For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จตุสดมภ์.

จตุสดมภ์

จตุสดมภ์ (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่")[1] เป็นคำที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น[2] โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม[3] ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีลักษณะเป็นแบบ "นายกรัฐมนตรี 2 คน" มากกว่า[4]

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

[แก้]

จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น

  1. กรมเวียง ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและความทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ตัดสินคดีร้ายแรง
  2. กรมวัง ทำหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และกิจการในพระราชสำนักและพิพากษาคดีให้ราษฎร
  3. กรมคลัง ทำหน้าที่ติดต่อการค้าขายกับต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรและรายได้ของแผ่นดิน
  4. กรมนา ทำหน้าที่ดูแลการทำมาหากินและการประกอบอาชีพของราษฎรและเก็บรักษาเสบียงอาหารเพื่อใช้ในยามศึกสงคราม

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

[แก้]

ต่อมาสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในปี พ.ศ. 2006 มีการจัดตั้งกรมขึ้นสองกรม ได้แก่ กรมมหาดไทย ซึ่งดูแลกิจการพลเรือน โดยมีสมุหนายกเป็นอัครเสนาบดีดูแล และกรมกลาโหม ซึ่งดูแลกิจการทหาร โดยมีสมุหพระกลาโหมดูแล จตุสดมภ์นั้นให้มาขึ้นกับกรมมหาดไทย แล้วมีการเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่[5]

  1. กรมเวียง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมพระนครบาล มีพระยายมราชเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ดับเพลิงในพระนคร และตัดสินคดีความร้ายแรง
  2. กรมวัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาศรีสุริยวงศ์อัครมหาอุดมบรมวงษาธิบดี หรือพระยาธรรมาธิบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ดูแลงานในพระราชสำนัก งานธุรการ ตัดสินคดีความ และแต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลหัวเมืองต่างๆ
  3. กรมคลัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชาชาติอำมาตยานุชาติพิพัทรัตนราชโกษาธิบดี หรือเรียกสั้นว่า พระยาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์ การค้ากับต่างประเทศ บัญชีวัสดุและอาวุธของราชการ พระคลังหลวง การรับรองทูตต่างประเทศ และการตัดสินคดีความของคนต่างชาติ
  4. กรมนา เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเกษตราธิการ มีพระยาพลเทพราชเสนาบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ตรวจตราและส่งเสริมการทำนา เก็บข้าวไว้เป็นเสบียงยามสงคราม ตัดสินคดีความเกี่ยวกับที่นา ออกกรรมสิทธิ์ที่นาแก่ราษฎร

นอกจากนี้ ในภายหลังยังเพิ่มกรมให้ขึ้นอยู่กับกรมทั้งสี่นี้ด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คำค้น "จตุสดมภ์"
  2. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 5.
  3. การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน เก็บถาวร 2011-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 2-5-2554.
  4. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองของไทย:หลายมิติ. หน้า 8.
  5. ลักษณะการปกครองกรุงศรีอยุธยา

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จตุสดมภ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?