For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระตำหนักในพระราชวังดุสิต.

พระตำหนักในพระราชวังดุสิต

ภายในพระราชวังดุสิตมีการแบ่งเขตพระราชฐานออกเป็นฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยเขตพระราชฐานฝ่ายในนั้นประกอบด้วย พระตำหนักและตำหนัก อันเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ ทั้งในพระราชวังส่วนหลัง ดังต่อไปนี้

พระตำหนัก

[แก้]
พระตำหนักสวนหงส์

พระตำหนักสวนสี่ฤดู

[แก้]

พระตำหนักสวนสี่ฤดู เป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในลักษณะผสมผสาน ระหว่างศิลปกรรมไทย และยุโรป ในอดีตใช้จัดแสดงสิ่งของและศิลปวัตถุที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

พระตำหนักสวนหงส์

[แก้]

พระตำหนักสวนหงส์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ปัจจุบันใช้จัดแสดงภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีเสด็จสถลมารค และชลมารค พระราชพิธีตรียัมปวาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตพระที่นั่งอัมพรสถาน

พระตำหนักสวนนกไม้

[แก้]

พระตำหนักสวนนกไม้ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

พระตำหนักสวนบัว

[แก้]

พระตำหนักสวนบัว เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นที่ประทับของพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งทรงกำกับการดูแลพระเครื่องต้น ในอดีตใช้จัดแสดงศิลปวัตถุซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

[แก้]

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณทุ่งส้มป่อย ซึ่งเป็นทุ่งนาระหว่างพระราชวังดุสิตกับพระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) เพื่อทรงใช้เป็นที่รโหฐานสำหรับทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ รวมทั้งเพื่อให้ราชเสวกเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามทุ่งส้มป่อยว่า สวนจิตรลดา พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน" บริเวณรอบพระตำหนักมีการขุดคูและทำกำแพงรั้วเหล็กโดยรอบ มีประตู 4 ทิศ พระราชทานชื่อประตูตามสวนจิตรลดาของพระอินทร์และท้าวโลกบาล แต่ในปัจจุบันเป็นทางเข้าออกได้เพียง 3 ทิศ เว้นทิศตะวันออก โดยประตูพระวรุณอยู่เจนทางด้านตะวันออก เป็นประตูสำหรับเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระตำหนักจิตรลดารโหฐานสร้างเป็นตึก 2 ชั้นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับเป็นครั้งคราว เมื่อมีพระราชพิธีต่าง ๆ ก็ทรงกระทำการที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเช่นเดียวกับพระราชวัง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่เป็นที่ประทับที่วังพญาไท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยกสวนจิตรลดาเป็นเขตพระราชฐานในพระราชวังดุสิต

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ประทับถาวร โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นสถานศึกษาชั้นต้นสำหรับพระโอรส พระธิดาและบุตรหลานข้าราชสำนัก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาดุสิดาลัย เป็นศาลาอเนกประสงค์

ภายในพระตำหนัก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่ทดลองโครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร เพื่อนำผลการศึกษาพระราชทานแก่ประชาชน เช่น โครงการนาข้าวทดลอง โครงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงเขียว โครงการปลูกข้าวไร่ โครงการเลี้ยงปลานิล และโครงการโคนม รวมทั้งยังมีโรงงานจากโครงการทดลองของพระองค์เกิดขึ้นหลายประเภท เช่น โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงสีข้าวตัวอย่าง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงบดและอัดแกลบ และโรงปุ๋ยอินทรีย์

ตำหนัก

[แก้]
ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน
ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
ตำหนักสวนฝรั่งกังไส

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน

[แก้]

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน พระขนิษฐาในพระองค์ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาดเล็ก ในอดีตจัดเป็นสถานที่จัดแสดงภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[1]ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี

[แก้]

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี พระขนิษฐา ในอดีตใช้จัดแสดงภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์

[แก้]

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ พระขนิษฐา ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 77 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในอดีตใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนาฬิกาโบราณ และของที่ระลึกจากต่างประเทศ[2]ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

[แก้]

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา พระขนิษฐา ในอดีตใช้จัดแสดงพระภูษา ผ้าโบราณ และผ้าไหมของมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา

[แก้]

ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา เป็นที่ประทับของกรมหลวงวรเสรฐสุดา พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นพระผู้อภิบาลสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอดีตใช้จัดแสดงศิลปวัตถุวัฒนธรรมบ้านเชียง ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักสวนฝรั่งกังไส

[แก้]

ตำหนักสวนฝรั่งกังไส เป็นที่ประทับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 ตำหนักสร้างเป็นอาคารโบกอิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา มีการขึ้นตำหนักเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452[3] ในอดีตใช้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องราชูปโภคและภาพสีน้ำมันที่รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งซื้อมาจากยุโรป ภาพเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เรียกว่า "อาคารราชูปโภค 1"[4]ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักสวนพุดตาน

[แก้]

ตำหนักสวนพุดตาน เป็นตำหนักขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับและที่อยู่ของพระเจ้าลูกเธอ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พร้อมด้วยเจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมเอื้อน เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมแก้ว และเจ้าจอมแส ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว

ตำหนักหอ

[แก้]

ตำหนักหอ เป็นที่วังประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เดิมอยู่ในบริเวณวังศุโขทัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้รื้อย้ายจากวังศุโขทัยมาปลูกใหม่ในพระราชวังดุสิต ในปี พ.ศ. 2541 ในอดีตใช้จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 และศิลปวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยและอยุธยาที่จมอยู่ใต้ทะเลแถบตะวันออกและทางใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่วังสระปทุม

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน จาก เว็บไซต์วิมานเมฆดอตคอม
  2. ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ จาก เว็บไซต์ วิมานเมฆดอตคอม
  3. การขึ้นตำหนักเจ้าดารารัศมี พระราชชายาราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ง วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๕๒ หน้า ๑๙๒๑
  4. ตำหนักสวนฝรั่งกังไส จาก เว็บไซต์วิมานเมฆดอตคอม
  • สูจิบัตรนำเที่ยว พระที่นั่งวิมานเมฆ
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระตำหนักในพระราชวังดุสิต
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?