For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กองทัพเบลเยียม.

กองทัพเบลเยียม

กองทัพเบลเยียม
Armée belge / Belgisch leger
belgische Armee
ตราอาร์มประจำของกองทัพเบลเยียม
ก่อตั้งค.ศ. 1830
เหล่า กองทัพบก
Naval flag of เบลเยียม กองทัพเรือ
Flag of the กองทัพอากาศเบลเยียม กองทัพอากาศ
กองทหารแพทย์ (Medical Component)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเปียเตอร์ เดอ เกรม (พรรค CD&V)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก เฌราร์ด แวน กาเลนแบร์ก
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุอายุ 18 ปีบริบูรณ์
ยอดประจำการ3,3000 นาย (อันดับที่ 76th)
ยอดสำรอง6,000 นาย
รายจ่าย
งบประมาณ3 พันล้านยูโร (FY09)[1]
ร้อยละต่อจีดีพี1.2% (FY09)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ยศยศทหารเบลเยียม

กองทัพเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Armée belge, ดัตช์: Belgisch leger) คือกองกำลังทหารของราชอาณาจักรเบลเยียม กองทัพเบลเยียมได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการประกาศอิสรภาพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1830 ตั้งแต่นั้นมาได้มีส่วนร่วมสำคัญยิ่งในการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเย็น (สงครามเกาหลี), วิกฤตการณ์คอซอวอ, โซมาเลีย และอัฟกานิสถาน กองพลร่มคอมมานโด (Para Commando) ได้เข้าคุมสถานการณ์ในแอฟริกากลางหลายครั้งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและการอพยพชาวเบลเยียมออกจากบริเวณ ในปัจจุบันกองทัพเบลเยียมนั้นยังประจำการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเลบานอน อัฟกานิสถาน และอ่าวอีเดน

กองทัพเบลเยียมนั้นแบ่งออกเป็น 4 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก (Land Component), กองทัพอากาศ (Air Component), กองทัพเรือ (Naval Component) และกองทหารแพทย์ (Medical Component)

ประวัติ

[แก้]

สถานะในปัจจุบัน

[แก้]

ตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 โดยพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ให้รวมเหล่าทัพทั้งสามเหล่าที่เคยแยกกันอย่างอิสระให้รวมเป็นโครงสร้างหน่วยเดียว และแบ่งแยกเป็นสี่ทัพย่อย (Components) ซึ่งประกอบด้วยจำนวนทหารทั้งสิ้นที่ยังอยู่ในปฏิบัติการประมาณ 47,000 นาย โดยกองทัพเบลเยียมนั้นถูกแบ่งโครงสร้างดังนี้

  1. กองทัพบก (Land Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพบก" (Land Force) (Land Force / Force Terrestre / Landmacht / Heer);
  2. กองทัพอากาศ (Air Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพอากาศ" (Air Force / Force Aérienne / Luchtmacht / Luftmacht);
  3. กองทัพเรือ (Marine Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพเรือ" (Navy Force / Force Navale / Zeemacht / Seemacht),
  4. กองทหารแพทย์ (Medical Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองบริการเสนารักษ์" (Medical Service / Service Médicale / Medische dienst / Sanitätsdienst).

งบประมาณทั้งสิ้นกว่า สามพันสี่ร้อยล้านยูโรนั้นถูกแบ่งให้กับเหล่าทัพทั้งสี่โดยแบ่งเป็นอัตราส่วนดังนี้[2]

  • ร้อยละ 63 เป็นเงินเดือน
  • ร้อยละ 25 เป็นค่าบำรุงรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์
  • ร้อยละ 12 เป็นค่าลงทุนต่างๆ

ศูนย์กลางการปฏิบัติการของกองทัพแต่ละเหล่านั้น (COMOPSLAND, COMOPSAIR, COMOPSNAV and COMOPSMED) ถือเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกรมการพนักงานฝ่ายปฏิบัติการและฝึกอบรม กระทรวงกลาโหม ซึ่งกำกับดูแลโดยผู้ช่วยผู้บัญชาการฝ่ายปฏิบัติการและฝึกอบรม (ACOS Ops & Trg) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (CHOD) อีกสายหนึ่งคือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการฝ่ายข่าวกรองและความปลอดภัย (ADIV - SGRS) ซึ่งกำกับดูแลงานด้านข่าวกรองโดยเฉพาะ

เชิงอรรถ และ อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Defence Expenditures of NATO Countries (1985–2009)
  2. Het Nieuwsblad; saturday 19, sunday 20 and monday 21 july 2008

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กองทัพเบลเยียม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?