For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การทำเหมืองถ่านหิน.

การทำเหมืองถ่านหิน

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

การทำเหมืองถ่านหิน คือการขุดเจาะหรือเปิดหน้าดินลงไปเพื่อที่จะนำแร่ธาตุที่มนุษย์ต้องการในดินนำมาใช้ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ การทำเหมืองแบบเหมืองเปิดและการทำเหมืองแบบเหมืองกึ่งเปิด การพิจารณาเลือกการทำเหมืองในแต่ละแบบนั้นมีข้อจำกัดข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยยึดถือลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งแร่และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลักในการพิจารณา การทำเหมืองในแต่ละแบบมีรายละเอียดในการดำเนินการที่ต่างกันออกไป

เหมืองถ่านหินแบบเปิด

[แก้]

การทำเหมืองถ่านหินแบบเหมืองเปิดนั้น เป็นการทำเหมืองจากผิวดินลึกลงไปหาชั้นแร่แล้วขุดแร่นั้นขึ้นมาใช้ การทำเหมืองแบบนี้มีที่ดำเนินการอยู่ 3 ประเภทคือ

  • แบบเปิดปากหลุม - จะทำโดยการเปิดหน้าดินเป็นบ่อลึกลงไปจนถึงชั้นแร่แล้วจึงขุดแร่ออกมาใช้งาน การทำเหมืองประเภทนี้จะแบ่งทำเป็นชั้นๆ ซึ่งอาจจะมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นแร่และความสามารถของเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ทำงาน ลักษณะของเหมืองจะคล้ายกับรูปปิรามิดฐานกลมพุ่งลงดินหรือเหมือนกับการขุดบ่อลึกลงไปเป็นขั้นบันได การทำเหมืองเป็นชั้นนี้ทำให้เกิดความมั่นคงของผนังบ่อเหมือง และมีความปลอดภัยในการทำงาน ความสูงของชั้นจะกำหนดตามความสามารถของเครื่องจักรกลที่ใช้ขุด ส่วนความกว้างของชั้นขณะทำงานนั้นจะต้องมีความกว้างเพียงพอสำหรับใช้เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างสะดวก
  • แบบเป็นบ่อ - เป็นการทำเหมืองเปิดอีกวิธีหนึ่งหลักใหญ่ของการทำเหมืองแบบนี้ก็คือการลดการขนหน้าดิน ออกไปทิ้งยังที่ทิ้งดินซึ่งอยู่ไกลออกไปแต่จะกองไว้ข้างบ่อเหมือง การเปิดเครื่องจักรกลที่ทำงานดิน จะต้องเป็นเครื่องจักรกลที่รวมความสามารถในการขุดและขนไว้นอกบ่อเหมืองด้วยรถบรรทุกหรือระบบสายพานลำเลียง เช่น ดินส่วนที่เป็นผิวดินจะต้องขนไปกองไว้นอกบ่อเหมืองเป็นการชั่วคราว เพื่อจะนำกลับมาใช้ในการฟื้นสภาพเหมืองในภายหลัง โดยลักษณะการทำเหมืองแบบนี้ จะทำให้ปริมาณการเปิดหน้าดินและใช้เนื้อที่การทำเหมืองน้อยกว่าการทำเหมืองแบบแบบเปิดปากหลุม สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านเครื่องจักรกลสำหรับขนดินและค่าใช้จ่ายทางด้านการฟื้นฟูสภาพเหมืองลงได้มาก ลักษณะของแหล่งแร่ที่เหมาะกับการทำเหมืองแบบนี้ ประกอบด้วย
    • ต้องเป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่และชั้นถ่านหินมีความต่อเนื่องกัน
    • ชั้นถ่านหินจะต้องอยู่ในแนวราบหรือมีความลาดเอียงไม่มากนัก
    • ความลึกของชั้นถ่านหินต้องไม่ลึกจนเกินความสามารถของเครื่องจักรกลขุด
  • แบบอุโมงค์ - การทำเหมืองแบบนี้ไม่มีการเปิดหน้าดินจะมีเพียงการขุดเจาะเอาถ่านมาใช้เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเสริมหรือต่อจากการทำเหมืองแบบเปิดปากหลุมหรือแบบบ่อแล้ว โดยมากมักจะเจาะในชั้นถ่านที่เบาบาง ซึ่งไม่สามารถขุดคัดแยกจากการทำเหมืองโดยวิธีอื่นแล้ว การทำเหมืองวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันเนื่องจากมีอัตตราการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมต่ำ ยกเว้นในเหมืองที่มีถ่านหินคุณภาพสูงสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นที่มีราคาสูงกว่าการใช้เป็นเชื้อเพลิง

ขั้นตอนการทำเหมืองเปิด

[แก้]

หลังจากที่ได้สำรวจทางด้านธรณีวิทยาจนได้ข้อมูลของแหล่งแร่ทั้งทางด้านโครงสร้างทางธรณีวิทยาและปริมาณแร่ที่มีอยู่แล้ว จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาความเหมาะสม ในการเปิดการทำเหมืองที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งปริมาณแร่ที่มีทั้งแหล่งอาจจะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการทำเหมืองทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของแหล่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรณีวิทยาของแหล่งลักษณะการวางตัวของชั้นแร่ และราคาของแร่นั้นๆ โดยลักษณะการทำเหมืองเปิด การขุดดินและแร่ออกจากบ่อเหมืองนั้น ระยะทางในการขนส่งจะไกลขึ้น เนื่องจากความลึกของบ่อเหมืองที่ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดซึ่งค่าใช้จ่ายต่างq ที่ใช้ในการดำเนินงาน ณ จุดนั้นไม่คุ้มค่าในการผลิต โดยการทำเหมืองวิธีนี้จะต้องดำเนินการทำเหมืองโดยวิธีอื่นที่คุ้มค่าต่อไป

เหมืองถ่านหินใต้ดิน

[แก้]

การทำเหมืองถ่านหินโดยทั่วไปถ้ามีทางเลือกที่จะทำเหมืองเปิดได้ก็ไม่ควรจะเลือกการทำเหมืองใต้ดิน เพราะการทำเหมืองใต้ดินค่อนข้างอันตราย เนื่องจากในชั้นของถ่านหินจะมีการสะสมตัวของก๊าซที่ไวต่อการติดไฟ เช่น ก๊าซมีเทน เมื่อขุดถ่านก๊าซดังกล่าวจะถูกระบายออกมาสะสมในบริเวณหน้างาน ถ้าเกิดปัญหากับระบบระบายอากาศของการทำเหมืองใต้ดินอาจทำให้เกิดการลุกติดไฟของก๊าซดังกล่าวได้ และอีกสาเหตุคือบริเวณหน้างานการขุดถ่าน จะมีการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงถ่าน ถ้าความหนาแน่นของฝุ่นถ่านสะสมตัวถึงจุดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิและความดันของอากาศในบริเวณหน้างานจะสามารถทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้

อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลือกการทำเหมืองถ่านหินแบบเหมืองใต้ดิน ข้อจำกัดที่พอมองเห็นได้เด่นชัดได้แก่

  • สายแร่ถ่านหินอยู่ลึกมากจากผิวดินทำให้ไม่สามารถทำเหมืองเปิดได้ เพราะต้องขุดเปิดดินและหินออกจำนวนมากก่อนที่จะถึงชั้นถ่าน ทำให้อัตราส่วนระหว่างดินต่อถ่านที่จะต้องขุดออกสูงมาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการชุดขนดินและถ่านแพงกว่าราคาถ่านที่จะขายได้ จำเป็นต้องเลือกวิธีการทำเหมืองใต้ดินเพื่อลดค่าใช้จ่ายของการเปิดหน้าดิน
  • แหล่งแร่ถ่านหินอยู่ใกล้แหล่งชุมชน หรืออยู่ใกล้บริเวณที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างเข้มงวดทำให้การทำเหมืองเปิดไม่สามารถควบคุมมลภาวะที่เกิดจากการทำเหมืองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ค่อนข้างสูงได้ หรืออาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการควบคุมมลภาวะ การเลือกวิธีการทำเหมืองใต้ดินอาจเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การทำเหมืองถ่านหิน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?