For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คำพูน บุญทวี.

คำพูน บุญทวี

คำพูน บุญทวี

เกิด26 มิถุนายน พ.ศ. 2471
ตำบลทรายมูล จังหวัดยโสธร
เสียชีวิต4 เมษายน พ.ศ. 2546 (74 ปี)
นามปากกาคำพูน บุญทวี
คร้าม ควนเปลว
พงศ์พริ้ง
อาชีพนักเขียน
สัญชาติไทย
แนว
ผลงานที่สำคัญลูกอีสาน
รางวัลสำคัญศิลปินแห่งชาติ - สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2544
คู่สมรสประพิศ ณ พัทลุง (2504 – ?)
ลันนา เจริญสิทธิชัย (? – 2546)
บิดามารดาสนิท บุญทวี (บิดา)
ลุน บุญทวี (มารดา)

 สถานีย่อยโลกวรรณศิลป์

คำพูน บุญทวี (26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 – 4 เมษายน พ.ศ. 2546) นักเขียนสารคดี เรื่องสั้น และนวนิยายเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทย

อีสานและชีวิตคนในคุก ได้รับรางวัลซีไรต์เป็นคนแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2522 จากนวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน และได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2544[1]

ประวัติ

[แก้]

คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรคนโตจากทั้งหมด 7 คนของนายสนิทและนางลุน บุญทวี

คำพูนเรียนหนังสือที่บ้านเกิดจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนปรีชาบัณฑิต จากนั้นจึงเริ่มทำงานหลายอย่างในจังหวัดภาคอีสาน เป็นหัวหน้าคณะรำวง และขายยาเร่ ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เป็นกรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรือคลองเตย เป็นคนเลี้ยงม้าแข่ง เป็นสารถีสามล้อ จนกระทั่งสอบเป็นครูได้บรรจุที่ภาคใต้ ต่อมาแต่งงานกับ นางประพิศ ณ พัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2493 มีบุตรกับ นางประพิส 8 คน แล้วมีภรรยาอีกคนที่เป็นคนจังหวัดยโสธร มีลูกด้วยกัน 1 คน บุตรของคำพูน บุญทวี มีดังนี้

  1. นางพงค์พริ้ง บุญทวี (หฤทัย สมิท) แต่งงานครั้งที่ 1 กับ นาย มนตรี นนทเกษ มีบุตร 3 คน แต่งงาน ครั้งที่สองกับชาวอังกฤษ
  2. นางพัทธยา กมลานนท์ มีบุตร 2 คน อยู่ที่ จังหวัดระนอง ประเทศไทย
  3. นายขุนพล บุญทวี ภรรยาชื่อ ธิดา (ก้านบัว) บุญทวี มีลูก1 คน เสียชีวิตตอนที่ลูกยังไม่คลอด
  4. นางพรพนา สมิท แต่งงานกับชาวอังกฤษ ไม่มีบุตร อาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
  5. นายเฉลิมพล บุญทวี ภรรยาชื่อ วันเพ็ญ มีบุตรสาว 1 คน เสียชีวิตลงเมื่อ อายุ 30 ปี
  6. นางสาวพวงผกา บุญทวีเบเกอร์ (หย่าร้าง) มีบุตร 3 คน อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต
  7. นายรัฐไทย บุญทวี แต่งงานกับภรรยาชื่อนภาลัย ที่บ้านหล่อยูง มีบุตรสาวด้วยกัน 3 คน เสียชีวิตลงเมื่อ อายุ 31 ปี
  8. นางสาว พูนพิสมัย บุญทวี หย่าร้าง มีบุตร 2 คน อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต

และมีลูกชายจากภรรยาก่อนจะมาอยู่กินกับนาง ลันนาอีก 1 คน รวมบุตรธิดา 9 คน โดยภรรยาคนแรก นางประพิส ณ พัทลุง เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 46 ปี

คำพูนสอนหนังสืออยู่ 9 ปี จึงเปลี่ยนไปเป็นผู้คุมเรือนจำ ลาออกจากราชการเมื่ออายุได้ 48 ปีเศษ แล้วไปมาระหว่างระนอง–กรุงเทพฯ ต่อมาพบกับนาง ลันนา เจริญสิทธิชัย ซึ่งภายหลังได้เขียนนวนิยายเรื่อง "เจ๊กบ้านนอก" โดยใช้นามปากกาว่า กิมหลั่น และร่วมกันทำสำนักพิมพ์โป๊ยเซียน เพื่อพิมพ์หนังสือของครอบครัว

คำพูน บุญทวี ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2544

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2546 คำพูนได้เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน รวมอายุได้ อายุ 74 ปี และได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวัดชลประทานรังสฤษดิ์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

การทำงาน

[แก้]

เขาเริ่มเขียนหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 เมื่อครั้งยังเป็นผู้คุมขณะนั้นมีปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว เขาจึงมุมานะอ่านหนังสือ และเขียนเรื่องสั้น เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขียนคือ "ความรักในเหวลึก" ส่งไปที่นิตยสารฟ้าเมืองไทย ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น "นิทานลูกทุ่ง" พร้อมทั้งสนับสนุนให้เขาเขียนหนังสือต่อไป เขาจึงเขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ มนุษย์ 100 คุก จากนั้นก็เขียนเรื่อยมา เขาจึงกลายเป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดี

ผลงาน

[แก้]

หนังสือที่ได้รับรางวัลได้แก่:

  • ลูกอีสาน ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทนวนิยาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2519 และได้รับรางวัลซีไรต์ เมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์[2] ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมปลาย ลูกอีสาน ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น[3] มลายู[4] และฝรั่งเศส
  • นายฮ้อยทมิฬ ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวนิยายจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2520

นวนิยายเรื่องอื่น ๆ

[แก้]
  • ดอกฟ้ากับหมาคุก
  • คำสารภาพของคนขี้คุก
  • เลือดอีสาน
  • อีสานพเนจร
  • เสียงกระซิบจากโซ่ตรวน
  • ลูกลำน้ำโขง
  • วีรบุรุษเมืองใต้
  • ใหญ่ก็ตายไม่ใหญ่ก็ตาย
  • นายหน้า แมงดา อาโก โสเภณีเด็ก
  • นรกหนาวในเยอรมัน
  • ตำนานรักลูกปักษ์ใต้
  • ลูกอีสานขี่เรือบิน (บันทึกประสบการณ์ในการไปรับรางวัลซีไรต์ที่กรุงเทพฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และการเดินทางไปทัศนศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์)
  • แผนชั่วเชือดอีสาน (นวนิยายเกี่ยวกับกบฏผู้มีบุญอีสานใน พ.ศ. 2440)
  • นายฮ้อยทมิฬ ภาคสมบูรณ์
  • นักเลงตราควาย
  • หอมกลิ่นบาทา

รวมเรื่องสั้น

[แก้]
  • หอมกลิ่นบาทา
  • นักเลงลูกทุ่ง
  • แม่หม้ายที่รัก
  • เสือกเกิดมารวย
  • พยาบาลที่รัก

สารคดี

[แก้]
  • ไปยิงเสือโคร่ง
  • คำพูนกลัวตาย
  • สีเด๋อย่ำเยอรมัน
  • นิทานพื้นบ้านอีสาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "นายคำพูน บุญทวี". ศิลปินแห่งชาติ National Artist. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
  2. "ลูกอีสาน A Son Of The Northeast (Luk E-Sarn)". ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566.
  3. カムプーン・ブンタヴィー (1 เมษายน 1980). 東北タイの子. แปลโดย 星野 竜夫. 井村文化事業社. ASIN B000J88PA0.
  4. Kampoon Boontawee (1994). Anak timur laut. แปลโดย Kepner, Susan Fulop.; Ainon Abu Bakar.; Alauyah Abd. Rahman. Kuala Lumpur: Yayasan Penataran Ilmu. ISBN 983-9851-04-7.
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์. เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓๘. 4 ธันวาคม 2545.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คำพูน บุญทวี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?