For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ.

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
ชื่ออื่นChronic lymphocytic thyroiditis, ไทรอยด์อักเสบเหตุภูมิแพ้ตัวเอง, struma lymphomatosa, โรคฮาชิโมโตะ
ภาพกล้องจุลทรรศน์แสดงต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการต่อมไทรอยด์โตชนิดไม่ปวด, น้ำหนักตัวเพิ่ม, ความเหนื่อยล้า, ท้องผูก, อาการซึมเศร้า[1]
ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไทรอยด์[2]
การตั้งต้น30–50 ปี[1][3]
สาเหตุพันธุกรรม และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม[4]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, โรคภูมิแพ้ตัวเองแบบอื่น[1]
วิธีวินิจฉัยวัดระดับ TSH, T4, แอนติบอดีชนิดแอนติไทยรอยด์[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคเกรฟส์, ต่อมไทรอยด์โตแบบนอดูลาร์ชนิดไม่เป็นพิษ[5]
การรักษาเลวอไทรอกซิน, ผ่าตัด[1][5]
ความชุก5% ที่จุดหนึ่ง[4]

ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (อังกฤษ: Hashimoto's thyroiditis), ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบลิมโฟซัยต์, โรคฮาชิโมโตะ เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ[1][6] ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ[1] เมื่อเวลาผ่านไปต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดโตขึ้นเกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด[1] ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและมีอาการน้ำหนักเพิ่ม อ่อนเพลีย ท้องผูก ซึมเศร้า และปวดตามตัว[1] เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีต่อมไทรอยด์มักมีขนาดเล็กลง[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไทรอยด์[2]

เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[4] ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่น[1] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน TSH, T4 และออโตแอนติบอดีต่อไทรอยด์[1] โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันกับโรคนี้ในบางระยะ เช่น โรคเกรฟส์ และโรคคอพอกแบบไม่เป็นพิษ[5]

การรักษาโดยมาตรฐานคือการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ทดแทน[1][7] ในบางรายที่ไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา บางรายอาจต้องรับการรักษาเพื่อลดขนาดของต่อมไทรอยด์[1][8] ผู้ป่วยไม่ควรกินอาหารที่มีปริมาณไอโอดีนมากเกินไป แต่ก็ต้องได้รับไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด[5]

ตลอดอายุขัยชนชาติเชื้อสายคอเคเซียนจะพบมีผู้ป่วยจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตประมาณ 5%[4] ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการที่อายุ 30-50 ปี และพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[1][3] ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ[5] โรคนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1912 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Hakaru Hashimoto[9] ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1957 จึงค้นพบว่าโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านตนเอง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 "Hashimoto's Disease". NIDDK. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  2. 2.0 2.1 Noureldine, SI; Tufano, RP (January 2015). "Association of Hashimoto's thyroiditis and thyroid cancer". Current Opinion in Oncology. 27 (1): 21–5. doi:10.1097/cco.0000000000000150. PMID 25390557. S2CID 32109200.
  3. 3.0 3.1 Hiromatsu, Y; Satoh, H; Amino, N (2013). "Hashimoto's thyroiditis: history and future outlook". Hormones (Athens, Greece). 12 (1): 12–8. doi:10.1007/BF03401282. PMID 23624127. S2CID 38996783.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Pyzik, A; Grywalska, E; Matyjaszek-Matuszek, B; Roliński, J (2015). "Immune disorders in Hashimoto's thyroiditis: what do we know so far?". Journal of Immunology Research. 2015: 979167. doi:10.1155/2015/979167. PMC 4426893. PMID 26000316.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Akamizu, T; Amino, N; DeGroot, LJ; De Groot, LJ; Beck-Peccoz, P; Chrousos, G; Dungan, K; Grossman, A; Hershman, JM; Koch, C; McLachlan, R; New, M; Rebar, R; Singer, F; Vinik, A; Weickert, MO (2000). "Hashimoto's Thyroiditis". PMID 25905412. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "Hashimoto's disease". Office on Women’s Health, U.S. Department of Health and Human Services. 12 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2017. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  7. "Hashimoto Thyroiditis – Endocrine and Metabolic Disorders". Merck Manuals Professional Edition (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). July 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2017.
  8. "Hashimoto Thyroiditis – Hormonal and Metabolic Disorders". Merck Manuals Consumer Version (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 30 December 2017.
  9. Shoenfeld, Yehuda; Cervera, Ricard; Gershwin, M. Eric (2010). Diagnostic Criteria in Autoimmune Diseases (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 216. ISBN 9781603272858.
  10. Moore, Elaine A.; Wilkinson, Samantha (2009). The Promise of Low Dose Naltrexone Therapy: Potential Benefits in Cancer, Autoimmune, Neurological and Infectious Disorders. McFarland. p. 30. ISBN 9780786452583.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?