For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หอยเชลล์.

หอยเชลล์

หอยเชลล์
หอยพัด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไทรแอสซิกตอนกลางถึงปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
ชั้นย่อย: Pteriomorphia
อันดับ: Pectinoida
อันดับย่อย: Pectinina
วงศ์ใหญ่: Pectinoidea
วงศ์: Pectinidae
Wilkes, 1810
สกุล[1]
ดูในเนื้อหา

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (อังกฤษ: scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย

โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก"

กายวิภาค

[แก้]

เช่นเดียวกับหอยนางรมแท้ (วงศ์ Ostreidae) หอยเชลล์มีกล้ามเนื้อปิดฝาอยู่ตรงกลาง ดังนั้นข้างในเปลือกของหอยมีแผลเป็นกลางอันเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นจุดยึดสำหรับกล้ามเนื้อนี้[2] กล้ามเนื้อปิดฝาของหอยเชลล์ใหญ่กว่าและพัฒนากว่ากล้ามเนื้อปิดฝาของหอยนางรม เพราะพวกมันเป็นนักว่ายน้ำที่กระตือรือร้น ชาวประมงและนักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า หอยเชลล์เป็นสัตว์อพยพ แต่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยอยู่[3] เปลือกของมันค่อนข้างมีลักษณะสม่ำเสมอ ซึ่งทำให้นึกถึงหอยทะเลต้นแบบ และเพราะรูปทรงเรขาคณิตที่น่าพอใจนี้เอง ทำให้เปลือกหอยเชลล์เป็นของประดับตกแต่งทั่วไป

หอยเชลล์มีตาธรรมดามากถึง 100 ดวง (จากการศึกษาล่าสุดพบว่ามีมากถึง 200 ดวง[4]) ร้อยอยู่รอบขอบแมนเทิลของมันเหมือนกับร้อยลูกปัด ดวงตาเหล่านี้มีจำนวนไม่คงที่ เพราะธรรมดาสำหรับหอยประเภทนี้ที่จะงอกตาใหม่เพิ่ม ทั้งยังงอกใหม่เวลาบาดเจ็บได้ด้วย[5] หากมันสูญเสียดวงตาทั้งหมด มันจะกลับมาเหมือนเดิมภายในสองเดือน[5] ดวงตาเหล่านี้เป็นดวงตาสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งมิลลิเมตร มีโครงสร้างของผลึกใสหรือคริสตัล รูปทรงสี่เหลี่ยมทำหน้าที่สะท้อนแสงเข้าสู่เรตินา[4] โดยมีเรตินาซึ่งมีความซับซ้อนกว่าเรตินาของหอยฝาคู่แบบอื่น ตาของมันประกอบด้วยเรตินาสองประเภท ประเภทหนึ่งตอบสนองต่อแสง และอีกประเภทหนึ่งขับความมืดออกไป อย่างเช่น เงาของผู้ล่าที่อยู่ใกล้ ๆ ดวงตาเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะรูปทรงได้ แต่รับรู้การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแสงและการเคลื่อนไหวได้[6][7]

ดวงตาสะท้อนแสงนี้แทนเลนส์ที่ข้างในตาเรียงรายไปด้วยกระจกซึ่งสะท้อนภาพไปโฟกัสที่จุดกึ่งกลาง[8] ธรรมชาติของดวงตาเหล่านี้หมายความว่า หากดวงหนึ่งจ้องเข้าไปในรูม่านตาของดวงตา ดวงตานั้นจะเห็นภาพเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตนั้นเห็น โดยสะท้อนกลับออกมา[8] หอยเชลล์สกุล Pecten มีดวงตาสะท้อนแสงขนาดถึง 100 มิลลิเมตร อยู่ตรงขอบเปลือก ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุเคลื่อนไหวขณะที่เคลื่อนผ่านเลนส์ต่อเนื่องกัน[8]

สกุล

[แก้]
  • Aequipecten Fischer, 1886
  • Amusium Roding, 1798
  • Argopecten Monterosato, 1889
  • Bractechlamys Iredale, 1939
  • Caribachlamys Waller, 1993
  • Chlamys Röding, 1798
  • Crassadoma Bernard, 1986
  • Cryptopecten Dall, Bartsch & Rehder, 1938
  • Decatopecten Sowerby II, 1839
  • Delectopecten Stewart, 1930
  • Euvola Dall, 1898
  • Haumea Dall, Bartsch & Rehder, 1938
  • Hinnites De France, 1821
  • Hyalopecten Verrill, 1897
  • Laevichlamys Waller, 1993
  • Leptopecten Verrill, 1897
  • Lindapecten Petuch, 1995
  • Lyropecten Conrad, 1862
  • Malanochlamys
  • Nodipecten Dall, 1898
  • Palliolum di Monterosato, 1884
  • Patinopecten Dall, 1898
  • Pecten Muller, 1776
  • Placopecten Verrill, 1897
  • Spathochlamys Waller, 1993

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pectinidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2017-12-12.
  2. National Museum Wales, Department of Biodiversity & Systematic Biology. "Bivalve Shell Structures". สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  3. Scallops: Biology, Ecology and Aquaculture, Volume 35, Second Edition (Developments in Aquaculture and Fisheries Science). Elsevier Science. 2006. p. 709. ISBN 978-0444504821. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  4. 4.0 4.1 หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, หอยเชลล์มีดวงตาที่น่าทึ่งถึง 200 ตา. "ทันโลก". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21875: วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 1 ปีระกา
  5. 5.0 5.1 Burton, Maurice (2002). International Wildlife Encyclopedia. Marshall Cavendish Corporation. pp. 2248–2249. ISBN 978-0761472827. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15. ((cite book)): ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. http://www.asknature.org/strategy/1e779a45a88aef5c45448073f1e77216
  7. Land MF and Fernald RD (1992) "The evolution of eyes" เก็บถาวร 2018-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Annual review of neuroscience, 15: 1–29.
  8. 8.0 8.1 8.2 Land, M F; Fernald, R D (1992). "The Evolution of Eyes". Annual Review of Neuroscience. 15: 1–29. doi:10.1146/annurev.ne.15.030192.000245. PMID 1575438.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หอยเชลล์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?