For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การระเบิดฝุ่น.

การระเบิดฝุ่น

การสาธิตการเผาผงไลโคโพเดียมในห้องปฏิบัติการ

การระเบิดฝุ่น (อังกฤษ: dust explosion) เป็นการเผาไหม้อย่างรวดเร็วของอนุภาคละเอียดที่แขวนลอยอยู่ในอากาศภายในพื้นที่ปิด เกิดจากการมีอณูวัตถุปริมาณมากติดไฟในตัวกลางที่เป็นตัวออกซิไดซ์ การระเบิดฝุ่นเป็นอันตรายที่พบได้บ่อยในการทำเหมืองถ่านหิน ฉางเก็บเมล็ดพืช และโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ อันตรายจากการระเบิดฝุ่นมาจากความดันเกิน คลื่นกระแทก และการลุกไหม้ที่สามารถทำลายโครงสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือก่อให้เกิดสะเก็ดระเบิด[1]

การเกิดการระเบิดฝุ่นอาศัยปัจจัย 5 อย่างได้แก่ อนุภาคที่ติดไฟได้ (เช่น ฝุ่นถ่านหิน แป้ง หรือขี้เลื่อย) ความหนาแน่นของอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ความหนาแน่นของตัวออกซิไดซ์ (โดยทั่วไปคือออกซิเจน) มีแหล่งก่อให้เกิดประกายไฟ (เช่น ไฟฟ้าสถิต แรงเสียดทาน หรืออาร์กไฟฟ้า) และอยู่ในพื้นที่ปิด[2] สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการระเบิดเกิดจากอนุภาคนั้นมีพื้นที่ผิวมากกว่าเมื่อเทียบกับมวลของตัวมันเอง เมื่อเกิดประกายไฟที่มีตัวกลางเป็นออกซิเจนจะก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่พื้นที่ผิวอย่างรวดเร็วโดยใช้พลังงานความร้อนน้อยกว่าการเผาไหม้ตัวมวลทั้งหมด[3] อีกทั้งยังไม่มีการสูญเสียการเหนี่ยวนำความร้อนระหว่างการเผาไหม้ และเมื่อเกิดการเผาไหม้ในพื้นที่ปิดจะทำให้ความดันอากาศเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเกิดการแผ่รังสีความร้อนและการขาดออกซิเจนในรายผู้ประสบเหตุ[4]

ในอดีตเคยเกิดเหตุระเบิดฝุ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น การระเบิดเหมืองในเมืองเปิ่นซี ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1942 มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน, การระเบิดฉางเก็บเมล็ดพืชที่เมืองเวสต์วีโก รัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐในปี ค.ศ. 1977 มีผู้เสียชีวิต 36 คน และเหตุเพลิงไหม้สวนน้ำนิวไทเป ประเทศไต้หวันในปี ค.ศ. 2015 มีผู้เสียชีวิต 15 คน ปัจจุบันมีการใช้หลายวิธีในการลดการระเบิด เช่น การรดน้ำเพื่อลดฝุ่น การลดความหนาแน่นของตัวออกซิไดซ์ และการระบายเพื่อลดการลุกไหม้ เป็นต้น[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Piotr Wolański (1996). "Dust explosion". สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  2. "ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับโรงงานที่มีฝุ่นจากการเกษตรที่ระเบิดได้" (PDF). สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. September 2013. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  3. "Combustible dust". RISE. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  4. Alan Clark; John Kimball; Hollis Stambaugh (August 1998). "The Hazards Associated with Agricultural Silo Fires - SPECIAL REPORT" (PDF). Federal Emergency Management Agency - United States Fire Administration. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  5. "List of NFPA Codes & Standards". NFPA.org.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การระเบิดฝุ่น
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?