For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จักรพรรดิยงเจิ้ง.

จักรพรรดิยงเจิ้ง

ยงเจิ้ง
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์27 ธันวาคม ค.ศ. 1722 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735
(12 ปี 285 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิคังซี
ถัดไปจักรพรรดิเฉียนหลง
พระราชสมภพ13 ธันวาคม ค.ศ. 1678(1678-12-13)
เจ้าชายอิ่นเจิง
สวรรคต8 ตุลาคม ค.ศ. 1735(1735-10-08) (56 ปี)
ปักกิ่ง, จักรวรรดิชิง
ฝังพระศพสุสานไท่หลิง สุสานพระราชวงศ์ชิงฝ่ายตะวันออก
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยน
จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน
พระราชบุตร
  • องค์ชายหงฮุย
  • องค์ชายหงจุน
  • องค์ชายหงสือ
  • องค์ชายหงลี่
  • องค์ชายหงจาน
  • องค์ชายหงซาน
  • องค์ชายฟูยี่
  • องค์ชายฟูฮุย
  • องค์ชายฟูเป่ย
  • องค์ชายหงโจ้ว
  • พระราชธิดาพระองค์แรก(ไม่ทราบพระนาม)
  • พระราชธิดาเหอซั่วหวายเค่อ
  • พระราชธิดาพระองค์ที่3(ไม่ทราบพระนาม)
  • พระราชธิดาพระองค์ที่สี่(ไม่ทราบพระนาม)
พระนามเต็ม
Chinese: Aixin-Jueluo Yinzhen 愛新覺羅胤禛
Manchu: Aisin-Gioro In Jen
รัชศก
ยงเจิ้ง (Yongzheng , 1722 - 1735)
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ จิงเถียน Changyun Jianzhong Biaozheng เหวินหวู่ Yingming Kuanren Xinyi Ruisheng Daxiao Zhicheng Xian
敬天昌運建中表正文武英明寬仁信毅睿聖大孝至誠憲皇帝
พระอารามนาม
Qing Shizong
清世宗
ราชสกุลตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว
พระราชบิดาจักรพรรดิคังซี
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
ช่วงเวลา

จักรพรรดิยงเจิ้ง (จีน: 雍正皇帝; พินอิน: Yōngzhèng huángdì) หรือจักรพรรดิ "ชิงซื่อจง" จักรพรรดิลำดับที่ 5 ของราชวงศ์ชิงทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน , อิ้นเจวิน (ภาษาจีน : 胤禛)

พระราชประวัติ

[แก้]

ทรงมีพระนามเดิมว่า "อิ้นเจวิน" ในตอนเด็กทรงไม่ใช่องค์ชายที่โดดเด่นอะไรนัก แต่เนื่องจากจักรพรรดิคังซีต้องการให้รัชทายาทอิ้นเหริงได้มีความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้อง จึงเริ่มส่งตัวรัชทายาทไปศึกษาเล่าเรียนกับองค์ชายอื่นๆบ้าง แต่ปรากฏว่ารัชทายาทมีนิสัยเย่อหยิ่ง ทำให้เข้ากับองค์ชายอื่นๆไม่ได้ ยกเว้นองค์ชายอิ้นเจวิน ที่มีความสนิทสนมด้วย จึงเริ่มมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน พระองค์จึงเริ่มต้นชีวิตราชการโดยการไปช่วยงานที่ตำหนักรัชทายาทเป็นที่แรก ต่อมาได้เคยนำทัพกองธงแดงเข้าช่วยทำศึกปราบข่านแห่งมองโกล และได้กระทำความดีความชอบหลายครั้งทำให้จักรพรรดิคังซีพอพระทัย ในปี 1698 รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์เป็น "เป่ยเล่อ" ต่อมาในปี 1709 ได้รับเลื่อนฐานันดรเป็นองค์ชายชั้นหนึ่ง ดำรงพระยศ "เหอซั่วยงชินหวัง" (อ๋องพระมาลาเหล็ก) ที่เป็นฐานันดรสูงสุดที่เชื้อพระวงศ์จะได้รับ โดยรับหน้าที่บริหารจัดการเงินในท้องพระคลัง บริหารและหาเงินรายได้แผ่นดิน พระองค์มีนิสัยซื่อตรงเจ้าระเบียบ ไม่ยอมหักยอมงอ และมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานสูง และยังได้มาทำหน้าที่ทวงเงินที่เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางยืมเงินท้องพระคลังไปจึงทำให้มีเรื่องผิดใจกับใครหลายๆคน ไม่เป็นที่ชื่นชอบขององค์ชายคนอื่นๆนัก นอกจากองค์ชาย 13 (อิ้นเสียง) ที่พระองค์รักดั่งน้องชายแท้ๆ หลังจากการปลดรัชทายาทอิ้นเหริงออกจากตำแหน่งในครั้งที่ 2 ในปี 1712 ทำให้องค์ชายต่างๆแตกแยกหวังขึ้นเป็นรัชทายาทแทนที่ จึงก่อให้เกิดขั้วอำนาจ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มของพระองค์ที่มีองค์ชาย 13 เป็นผู้สนับสนุน และกลุ่มขององค์ชาย 8(อิ้นซื่อ)ที่มีองค์ชาย 9(อิ้นถัง)องค์ชาย 10(อิ้นเอ๋อ) สนับสนุนซึ่งได้รวมตัวกันเข้ามาเป็นศัตรูกับพระองค์เพื่อแย่งอำนาจ สถานการณ์ตึงเครียดถึงขนาดที่จักรพรรดิคังซีที่กำลังทรงพระประชวรหนัก ถึงกับมีราชโองการให้ปลดตำแหน่งงานราชการองค์ชายที่มีปัญหาออกจากตำแหน่งทุกคน เพื่อสยบความขัดแย้ง ยกเว้นองค์ชาย 14(อิ้นที) ที่เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏ ทำให้มีการเล่าลือกันว่า จักรพรรดิคังซีทรงโปรดองค์ชาย 14 หวังให้เป็นรัชทายาทสืบต่อ แต่เป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น

ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง

พินัยกรรมคังซีและการขึ้นครองราชสมบัติ

[แก้]

จักรพรรดิยงเจิ้งได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1722 หลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 1722 ซึ่งเป็นวันที่จักรพรรดิคังซีสวรรคต ซึ่งในวันนั้น จักรพรรดิคังซีได้มีรับสั่งให้พระองค์เข้าเฝ้าสองต่อสองในห้องบรรทม โดยมี 7 องค์ชายเข้าเฝ้าเบื้องหน้าพระตำหนัก เมื่อสวรรคต จักรพรรดิยงเจิ้งจึงเดินออกมาจากห้องบรรทมเพื่อประกาศการสวรรคต โดยมีหลงเคอตัว ซึ่งเป็นผู้เก็บพระราชพินัยกรรม ออกมาประกาศให้จักรพรรดิยงเจิ้งครองราชสมบัติ ต่อหน้า 7 องค์ชายที่มาเข้าเฝ้าในวันนั้น จนมีข่าวลือเล่ากันว่าพระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ในพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) ขึ้นครองราชย์สืบต่อ แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช"  (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซี จะมีข้อความ 3 ภาษาในฉบับเดียวกัน แม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรฮั่น แต่อักษรแมนจูกับมองโกลที่มีการเขียนคู่กันย่อมไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ ต่อมาในยุคปัจจุบัน ทางการจีนได้นำพินัยกรรมฉบับจริงของจักรพรรดิคังซีมาจัดแสดงโดยเนื้อหาในพินัยกรรมไม่ได้ระบุแค่เพียงแต่ลำดับขององค์ชายเฉยๆ แต่ระบุตั้งแต่ ฐานันดรศักดิ์ ลำดับ แล้วตามด้วยชื่อ

แก้ไขกฏมณเทียรบาลการสืบราชสันติวงศ์

[แก้]

เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคต

ปัญหาความขัดแย้งตอนต้นรัชกาล

[แก้]

เมื่อได้ครองราชย์ใหม่ๆ ทรงพยายามลดความขัดแย้งกับเหล่าองค์ชายเชื้อพระวงศ์ ทรงนำตัวอดีตรัชทายาทอิ้นเหริงออกจากที่คุมขังพร้อมคืนฐานันดรศักดิ์ให้ และทรงสถาปนาองค์ชายที่รับราชการให้ขึ้นมาสู่ทำเนียบเสนาบดี นั่นคือการสถาปนาองค์ชาย 8 (อิ้นซื่อ) ขึ้นเป็นอัครเสนาบดีดำรงพระยศเป็น "เหอซั่วเหลียนชินหวาง" ในฐานะพระอนุชาจักรพรรดิ และทรงเปลี่ยนพระนามตัวต้นชื่อพระโอรสจักรพรรดิคังซี จากคำว่า "อิ้น" เป็นคำว่า "หยุน" เพียงเพราะไม่อยากให้พระนามจักรพรรดิมีคำที่เหมือนกับพี่น้องคนอื่นๆ เวลาผ่านไปต้องพบกับปัญหาความสัมพันธ์ที่เสื่อมทรามหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกัน อาทิกรณีขององค์ชาย 14 (อิ้นที) ซึ่งเป็นพระอนุชาแท้ๆ ร่วมพระมารดากับพระองค์ แต่มีความคิดว่าตนเองคือรัชทายาทที่แท้จริงของจักรพรรดิคังซี โดยตอนที่จักรพรรดิคังซีสวรรคต องค์ชาย 14 เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏที่ชายแดน จึงไม่ได้มาเข้าเฝ้าและรับทราบรู้เห็นราชโองการแต่งตั้งยงเจิ้งเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ เมื่อกลับมาถึงเมืองหลวง จึงได้กระทำการล่วงเกินจักรพรรดิยงเจิ้งหลายครั้ง จึงถูกปลดจากฐานันดรศักดิ์ และยงเจิ้งสั่งกักขังโดยให้ไปอยู่เฝ้าพระศพจักรพรรดิคังซี ณ สุสานหลวงตะวันออก (ชิงตงหลิง) ตลอดรัชกาล แต่มีเหตุการณ์ถึงขั้นรุนแรงแตกหักกับพี่น้อง นั่นคือในปี ค.ศ.1726 เมื่อองค์ชาย 8 (อิ้นซื่อ) ได้กระทำการรวบรวมสมัครพรรคพวกทั้งขุนนางและเชื้อพระวงศ์ทำการปฏิวัติหวังจะบีบให้พระองค์สละพระราชอำนาจ โดยให้เหล่าพี่น้องทายาทจักรพรรดิคังซีองค์อื่นๆร่วมกันบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ แต่พระองค์ได้วางแผนซ้อนแผนเอาไว้ แล้วพร้อมกับเปิดเผยการทุจริตขององค์ชาย 8 ทำให้แผนการปฏิวัติไม่สำเร็จ จากเหตุการณ์นี้ องค์ชาย 8 ถูกปลดออกจากฐานันดรศักดิ์ทุกตำแหน่งราชการ ยึดทรัพย์สินทั้งหมดและถูกจองจำในคุก แม้กระทั่งชื่อของตนเองยังถูกริบคืน ยงเจิ้งให้ขุนนางเรียกองค์ชาย 8 ว่า "อาฉีน่า" (ไอ้หมู) องค์ชาย 9 (อิ้นถัง) โดนข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการก่อกบฏถูกลงโทษเท่ากับองค์ชาย 8 ก็ถูกขนานนามใหม่ว่า "ซาซีเฮย" (ไอ้หมา) ทั้ง 2 พระองค์สิ้นพระชนม์ในคุกโดยการผูกคอตายในปีนั้นนั่นเอง ส่วนองค์ชาย 10 (อิ้นเอ๋อ) รอดโทษตายมาได้อย่างหวุดหวิดแต่ก็ถูกกักขังในตำหนักตลอดรัชกาล จากเหตุการครั้งนี้ ทำให้องค์ชาย 3 (อิ้นจื่อ) ซึ่งเป็นพระเชษฐาของจักรพรรดิไม่พอใจ มีข้อขัดแย้งกับพระองค์ในเรื่องการที่จักรพรรดิยงเจิ้งไปเปลี่ยนชื่อพี่น้องเป็นไอ้หมูไอ้หมา เพราะมองว่าจักรพรรดิคังซีตั้งชื่อให้ลูกๆ ไม่สมควรไปเปลี่ยนชื่อให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน มีการกระทบกระทั่งหลายครั้งยาวนาน จนทำให้จักรพรรดิยงเจิ้งทรงกริ้ว สั่งปลดองค์ชาย 3 ออกจากทุกฐานันดรในปี ค.ศ.1730 ไปอีกคน แถมแม้กระทั่งพระโอรสองค์โตของพระองค์ (ที่ดำรงพระชนม์อยู่) คือองค์ชาย 3 (หงสือ) ที่สนับสนุนแนวคิดขององค์ชาย 8 ก็ถูกปลดออกจากทุกฐานันดร และถูกขับไล่ไปอยู่พื้นที่ห่างไกลทุรกันดารจนสิ้นพระชนม์

พระราชกรณียกิจ

[แก้]

ยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้าน กิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น ปัจจุบันมีการค้นพบฏีกาในหอประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงเฉพาะในยุคของพระองค์มากกว่า 30,000 ฉบับ ซึ่งพระองค์ทรงใช้หมึกแดงเขียนตอบฏีกาทุกฉบับด้วย ทรงเขียนตอบกลับขุนนางที่ประจบประแจงหรือรายงานข้อมูลเท็จโดยเขียนตำหนิอย่างไม่ไว้หน้าด้วยถ้อยคำรุนแรง ทรงรวบอำนาจบริหารเข้าสู่ส่วนกลาง จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง ดูแลช่วยเหลือความเดือดร้อนของราษฎรจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอย่างดี สงเสริมการเพาะปลูกและขยายพื้นที่การทำเกษตร และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง เข้มงวดการทำงานของขุนนาง ลงโทษขุนนางโกงกินอย่างเด็ดขาด โดยพระองค์ทรงถือว่า การที่ได้เห็นขุนนางโกงกินเข้าคุกหรือถูกประหาร และได้เห็นครอบครัวญาติพี่น้องของขุนนางโกงกินหมดเนื้อหมดตัวตกระกำลำบากเป็นความสุขของพระองค์ เหตุการณ์สำคัญที่พระองค์กระทำเพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูต่อขุนนางโกงกินคือ กรณีของเหนียงเกิงเหยา ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสนิทตั้งแต่สมัยพระองค์ยังเป็นองค์ชาย แถมมีศักดิ์เป็นพี่เขยจักรพรรดิ เพราะยงเจิ้งรับเอาน้องสาวของเขามาเป็นพระสนมนามว่า "เหนียงกุ้ยเฟย" เหนียงเกิงเหยาถือว่าทำความดีความชอบต่อจักรพรรดิยงเจิ้งเป็นอันมาก เป็นแม่ทัพหลักในการขยายดินแดนราชวงศ์ชิงในรัชกาลของพระองค์ จึงเริ่มมีนิสัยกำเริบเสิบสาน ทุจริตโกงกิน รังแกประชาชน เมื่อมีข่าวลือเข้ามาหนาหู เมื่อยงเจิ้งสืบสวนพบว่าเป็นความจริง จึงมีราชโองการปลดเหนียงเกิงเหยา ลดชั้นยศ จากขุนนางชั้นหนึ่ง ลงไปเป็นคนเฝ้าประตูเมือง ริบบรรดาศักดิ์และทรัพย์สิน สุดท้ายเหนียงเกิงเหยาก็จบชีวิตลงในปี ค.ศ.1726 หรือกรณีของหลงเคอตัว ขุนนางผู้เก็บรักษาราชโองการของจักรพรรดิคังซีและเป็นผู้อ่านราชโองการประกาศให้พระองค์เป็นจักรพรรดิ เป็นอัครเสนาบดี และมีศักดิ์เป็นพระญาติของพระองค์ด้วย เมื่อพระองค์ทรงพบว่าหลงเคอตัวได้กระทำการทุจริตเป็นอันมาก ก็ถูกสั่งปลดออกทุกตำแหน่งราชการและลงโทษคุมขังในคุก จะเห็นว่าแม้เป็นคนสนิทของพระองค์หรือมีบุญคุณกับพระองค์มากแค่ไหน ถ้ากระทำผิดกฏหมายก็ถูกลงโทษโดยไม่มีการยกเว้น พระองค์ทรงสนับสนุนคนเก่งคนดีเข้ารับราชการ ควบคุมการสอบเข้ารับราชการด้วยพระองค์เอง จนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) ในรัชสมัยของพระองค์ผลงานที่โดดเด่นที่สุดคือการปฏิรูปการจัดเก็บภาษี ซึ่งแต่เดิมขุนนางและเชื้อพระวงศ์ไม่ต้องเสียภาษี แต่พระองค์ทรงแก้ไขกฏเกณฑ์นี้ให้มีการเสียภาษีกันทุกคน ใครมีมากก็จ่ายมาก มีน้อยก็จ่ายน้อย จนทำให้ฐานะการคลังของประเทศที่จวนจะล้มละลายในยุคปลายรัชกาลคังซี ซึ่งเหลือเงินในท้องพระคลังไม่ถึง 5 ล้านตำลึง เพิ่มขึ้นจนถึงในวันที่พระองค์สวรรคตมีเงินเหลือมากกว่า 50 ล้านตำลึง จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อมา

อุปนิสัยส่วนตัวหลังครองราชย์

[แก้]

อุปนิสัยส่วนพระองค์ที่แปลกและแตกต่างจากจักรพรรดิองค์อื่นๆ คือการที่พระองค์ทรงชอบการสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน ทั้งถือศีลกินเจ จึงมีการเชิญพระลามะจากทิเบตและมองโกลเข้าออกพระราชวังอยู่เสมอๆ และพระองค์เป็นบุคคลที่มีรสนิยมชอบภาพจิตรกรรม โดยเฉพาะภาพเหมือนส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก ทรงรับจิตรกรเข้ามาทำงานในพระราชวังมากมายหลายคน รวมถึงจิตรกรชาวตะวันตกด้วย เพื่อให้วาดภาพเหมือนของพระองค์ในอิริยาบทต่างๆ หรือแม้ตอนที่จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยน พระมเหสีคู่พระทัยของพระองค์สิ้นพระชนม์ลง ก็ทรงให้จิตรกรวาดภาพเหมือนของพระนางติดไว้ตามมุมต่างๆในพระราชวังหลายภาพ เพื่อให้ทรงได้ทอดพระเนตรให้หายคิดถึงอยู่เสมอๆ

สิ้นสุดรัชกาล

[แก้]

จักรพรรดิยงเจิ้งสวรรคต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1735 เป็นการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ทั้งนี้โดยที่พระองค์ทรงพักผ่อนน้อยนอนวันละ 4 ชั่วโมงและทำงานหนักมาก ในช่วงท้ายพระชนม์ชีพมีอาการประชวรบ่อยครั้ง แต่ทรงโปรดโอสถที่มีสารหนูและปรอทเจือปน ที่ปรุงโดยนักพรตหมอผี โดยทรงคิดว่าทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยมีเรี่ยวแรงทำงานมากขึ้น จึงทำให้เกิดพิษในร่างกายจนสิ้นพระชนม์ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง[1] [2]

ก่อนสวรรคตพระองค์ทรงสร้างสุสานหลวงขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่งเรียกว่า"สุสานหลวงตะวันตก"(ชิงซีหลิง) โดยไม่ได้ฝังพระศพร่วมกับพระราชบิดาจักรพรรดิคังซี ที่ไปฝังพระศพที่ "สุสานหลวงตะวันออก"(ชิงตงหลิง)จึงทำให้ราชวงศ์ชิงมีสุสานหลวง 2 แห่ง ยังมีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน

พระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

พระภรรยาเจ้า

[แก้]
  • พระอัครมเหสีรอง (皇貴妃)
    • ตุนซู่หวงกุ้ยเฟย (敦肅皇貴妃) จากสกุลเหนียน (年)
    • ฉุนเชวี่ยหวงกุ้ยเฟย (纯懿皇贵妃) จากสกุลเกิ่ง (耿)
  • พระมเหสี (妃)
    • ฉีเฟย (齊妃) จากสกุลหลี่ (李)
    • เฉียนเฟย (謙妃) จากสกุลหลิว (刘)
    • หนิงเฟย (寧妃) จากสกุลอู่ (武)
  • พระอัครชายา (嬪)
    • เหมาผิน (懋嬪) จากสกุลซ่ง (宋)

พระภรรยา

[แก้]
  • พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (貴人)
    • พระสนมกัว (郭貴人)
    • พระสนมหลี่ (李貴人)
    • พระสนมอัน (安貴人)
    • พระสนมไฮ่ (海貴人)
    • พระสนมจาง (張貴人)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายหงฮุย (弘暉,1697–1704) ตุนชินอ๋อง (端親王)สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเสี้ยน สกุลอูลาน่าล่า
    • องค์ชายหงเฟิน (弘昐,1697–1699) พระโอรสในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงหยุน (弘昀,1700–1710) พระโอรสในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงสือ (弘時,1704–1726) พระโอรสในพระชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงลี่ (弘曆,1711-1799) เป่าชินอ๋อง (宝亲王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวเซิ่งเสี้ยน สกุลหนิ่วฮู่ลู่
    • องค์ชายหงโจ้ว (弘晝,1712-1770) เหอกงชินอ๋อง (和恭親王,1733-1770);พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีฉุนเชวี่ย สกุลเกิ่ง
    • องค์ชายฝูอี (福宜,1720–1721) พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายฝูฮุ่ย (福惠,1721–1728) หวยชินอ๋อง (怀亲王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายฝูเฝย (福沛,1723) พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายหงเอี้ยน (弘曕,1733–1765) กั่วกงจุ้นอ๋อง (果恭郡王,1738-1765);พระโอรสของพระอัครชายาเฉียน สกุลหลิว
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1694) พระธิดาในพระชายาเหมา สกุลซ่ง
    • องค์หญิงเหอซั่วหวายเค่อกงจวู่ (和硕怀恪公主,1695–1717) พระธิดาในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1706) พระธิดาในพระชายาเหมา สกุลซ่ง
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1715-1717) พระธิดาในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
  • พระราชธิดาบุญธรรม
    • องค์หญิงเหอซั่วสูเซิ่นกงจวู่ (和硕淑慎公主,1708–1784) พระธิดาในองค์ชายอิ้นเหริง
    • องค์หญิงเหอซั่วเหอฮุ่ยกงจวู่ (和硕和惠公主,1714–1731) พระธิดาในองค์ชายอิ้นเสียง
    • องค์หญิงเหอซั่วตวนรั่วกงจวู่ (和硕端柔公主,1714–1754) พระธิดาในองค์ชายอิ้นลู่

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [ลิงก์เสีย] เชิงอรรถยุทธภพ (22) : การลอบสังหารหย่งเจิ้งของหลี่ซื่อเหนียง จากผู้จัดการออนไลน์
  2. เชิงอรรถยุทธภพ (18) : กำเนิดศึกสายเลือด จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า จักรพรรดิยงเจิ้ง ถัดไป
จักรพรรดิคังซี
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2265 - พ.ศ. 2278)
จักรพรรดิเฉียนหลง
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จักรพรรดิยงเจิ้ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?