเก่าศรีสัชนาลัย แต่เดิมเป็นแนวพูนดินสูงราวครึ่งเมตรถึงหนึ่งเมตร ปัจจุบันยังคงมีร่องรอยเป็นแห่ง ๆ มีแนวถนนที่ได้รับการสร้างเป็นถนนใหม่จากเมืองเก่าศรีคีรีมาศไปยังเมืองเก่าสุโขทัย และส่วนที่อยู่ขนานไปกับถนนที่สร้างใหม่ก่อนถึงเมืองเก่าสุโขทัย (จากบ้านนาโพธิ์ถึงเมืองเก่า)

แนวถนนจากเมืองเก่าสุโขทัยไปยังเมืองเก่าศรีสัชนาลัยยังคงหลงเหลือแนวถนนทางตะวันออกวัดโบสถ์ประมาณ 500 เมตร โดยแนวถนนทอดยาวไปทางเหนือในระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จนถึงวัดใหญ่ชัยมงคล ตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล นอกนั้นได้ถนนได้กลายสภาพเป็นที่นาและเป็นที่ดินทำประโยชน์ไปหมดแล้ว[7]

ข้อสันนิษฐาน

[แก้]

แม้จะมีการศึกษาเรื่องถนนพระร่วงมายาวนาน แต่ก็ยังหาข้อสรุปของจุดประสงค์ในการสร้างถนนมิได้ บ้างสันนิษฐานว่าเป็นถนน มิใช่คลองส่งน้ำ เนื่องจากพื้นผิวถนนมีความกว้างมากกว่าความสูงที่จะเป็นคันคลองเพื่อกันน้ำล้น อีกแนวคิดคือ พนังในการขุดคลองชลประทาน โดยนำน้ำมาจากแม่น้ำปิงที่เมืองกำแพงเพชรทางตอนใต้ ไปบรรจบกับคลองชลประทานที่ขุดซึ่งได้มีการนำน้ำจากทางตอนเหนือด้านตะวันตกของเมืองศรีสัชนาลัย น้ำที่ไหลมาบรรจบกันระบายลงไปตามคลองแม่ลำพันสู่แม่น้ำยม และต่อมาจึงได้สร้างเมืองสุโขทัยขึ้น ณ จุดที่น้ำมาบรรจบกัน อีกแนวคิดคือ เป็นคันกั้นน้ำ เพื่อทำให้เกิดความสมดุลกันระหว่างระดับน้ำและพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โสภิณ อาชวเมธากุล. "สารสนเทศภูมิศาสตร์ สถานที่ตามเส้นทางเสด็จในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง"". คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  2. "ตำนานพระร่วง". ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก.
  3. "ตามรอยมรดกพระร่วง มรดกโลก ชมความยิ่งใหญ่". โพสต์ทูเดย์.
  4. "ย้อนรอย "เที่ยวเมืองพระร่วง" ตอนที่ ๕ (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)". ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก.
  5. "หลักศิลาจารึก (จำลอง)".
  6. "ประชุมพงศาวดาร, เล่มที่ 1". p. 183.
  7. ไพฑูรย์ มีกุศล. "ถนนพระร่วง : อดีต - ปัจจุบัน".
  8. "ถนนพระร่วงแห่งวัฒนธรรมสุโขทัย : ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี". กระทรวงวัฒนธรรม.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ถนนพระร่วง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?