For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วงศ์ปลาสอด.

วงศ์ปลาสอด

ปลาสอด
ปลาเอนด์เลอร์ตัวผู้ (Poecilia wingei)
ปลาเซลฟิน (Poecilia latipinna)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cyprinodontiformes
วงศ์: Poeciliidae
Garman, 1895
สกุล
3 วงศ์ย่อย 40 สกุล (ดูในเนื้อหา)

วงศ์ปลาสอด (อังกฤษ: Molly) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Poeciliidae อยู่ในอันดับปลาหัวตะกั่ว หรืออันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes)

มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า "Sword" ที่หมายถึง "ดาบ"[1] อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย

เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว

เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาเอนด์เลอร์ (P. wingei), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii)

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท

สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย

โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย"[1]

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย และสกุลต่าง ๆ ได้ดังนี้[2]

  • Aplocheilichthyinae Myers, 1928
    • Aplocheilichthys Bleeker, 1863
    • Hylopanchax Poll and Lambert, 1965
    • Laciris Huber, 1982
    • Lacustricola Myers, 1924
    • Poropanchax Clausen, 1967
  • Poeciliinae Garman, 1895
    • Alfaro Meek, 1912
    • Belonesox Kner, 1860
    • Brachyrhaphis Regan, 1913
    • Carlhubbsia Whitley, 1951
    • Cnesterodon Garman, 1895
    • Gambusia Poey, 1854
    • Girardinus Poey, 1854
    • Heterandria Agassiz, 1853
    • Limia Poey, 1854
    • Micropoecilia Hubbs, 1926
    • Neoheterandria Henn, 1916
    • Pamphorichthys Regan, 1913
    • Phallichthys Hubbs, 1924
    • Phalloceros Eigenmann, 1907
    • Phalloptychus Eigenmann, 1907
    • Phallotorynus Henn, 1916
    • Poecilia Bloch and Schneider, 1801
    • Poeciliopsis Regan, 1913
    • Priapella Regan, 1913
    • Priapichthys Regan, 1913
    • Pseudopoecilia Regan, 1913
    • Quintana Hubbs, 1934
    • Scolichthys Rosen, 1967
    • Tomeurus Eigenmann, 1909
    • Xenodexia Hubbs, 1950
    • Xenophallus Hubbs, 1924
    • Xiphophorus Heckel, 1848
  • Procatopodinae Fowler, 1916
    • Cynopanchax Ahl, 1928
    • Fluviphylax Whitley, 1965
    • Hypsopanchax Myers, 1924
    • Lamprichthys Regan, 1911
    • Micropanchax Myers, 1924
    • Pantanodon Myers, 1955
    • Plataplochilus Ahl, 1928
    • Procatopus Boulenger, 1904

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ปลาสอด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-07. สืบค้นเมื่อ 2009-03-23.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วงศ์ปลาสอด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?