For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คายตรีมนตร์.

คายตรีมนตร์

คายตรีมนตร์ เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

คายตรีมนตร์ (เทวนาครี: गायत्री मन्त्र; Gāyatrī Mantra) หรือ สาวิตรีมนตร์ (เทวนาครี: सावित्री मन्त्र; Sāvitri Mantra) เป็นมนตร์ที่ได้รับการเคารพสูง มีที่มาจากฤคเวท (มณฑล 3.62.10)[1] ซึ่งอุทิศแด่เทวีพระเวท สาวิตร[1][2] คายตรีเป็นนามของเทวีที่ประจำจังหวะพระเวทของกวีบทที่มีมนตร์นี้[3] การสวดมนตร์นี้ตามธรรมเนียมจะเริ่มต้นด้วยคำว่า โอม และคำกล่าวตามพิธี ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ) ซึ่งรู้จักในชื่อ มหาวฺยาหฤติ (mahāvyāhṛti) หรือ "เสียงเปล่งมนตร์อันยิ่งใหญ่" มีการกล่าวอ้างถึงคายตรีมนตร์อยู่อย่างแพร่หลายในเอกสารของศาสนาฮินดู เช่น รายชื่อมนตร์ในพิธีสวดเศราตะ และในเอกสารคลาสสิกของฮินดู เช่น ภควัทคีตา,[4][5] หริวงศ์[6] และ มนูสมฤติ[7] ทั้งมนตร์นี้และรูปจังหวะ (metric form) ที่เกี่ยวข้องยังปรากฏในศาสนาพุทธ[8] มนตร์นี้เป็นส่วนสำคัญของพิธีอุปนยายนะ ขบวนการปฏิรูปศาสนาฮินดูยุคใหม่ได้เผยแพร่การปฏิบัติมนตร์นี้ไปสู่ทุกคน ปัจจุบันมนตร์นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย[9][10]

เนื้อหา

[แก้]

มนตร์หลักปรากฏอยู่ในเพลงสวด RV 3.62.10. ซึ่งขณะการสวด เพลงสวดนี้จะมีคำว่า โอม นำหน้า และมีคำกล่าวตามพิธีว่า ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ, भूर् भुवः स्वः) ในไตตติริยอรัญกะ (2.11.1-8) ระบุยืนยันว่ามนตร์นี้ควรนำโดยคำว่า โอม ตามด้วยบท วยหฤตี (Vyahrtis) และคายตรี[11]

คยาตรีมนตร์และสวารัส[11] รูปอักษรเทวนาครี คือ

ॐ भूर्भुवः स्वः
तत्सवितुर्वरेण्यं
भर्गो देवस्य धीमहि।
धियो यो नः प्रचोदयात्॥

หรือในรูป IAST ได้ว่า

oṃ bhūr bhuvaḥ svaḥ
tat savitur vareṇyaṃ
bhargo devasya dhīmahi
dhiyo yo naḥ pracodayāt[12]

และในรูปอักษรไทยได้ว่า

โอํ ภูรฺ ภุวะ สฺวะ
ตตฺ สวิตุรฺ วเรณฺยํ
ภรฺโค เทวสฺย ธีมหิ
ธิโย โย นะ ปฺรโจทยาตฺ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Rig Veda: Rig-Veda, Book 3: HYMN LXII. Indra and Others". www.sacred-texts.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
  2. "Gayatri Mantra". OSME.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Staal, Frits (June 1986). "The sound of religion". Numen. 33 (Fasc. 1): 33–64. doi:10.1163/156852786X00084. JSTOR 3270126.
  4. Rahman 2005, p. 300.
  5. Radhakrishnan 1994, p. 266.
  6. Vedas 2003, p. 15–16.
  7. Dutt 2006, p. 51.
  8. Shults, Brett (May 2014). "On the Buddha's Use of Some Brahmanical Motifs in Pali Texts". Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies. 6: 119.
  9. Rinehart 2004, p. 127.
  10. Lipner 1994, p. 53.
  11. 11.0 11.1 Carpenter, David Bailey; Whicher, Ian (2003). Yoga: the Indian tradition. London: Routledge. p. 31. ISBN 0-7007-1288-7.
  12. Guy L. Beck (2006). Sacred Sound: Experiencing Music in World Religions. Wilfrid Laurier University Press. p. 118. ISBN 978-0-88920-421-8.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คายตรีมนตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?