For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มีฮาอิล กอร์บาชอฟ.

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
Михаи́л Горбачёв
กอร์บาชอฟ ใน ค.ศ. 1989
ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม ค.ศ. 1990 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
(1 ปี 285 วัน)
รองประธานาธิบดีเกนนาดี ยานาเยฟ
ก่อนหน้าตนเอง
(ประธานสภาโซเวียตสูงสุด)
ถัดไปล่มสลาย
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม ค.ศ. 1985 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991
(6 ปี 166 วัน)
ก่อนหน้าคอนสตันติน เชียร์เนนโค
ถัดไปวลาดีมีร์ อีวัชโก
(รักษาการ)
ประธานสภาโซเวียตสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1990
(0 ปี 294 วัน)
ก่อนหน้าตนเอง
(ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด)
ถัดไปตนเอง
(ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต)
ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม ค.ศ. 1988 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1989
(0 ปี 236 วัน)
ก่อนหน้าอันเดรย์ โกรมืยโค
ถัดไปตนเอง
(ในตำแหน่งประธานสภาโซเวียตสูงสุด)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม ค.ศ. 1931(1931-03-02)
ปรีวอลโนเย, ดินแดนสตัฟโรปอล, สาธารณรัฐรัสเซีย สหภาพโซเวียต
เสียชีวิต30 สิงหาคม ค.ศ. 2022(2022-08-30) (91 ปี)
มอสโก ประเทศรัสเซีย
ศาสนาไม่มี
พรรคการเมืองอิสระ (ค.ศ. 1991–2000, ค.ศ. 2013–2022)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสไรซา กอร์บาโชวา (สมรส ค.ศ. 1953–1999)
ลายมือชื่อ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ[1][a] (รัสเซีย: Михаи́л Серге́евич Горбачёв) (2 มีนาคม ค.ศ. 1931 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 2022) เป็นนักการเมืองชาวโซเวียตและรัสเซีย เป็นผู้นำคนที่ 8 และคนสุดท้ายแห่งสหภาพโซเวียต ดำรงแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต ระหว่าง ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991 ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด ระหว่าง ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 1989 ดำรงตำแหน่งประธานสภาโซเวียตสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1990 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซเวียต ระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 1991 จนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลาย กอร์บาชอฟเคยมีอุดมการณ์แบบลัทธิมากซ์–เลนิน แต่เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1990

กอร์บาชอฟมีเชื้อสายยูเครนและรัสเซีย เขาเกิดที่เมืองปรีวอลโนเย ดินแดนสตัฟโรปอล ครอบครัวเป็นชาวไร่ยากจน กอร์บาชอฟเติบโตขึ้นมาภายใต้การปกครองของโจเซฟ สตาลิน ในวัยหนุ่มกอร์บาชอฟทำงานเกี่ยวกับรถเกี่ยวข้าวในฟาร์มนารวมก่อนที่จะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งในเวลานั้นสหภาพโซเวียตปกครองในฐานะรัฐพรรคเดียวตามการตีความหลักอุดมการณ์ลัทธิมากซ์–เลนินที่แพร่หลาย ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมอสโก เขาแต่งงานกับไรซา ตีตาเลนโค เพื่อนนักศึกษาใน ค.ศ. 1953 ก่อนที่จะได้รับปริญญาทางกฎหมายใน ค.ศ. 1955 กอร์บาชอฟย้ายไปอยู่ที่สตัฟโรปอล เขาทำงานให้กับคอมโซมอล และหลังจากการตายของสตาลิน เขาเป็นแกนนำสนับสนุนนโยบายการปฏิรูปและการล้มล้างอิทธิพลของสตาลินของนีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำโซเวียต เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคที่หนึ่งของคณะกรรมการระดับภูมิภาคประจำสตัฟโรโปลใน ค.ศ. 1970 ซึ่งระหว่างดำรงตำแหน่ง เขาดูแลการก่อสร้างคลองเกรตสตัฟโรปอล ใน ค.ศ. 1978 กอร์บาชอฟเดินทางไปกรุงมอสโกเพื่อรับตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการกลางของพรรค และใน ค.ศ. 1979 ก็ได้เป็นสมาชิกโปลิตบูโร ภายในสามปีหลังจากการอสัญกรรมของเลโอนิด เบรจเนฟ ผู้นำโซเวียต ตามด้วยยูรี อันโดรปอฟ และคอนสตันติน เชียร์เนนโค ที่ปกครองในช่วงเวลาสั้น ๆ โปลิตบูโรได้เลือกกอร์บาชอฟเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และหัวหน้ารัฐบาลโดยพฤตินัยใน ค.ศ. 1985

กอร์บาชอฟเชื่อว่าการปฏิรูปครั้งสำคัญเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากภัยพิบัติเชียร์โนบีลใน ค.ศ. 1986 แม้จะมุ่งมั่นที่จะรักษารัฐโซเวียตและอุดมการณ์สังคมนิยม เขาถอนกำลังจากสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานและเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนของสหรัฐเพื่อจำกัดอาวุธนิวเคลียร์และยุติสงครามเย็น ในประเทศ นโยบาย "กลัสนอสต์" ("การเปิดกว้าง") ทำให้เสรีภาพในการพูดและสื่อเพิ่มขึ้น ในขณะที่ "เปเรสตรอยคา" ("การปรับโครงสร้าง") พยายามกระจายอำนาจการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ มาตรการการทำให้เป็นประชาธิปไตยและการก่อตั้งสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งได้บ่อนทำลายระบบรัฐพรรคเดียว กอร์บาชอฟปฏิเสธที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารเมื่อหลายประเทศในกลุ่มตะวันออกละทิ้งการปกครองแบบมากซ์–เลนินใน ค.ศ. 1989-1990 ภายในสหภาพโซเวียต ความรู้สึกชาตินิยมที่เพิ่มมากขึ้นขู่ว่าจะสลายสหภาพโซเวียต และมีกลุ่มหัวรุนแรงมากซ์–เลนินพยายามก่อรัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สหภาพโซเวียตล่มสลาย กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่ง หลังจากออกจากตำแหน่ง เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิกอร์บาชอฟและกลายเป็นผู้วิจารณ์ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินและวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย และรณรงค์ขบวนการสังคมประชาธิปไตยในรัสเซีย กอร์บาชอฟเสียชีวิตใน ค.ศ. 2022 หลังจากล้มป่วยมาระยะหนึ่ง

กอร์บาชอฟถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุดในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง เขาได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางสำหรับบทบาทสำคัญของเขาในการยุติสงครามเย็น นำเสนอเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจใหม่ในสหภาพโซเวียต และยอมทนทั้งการล่มสลายของระบอบมากซ์–เลนิน ในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางและการรวมประเทศเยอรมนี แต่เขามักถูกเย้ยหยันในรัสเซียและรัฐอื่น ๆ ในอดีตสหภาพโซเวียตที่เร่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้อิทธิพลทั่วโลกของรัสเซียตกต่ำลงและก่อให้เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รัสเซีย: Михаил Сергеевич Горбачёв, อักษรโรมัน: Mikhail Sergeyevich Gorbachyov, สัทอักษรสากล: [mʲɪxɐˈil sʲɪrˈɡʲejɪvʲɪtɕ ɡərbɐˈtɕɵf] ( ฟังเสียง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. สัญชัย สุวังบุตร (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 85. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
ก่อนหน้า มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต
(ค.ศ. 1990 - 1991)
ยุบตำแหน่ง
คอนสตันติน เชียร์เนนโค เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
(ค.ศ. 1985 - 1991)
วลาดิมีร์ อิวัชโก
คอราซอน อากีโน บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1987)
โลก
โลก บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
บุคคลแห่งทศวรรษ

(ค.ศ. 1989)
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?