For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กอปปีเลฟต์.

กอปปีเลฟต์

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
ตัวอักษร c หันหลังกลับ สัญลักษณ์ของ กอปปีเลฟต์
เครื่องหมายลิขสิทธิ์

กอปปีเลฟต์ (อังกฤษ: copyleft) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาตของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง งานศิลปะ โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงานและเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม กอปปีเลฟต์ มอบเสรีภาพให้ทุกคนสามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานดังกล่าว

อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ กอปปีเลฟต์ คือการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แต่ไม่ทั้งหมด แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ (นั่นคือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ) กอปปีเลฟต์ จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ โดยถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ กอปปีเลฟต์ นี้ ได้แก่ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ กอปปีเลฟต์ นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ สัญญาอนุญาต กอปปีเลฟต์ จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses)

สัญลักษณ์ของ กอปปีเลฟต์ เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ (ɔ) โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ copyright โดยล้อกับอีกความหมายหนึ่งของคำว่า right ที่แปลว่า ขวา

ในภาษาไทย ยังไม่มีคำที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับ กอปปีเลฟต์ สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้ว่า "ลิขซ้าย" คงการล้อ ขวา-ซ้าย ไว้[1] ส่วน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้คำว่า "นิรสิทธิ์" หมายถึง ระบบที่ไม่มีหรือไม่ให้สิทธิคุ้มครอง[2]

ประวัติ

[แก้]

แนวคิดของ กอปปีเลฟต์ เริ่มจากการที่ ริชาร์ด สตอลแมน ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp ขึ้นมา ต่อมาบริษัทที่ชื่อว่า Symbolics ได้ขอใช้งานตัวแปลคำสั่งนี้ สตอลแมนตกลงอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวใช้งาน โดยมอบเป็นสาธารณสมบัติ (public domain) คือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ เลย ในเวลาต่อมา บริษัท Symbolics ได้แก้ไขปรับปรุงความสามารถของตัวแปลคำสั่งภาษา Lisp ให้ดีขึ้น แต่เมื่อสตอลแมนแสดงความต้องการที่จะเข้าถึงส่วนที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเหล่านั้น ก็ได้รับการปฏิเสธจากบริษัท

ด้วยเหตุนี้ ในปี ค.ศ. 1984 สตอลแมนจึงได้เริ่มแผนการต่อต้านและกำจัดพฤติกรรมและวัฒนธรรมของการหวงแหนซอฟต์แวร์ไว้ (proprietary software) เหล่านี้ โดยเขาได้เรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่าการกักตุนซอฟต์แวร์ (software hoarding)[3]

เนื่องจากสตอลแมนเห็นว่าในระยะสั้น มันคงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน รวมถึงสิ่งที่เขามองว่าเป็นสิ่งผิดปกติให้หมดไปอย่างถาวร เขาจึงเลือกที่จะใช้กลไกของกฎหมายที่มีอยู่มาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสิ่งที่เขาต้องการ เขาได้สร้างสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในแบบของเขาขึ้นมาเอง โดยสัญญาอนุญาตที่เขาสร้างขึ้นมาถือเป็นสัญญาอนุญาตแบบ กอปปีเลฟต์ ตัวแรก คือ Emacs General Public License[4] ซึ่งต่อมาสัญญาอนุญาตนี้ก็ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนกระทั่งกลายเป็น GNU General Public License (GPL) ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตแบบซอฟต์แวร์เสรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันหนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้าแรก เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีข้อความ "ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550 : สมเกียรติ ตั้งนโม"
  2. รายงาน: จากลิขสิทธิ์ – สละสิทธิ์ – สู่ครีเอทีฟคอมมอนส์, ประชาไท, 5 เม.ย. 2552
  3. http://www.oreilly.com/openbook/freedom/ch07.html
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2007-06-21.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กอปปีเลฟต์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?