For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รุวันแวลิแสยะ.

รุวันแวลิแสยะ

รุวันแวลิแสยะ
රුවන්වැලි මහා සෑය
พระสถูปรุวันแวลิแสยะ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
ประเทศประเทศศรีลังกา
รุวันแวลิแสยะตั้งอยู่ในศรีลังกา
รุวันแวลิแสยะ
ที่ตั้งในศรีลังกา
พิกัดภูมิศาสตร์8°21′0″N 80°23′47″E / 8.35000°N 80.39639°E / 8.35000; 80.39639
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งกษัตริย์ทุฏฐคามณี
เสร็จสมบูรณ์ราว 140 ปีก่อนคริสต์กาล

รุวันแวลิมหาแสยะ (อักษรโรมัน: Ruwanweli Maha Seya) หรือ สวัณณมาลีมหาเจดีย์ (ภาษาบาลี: Svaṇṇamāli Mahaceti) เป็นพระสถูปในอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวนหนึ่งโทณะ ซึ่งถือเป็นจำนวนของพระบรมธาตุที่มากที่สุดในโลก[1] สถูปนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์สิงหล ทุฏฐคามณี เมื่อราว 140 ปีก่อนคริสต์กาล

สถูปรุวันแวลิปรากฏบันทึกการก่อสร้างและพิธีเปิดอยู่ในคัมภีร์มหาวงศ์ สถูปรุวันแวลิเป็นหนึ่งใน "โสฬสมัสถาน" (หรือ 16 ปูชนียสถาน) และ "อฏมัสถาน" (หรือ 8 ปูชนียสถาน) รวมถึงเป็นหนึ่งในอนุสรณ์ที่สูงที่สุดในโลกยุคโบราณ ด้วยขนาดความสูง 103 m (338 ft) และเส้นรอบวงที่ฐานขนาด 290 m (951 ft) สถูปองค์แรกเริ่มมีขนาดสูง 55 m (180 ft) และต่อมามีการบูรณะโดยกษัตริย์หลายคน ในเมืองซะไกง์ ประเทศพม่า มีการสร้างสถูปจำลองจากรุวันแวลิ คือเจดีย์กองมุดอ[2]

ในศตวรรษที่ 19 สถูปมีลักษณะถูกปกคลุมด้วยพืชรกทึบ ภายหลังได้มีการระดมทุนโดยภิกษุจนนำไปสู่การบูรณะครั้งใหญ่ในต้นศตวรรษที่ 20 รวมถึงมีการตั้งสมาคมบูรณปฏิสังขรณ์รุวันแวลิแสยะขึ้นเพื่อระดมทุน โดยมีผู้บริจาคคนสำคัญคือเศรษฐีใจบุญ เฮนดริก อัปปุหามี (Hendrick Appuhamy) ซึ่งบริจาคเงิน 20 ล้านรูปี ในปี 1912 (คิดเป็นเงิน 611 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปรับตามค่าเงินเฟ้อในปี 2021)[3] ยอดมงกุฏประดับเพชรของสถูปนำขึ้นไปประดิษฐานในปี 1940 และครั้งล่าสุดในปี 2019

ตำนาน

[แก้]

ตามหลักฐานในคัมภีร์มหาวงศ์ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งจักรวรรดิโมริยะ เลือกที่จะไม่ไปนำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากบรรดานาคที่รามคราม (Ramagrama) ตามคัมภีร์ระบุว่าเมื่อครั้นจะเสด็จปรินิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสกล่าวเป็นลางว่าพระอัฐิของพระองค์จะแบ่งออกเป็นแปดโทณะ (dona; หรือ ทะนาน) หนึ่งในนี้จะนำไปบูชาโดยโกลิยะแห่งรามคราม จากนั้นจะมาอยู่เป็นของนาค ก่อนที่จะมาประดิษฐานในดินแดนลังกา พระเจ้าอโศกมหาราชได้รับรู้เรื่องนี้จากพระอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่งระบุว่าการประดิษฐานในดินแดนลังกาในอนาคตจะมีกษัตริย์ทุฏฐคามณีเป็นผู้อัญเชิญไปยังลังกา[4]

ในคัมภีร์ถูปวงศ์ มีการระบุถึงสิ่งมีชีวิตมากมายที่มาเข้าร่วมฉลองการประดิษฐานของพระธาตุในมหาสถูปที่ลังกา เช่น กษัตริย์แห่งนาค มหากาลา (Mahakala) พระธาตุได้อัญเชิญไปประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระวิศวกรรม และอัญเชิญลงมาโดยพระอินทร์ พระพรหมได้ถวายฉัตรล่องหนแห่งความเป็นเอกเทศ และกษัตริย์ Dutthagamani ได้ถวายฉัตรของตนเช่นกัน พระอรหันต์ อินทคุตตะ (Indagutta) ได้สร้างสิ่งคลุมรอบจักรวาลไว้ ไม่ให้มารเข้าใกล้ได้ และภิกษุสงฆ์สวดพระสุตตันตปิฎก กษัตริย์ทุฏฐคามณี อัญเชิญพระธาตุในหีบขึ้นเหนือหัวและเดินเข้าไปยังปะรำพิธีเพื่อประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ ทันใดนั้นพระธาตุลอยขึ้นในอากาศและปรากฏเป็นพระพุทธองค์ ซึ่งพร้อมไปด้วยลักษณะของมหาบุรุษทุกประการ พร้อมทั้งแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ไฟและน้ำ ในครั้นนี้มีเทวดาและมนุษย์ 120 ล้านคนที่บรรลุพระอรหันต์ จากนั้นพระธาตุจึงกลับสู่หีบและประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ภายในพระสถูปสืบมา[5]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

กษัตริย์ทุฏฐคามณี เรเป็นผู้เริ่มต้นการก่อสร้างพระสถูปนี้ กระนั้นสิ้นพระชนม์ไปก่อนที่จะแล้วเสร็จ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังสามารถพิชิตราชรัตจากโจฬะมาได้[6]: 130 

เมื่อครั้นโจฬะยึดนครอนุราธปรุะ สถูปไแ้รัขความเสียหาย แต่ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยของกษัตริย์ปรกรมพาหุที่หนึ่ง (1153–1187) ผู้พิชิตอินเดียใต้และทมิฬนาฑูได้[7] โดยใช้เชลยชาวทมิฬมาเป็นแรงงานในการบูรณปฏิสังขรณ์[8]: 280–282 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Sunday Times".
  2. Myo Aung; H. Kraft’. Upper Myanmar Mandalay Pyin Oo Lwin Sagaing Monywa Mingun Mogok Shwebo. Books on Asia.
  3. Situge, Hemantha (2019-01-15). "Hemantha Situge: GAYAN CHANUKA VIDANAPAHIRANA's SWAMALI MAHA CHAITHYA WARNANAWA DAYAWANSA JAYAKODY PUBLISHERS 2015 ON SITUGE DON HENDRICK APPUHAMY ALIAS HENEGAMA APPUHAMY on his benevolence to RUWANWELISEYA". Hemantha Situge. สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
  4. Strong 2007, p. 160-167.
  5. Strong 2007, p. 133.
  6. Encyclopedia of Sri Lanka. 2018. ISBN 1932705481.
  7. "IV". A Short History of Ceylon. ISBN 8120609468.
  8. Ancient Ceylon. ISBN 8120602080.

บรรณานุกรม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รุวันแวลิแสยะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?