For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จารึกวัดศรีชุม.

จารึกวัดศรีชุม

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
จารึกวัดศรีชุม
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2
วัสดุหินดินดาน
ความสูง275 เซนติเมตร (108 นิ้ว)
ความกว้าง67 เซนติเมตร (26 นิ้ว)
ตัวหนังสืออักษรสุโขทัย
สร้างราว พ.ศ. 1884-1910
ช่วงเวลา/วัฒนธรรมสุโขทัย
ค้นพบพ.ศ. 2430 ในวัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ค้นพบโดยหลวงสโมสรพลการ
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
จารึกวัดศรีชุม
มณฑปวัดศรีชุม สุโขทัย

จารึกวัดศรีชุม หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เป็นศิลาจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ที่เล่าเรื่องราวการสถาปนากรุงสุโขทัย และ วีรกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์นำถุม โดยสันนิษฐานว่าผู้สร้างศิลาจารึกหลักนี้คือ พระมหาเถรศรีศรัทธา ผู้เป็นเชื้อสายของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้สถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย

ในจารึกยังปรากฎคำว่า ขอม ครั้งแรก หลังยุคอาณาจักรพระนครได้ล่มสลายลง

รูปลักษณ์

[แก้]

จารึกสลักตัวอักษรไทย ภาษาไทย บนแผ่นหินดินดาน รูปใบเสมา เรียวบาง (ชำรุดบางแห่ง) มี 2 ด้าน 212 บรรทัด กว้าง 2 ศอก สูง 9 ศอก หนา 3 ถึง 4 นิ้วโดยประมาณ

การค้นพบ

[แก้]

ตามประวัติ ใน พ.ศ. 2430 หลวงสโมสรพลการได้ค้นพบจารึกนี้อยู่ในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุม และได้ขนย้ายนำมารวบรวมไว้ในกรุงเทพฯ ผู้ศึกษาจารึกนี้เป็นคนแรกคือ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ผู้เป็นบรรณารักษ์ใหญ่หอพระสมุดวชิรญาณในขณะนั้น ข้อความจารึกได้รับการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2467 ปัจจุบันจารึกนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เนื้อหาในจารึก

[แก้]

สันนิษฐานว่าศิลาจารึกวัดศรีชุมนี้อาจสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1884-1910[1] ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)

เรื่องราวที่ปรากฏในจารึกกล่าวถึง

  • การสถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย รวบรวมหัวเมืองเหนือโดยพ่อขุนศรีนาวนำถุม
  • ขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัยในเวลาต่อมา
  • พ่อขุนผาเมืองเป็นบุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถุม และ เป็นบุตรเขยของกษัตริย์กัมพูชา (ผีฟ้าเจ้าเมืองศรียโสธรปุระ) ทรงพระนาม กัมรเตงอัญศรีอิทรบดินทราทิตย์ และ ได้รับมอบ พระขรรค์ชัยศรี
  • พ่อขุนผาเมือง ร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนบางกลางหาว ร่วมทำการรบขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ออกจากเมืองสุโขทัย โดยกำลังทหารของพ่อขุนผาเมืองสามารถยึดเมืองได้ แต่พ่อขุนผาเมืองได้มอบการปกครองแด่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งเฉลิมพระนาม ศรีอินทราทิตย์ หลังจากนั้นไม่ปรากฏพระนามของพ่อขุนผาเมืองในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีก
  • เรียกพ่อขุนรามคำแหง บุตรของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ว่า พ่อขุนรามราช เป็นนักปราชญ์ผู้รู้ธรรม ผู้สร้างพระศรีรัตนธาตุในเมืองศรีสัชนาลัย
  • พระยาคำแหงพระราม เชื้อสายตระกูลพ่อขุนศรีนาวนำถุม มีบุตรผู้หนึ่งเกิดใน สรลวง-สองแคว ซึ่งต่อมาคือ มหาเถรศรีศรัทธา และมีเรื่องราวอยู่ในจารึกนี้
  • จารึกนี้บอกเป็นนัยว่า สรลวง-สองแคว คือเมืองเดียวกัน ซึ่งต่อมาคือเมืองพิษณุโลก
  • มหาเถรศรีศรัทธาในวัยหนุ่มเคยช่วยบิดารบกับ ท้าวอีจาน และ ช่วยพระยาเลอไทยชนช้างกับ ขุนจัง จนได้รับชัยชนะ
  • ภายหลัง มหาเถรศรีศรัทธาได้ออกบวช ออกจากเมืองทาง รัตภูมิ และ เดินทางจาริกแสวงบุญไปตามเมืองต่าง ๆ กระทั่งได้ไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุถึงเกาะลังกา จากนั้นได้มีการนำเรื่องราวการชีวประวัติและเดินทางจาริกแสวงบุญมาสร้างเป็นจารึกนี้ในที่สุด
  • นครปฐม อาจมีชื่อเรียกในภาษาขอมว่า นครพระธม

ชื่อสถานที่เช่น อีจาน และ รัตภูมิ อาจบอกถึงสถานที่ตั้งเมืองของมหาเถรศรีศรัทธา หากมีการศึกษาต่อไปในอนาคต

เนื่องจากมีการเล่าเรื่องราวข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ และ ข้อมูลหลายอย่างไม่พบในศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ศิลาจารึกหลักนี้จึงเป็นที่สนใจของนักประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ใจความโดยรวมของศิลาจารึกนี้ยังสอดคล้องกับศิลาจารึกหลักที่ 1

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จารึกวัดศรีชุม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?