For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ไฮนทซ์ กูเดรีอัน.

ไฮนทซ์ กูเดรีอัน

ไฮนทซ์ วิลเฮ็ล์ม กูเดรีอัน
กูเดรีอันที่แนวรบด้านตะวันออก เดือนกรกฎาคม 1941
ชื่อเล่นไฮนทซ์จอมพุ่ง
เกิด17 มิถุนายน ค.ศ. 1888(1888-06-17)
คุล์ม ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์)
เสียชีวิต14 พฤษภาคม ค.ศ. 1954(1954-05-14) (65 ปี)
ชวังเกา รัฐบาวาเรีย เยอรมนีตะวันตก
รับใช้ เยอรมนี (ถึง 1918)
 เยอรมนี (ถึง 1933)
 ไรช์เยอรมัน
ประจำการ1907 – 1945
ชั้นยศ พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
การยุทธ์
บำเหน็จกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊ก
ลายมือชื่อ

ไฮนทซ์ วิลเฮ็ล์ม กูเดรีอัน (เยอรมัน: Heinz Wilhelm Guderian) เป็นนายพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งภายหลังสงคราม ได้กลายเป็นนักบันทึกที่ประสบความสำเร็จ แต่ก่อนเป็นผู้บุกเบิกและสนับสนุนการโจมตีแบบ "สงครามสายฟ้าแลบ"(บลิทซ์ครีค) เขามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาแนวคิดกองพลยานเกราะ ในปี 1936 เขาได้กลายเป็นผู้ตรวจการกองกำลังยานยนต์

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง กูเดรีอันได้นำกองพลน้อยยานเกราะในการบุกครองโปแลนด์ ในช่วงการบุกครองฝรั่งเศส เขาได้บัญชาการหน่วยยานเกราะที่เข้าโจมตีผ่านป่าอาร์แดนและเอาชนะการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ยุทธการเซอด็อง เขาได้นำกองทัพยานเกราะที่สอง ในช่วงปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การบุกครองสหภาพโซเวียต การทัพได้ยุติลงด้วยความล้มเหลว ภายหลังจากเยอรมันได้ทำการรุกด้วยปฏิบัติการไต้ฝุ่นได้ล้มเหลวในการเข้ายึดกรุงมอสโก ซึ่งหลังจากนั้นกูเดรีอันได้ถูกปลดออก

ในช่วงต้นปี 1943 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งกูเดรีอันให้ดำรงตำแหน่งนายพลผู้ตรวจการของกองกำลังยานเกราะที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ในบทบาทนี้ เขาได้รับผิดชอบอย่างกว้างขวางในการสร้างและฝึกกองกำลังยานเกราะใหม่ แต่ประสบความสำเร็จที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจสงครามของเยอรมนีที่เลวร้ายลง กูเดรีอันได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการเสนาธิการกองทัพบกประจำกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกในทันที ภายหลังจากแผนลับ 20 กรกฎาคม ที่จะลอบสังหารฮิตเลอร์

กูเดรีอันถูกวางตัวโดยฮิตเลอร์ให้เป็นผู้รับผิดชอบ "ศาลเกียรติยศ" ซึ่งเป็นแผนการเพื่อปลดนายทหารจากกองทัพ ซึ่งพวกเขาจะถูกนำตัวมาพิจารณาคดีใน "ศาลประชาชน" แทนที่ศาลทหาร และถูกประหารชีวิต เขาได้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของฮิตเลอร์ในแนวรบด้านตะวันออกและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบอบนาซี กองกำลังของกูเดรีอันได้ดำเนินตามคำสั่งคอมมิสซาร์ที่เป็นอาชญากรรมในช่วงบาร์บาร็อสซา และเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการการโต้กลับในภายหลังจากการก่อการกำเริบในกรุงวอร์ซอในปี 1944

กูเดรีอันได้ยอมจำนนต่อกองกำลังสหรัฐ เมื่อวันที 10 พฤษภาคม 1945 และถูกคุมขังจนถึงปี 1948 เขาได้รับการปล่อยตัวโดยปราศจากการถูกตั้งข้อหาใด ๆ และเกษียณอายุเพื่อเขียนบันทึกความทรงจำของเขา ในชื่อเรื่องว่า ผู้นำยานเกราะ (Panzer Leader) หนังสืออัตชีวประวัติได้กลายเป็นหนังสือที่ขายดี ซึ่งได้มีการอ่านกันอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ งานเขียนของกูเดรีอันได้ส่งเสริมเรื่องปรัมปราหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง "แวร์มัคท์บริสุทธิ์" ในอัตชีวประวัติของเขา กูเดรีอันได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเองเป็นเพียงผู้ริเริ่มกองกำลังยานเกราะของเยอรมัน เขาได้เว้นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของเขากับฮิตเลอร์และระบอบนาซีหรืออาชญากรรมสงคราม กูเดรีอันได้เสียชีวิตในปี 1954 และศพถูกฝังในเมืองกอสลาร์

ประวัติ

[แก้]

ไฮนทซ์ วิลเฮ็ล์ม กูเดรีอัน เกิดที่เมืองคุล์ม ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน เขาเกิดในครอบครัวมีอันจะกิน เป็นบุตรของร้อยโท ฟรีดริช กูเดรีอัน (Friedrich Guderian) กับนางคลารา เคียร์ชฮ็อฟ (Clara Kirchhoff)[1] ใน 1901 เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยคาลส์รูเออ ก่อนที่จะย้ายมายังโรงเรียนนายร้อยโกรส-ลิชเทอร์เฟ็ลเดอ (Groß-Lichterfelde) ใกล้กับกรุงเบอร์ลิน

เข้ารับราชการทหาร

[แก้]

เมื่อเขาสำเร็จการศึกษานายร้อยในเดือนกุมภาพันธ์ 1907 เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารจักรวรรดิเยอรมัน ที่กองพันทหารราบเบาที่ 10 แห่งฮันโนเฟอร์ ซึ่งเป็นกองพันที่บิดาของเขาเป็นผู้บังคับกองพัน ใน 1908 เขาก็ได้รับการประดับยศร้อยตรี ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันชายแดนด้านตะวันออกของจักรวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ไซลีเชียไปจนถึงทะเลบอลติก เขามีความคิดเหมือนกับทหารหลาย ๆ คนว่าเยอรมนีไม่ควรลงนามในสัญญาสงบศึก 1918 เขาคิดว่าจักรวรรดิเยอรมันควรสู้ต่อ[2]

หลังสงคราม เขาเป็นหนึ่งในทหารสี่พันคนที่ยังคงได้รับราชการต่อในกองทัพเยอรมันที่ถูกลดขนาดลง เขาไปประจำการยังชายแดนด้านตะวันออกของประเทศเป็นเวลาห้าเดือนเพื่อรับมือความวุ่นวายจากสงครามกลางเมืองรัสเซีย[3] ก่อนที่จะถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในกองพลน้อยที่ 10 แห่งไรชส์แวร์ ในเมืองฮันโนเฟอร์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ใน 1920 เขาจะได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นผู้บังคับการกองพันทหารราบเบาที่ 10 แห่งฮันโนเฟอร์ ต่อมาใน 1922 เขาได้รับการทาบทามให้เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ โดยได้รับมอบหมายหน้าที่ตรวจสอบการลำเลียงกำลังพลประจำกองพันยานยนต์ขนส่งที่ 7 แห่งบาวาเรีย ในนครมิวนิก ภายใต้สังกัดกรมยานยนต์ขนส่ง

ผู้เชี่ยวชาญยานเกราะ

[แก้]
กูเดรีอันขณะตรวจจถถังทีเกอร์ 1 ในปี 1943

ด้วยหน้าที่นี้เอง ที่ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้านยานยนต์และยานเกราะ หนังสือที่เขาศึกษาส่วนมากเป็นหนังสือที่เขียนโดยร้อยเอก ลิดเดิลล์ ฮาร์ต (Liddell Hart) ทหารอังกฤษผู้มากประสบการณ์ด้านยานเกราะ ร้อยเอก ฮาร์ต ให้ความสำคัญกับการใช้กำลังรถถังและยานเกราะในการรบระยะไกล รวมทั้งได้เสนอแนวคิดการรุกแบบประสานงานระหว่างยานเกราะและทหารราบ ซึ่งในยุคนั้น ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารถถังและยานเกราะยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับกองทัพเยอรมัน การค้นคว้าอย่างจริงจังของกูเดรีอันทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ไปโดยปริยาย บทความด้านยานเกราะของเขาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกองทัพเป็นประจำ ซึ่งได้ทำให้ชื่อของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ในปี 1923–1924 พันโทวัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ จำลองการรบที่มีการประสานงานกันระหว่างรถถัง ยานเกราะ ทหารราบ และอากาศยาน การฝึกนี้เป็นที่สนใจของกรมการฝึกทหารบกอย่างมาก กูเดรีอันได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ฝึกสอนด้านยุทธวิธีและประวัติศาสตร์การทหาร ทำหน้าที่เผยแพร่การรบแบบใหม่ให้แก่หน่วยทหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนยุทธวิธีให้กับกองรถถัง ถือเป็นครั้งแรกที่เขามีโอกาสได้เห็นรถถังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอุปกรณ์ภายในรถถัง เกิดเป็นแนวความคิดที่ว่า :

การใช้รถถังรบอย่างเพียงลำพังหรือรบพร้อมทหารราบนั้น จะประสบความสำเร็จได้ยากยิ่ง จุดเด่นที่รถถังควรมีในการรบสมัยใหม่คือความเร็ว และสามารถเคลื่อนผ่านภูมิประเทศที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี การรุกด้วยรถถังจำเป็นต้องมียุทโธปกรณ์อื่น ๆ คอยสนับสนุน รถถังทำหน้าที่ในการรุก และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ทำหน้าที่รองลงไป

กองทัพเยอรมันตอบรับแนวคิดของเขาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการจัดตั้งกองพลยานเกราะ แม้จะมีนายพลหัวเก่าบางคนที่ยังคงมองว่าแนวคิดของเขาเป็นเรื่องเพ้อฝัน กูเดรีอันก็ยังคงมุ่งเสนอความคิดที่จะทำการรบโดยใช้รถถังและยานเกราะในแบบฉบับของเขา

สมัยนาซีเยอรมนี

[แก้]
กูเดรีอันระหว่างเดินทางไปแนวรบด้านตะวันออก 1943

ในปี 1933 เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นดำรงตำแหน่งฟือเรอร์ กูเดรีอันได้มีโอกาสฟังสุนทรพจน์ของฮิตเลอร์ในงานแสดงรถยนต์ในกรุงเบอร์ลิน เขามีความประทับใจมากที่ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะยกเลิกภาษีรถยนต์ และสร้างทางหลวงเอาโทบาน รวมทั้งจะสร้างรถยนต์ราคาย่อมเยาสำหรับประชาชน นั่นคือรถฟ็อลคส์วาเกิน นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังแต่งตั้งพลเอก แวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม บล็อมแบร์คเป็นบุคคลหัวสมัยใหม่ ตรงกับแนวทางการพัฒนาการรบโดยใช้รถถังเป็นหลักของกูเดรีอัน นอกจากนั้น ฮิตเลอร์ซึ่งเป็นทหารเก่าก็สนใจเรื่องการเคลื่อนย้ายกำลังพลและการใช้ยานเกราะในการรบอยู่มากพอควร ในห้วงเวลานี้เองที่เยอรมันได้ร่วมกับสหภาพโซเวียตทำการพัฒนารถถังอย่างลับ ๆ ในดินแดนของโซเวียต

ในเดือนเมษายน 1933 กูเดรีอันได้รับการเลื่อนยศเป็นพันเอก และสองเดือนต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองบัญชาการทหารยานเกราะ และมีโอกาสได้นำเสนออาวุธยุทโธปกรณ์ที่เยอรมันพัฒนาขึ้นต่อฮิตเลอร์เป็นครั้งแรก เขาได้สาธิตการเข้าตีของหมวดจักรยานยนต์, หมวดต่อสู้รถถัง, หมวดรถถังพันท์เซอร์ 1, หมวดรถหุ้มเกราะเบา และหมวดยานเกราะลาดตระเวน ฮิตเลอร์ประทับใจการสาธิตของกูเดรีอันอย่างมาก ถึงกลับกล่าวว่า "นี่แหละสิ่งที่ฉันต้องการ นี่แหล่ะสิ่งที่ฉันอยากจะมี" ตั้งแต่นั้นมาการฝึกจู่โจมโดยหน่วยรถถังก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง แม้ระยะแรกจะเป็นเพียงการใช้รถถังจำลองจากไม้ในการฝึกก็ตาม แต่ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสยังคงมองรถถังและยานเกราะเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนทหารราบเท่านั้น

ในช่วงเดือนมีนาคม 1938 กูเดรีอันในยศพลโทเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการในการส่งกำลังเข้าผนวกประเทศออสเตรีย กองพลยานเกราะที่ 2 ของเขาใช้เวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมงกับระยะทาง 670 กิโลเมตรถึงกรุงเวียนนา ซึ่งในการเคลื่อนพลครั้งนี้ เขาพบจุดอ่อนของกองพลยานเกราะ นั่นคือการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับรถถัง ทำให้ต้องประสบปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างเดินทาง นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุงโดยเฉพาะน้ำมัน ถือเป็นอุปสรรคใหญ่อีกข้อหนึ่ง เนื่องจากรถบรรทุกน้ำมันไม่สามารถตามขบวนยานเกราะได้ทัน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ภายหลังการผนวกออสเตรีย ฮิตเลอร์ตระหนักดีว่ากองพลยานเกราะมีความสำคัญเพียงใด ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้จัดตั้งกองพลยานเกราะที่ 4 ขึ้นเพิ่มเติม พร้อมทั้งเตรียมการจัดตั้งกองพลยานเกราะที่ 5 และกองพลเบาที่ 4 ทำให้ขีดความสามารถของกองพลยานเกราะเยอรมันเพิ่มสูงขึ้นจนทิ้งห่างชาติอื่น ๆ อย่างขาดลอย

ในการบุกฝรั่งเศส หน่วยยานเกราะของเขาและของร็อมเมิลเลือกบุกต่อเข้าไปฝรั่งเศสโดยไม่สนคำสั่งของพลเอกไคลสท์ที่ให้หยุดรอทหารราบ กูเดรีอันใช้เวลาไปถึงเซด็องเพียงสามวัน(จากสองสัปดาห์) กองทัพที่หกในเซด็องยอมจำนน เขารีบรุดนำหน่วยยานเกราะหน้าข้ามแม่น้ำเมิซและมุ่งหน้าไปที่ช่องแคบอังกฤษ

ยศทหาร

[แก้]
  • กุมภาพันธ์ 1907 : นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • มกราคม 1908 : ร้อยตรี (Leutnant)
  • พฤศจิกายน 1914 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • ธันวาคม 1915 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • กุมภาพันธ์ 1927 : พันตรี (Major)
  • กุมภาพันธ์ 1931 : พันโท (Oberstleutnant)
  • เมษายน 1933 : พันเอก (Oberst)
  • สิงหาคม 1936 : พลตรี (Generalmajor)
  • กุมภาพันธ์ 1938 : พลโท (Generalleutnant)
  • พฤศจิกายน 1938 : พลเอกทหารยานเกราะ (General der Panzertruppe)
  • กรกฎาคม 1940 : พลเอกอาวุโส (Generaloberst)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Frank N. Magill (5 March 2014). The 20th Century Go-N: Dictionary of World Biography. Routledge. pp. 1490–. ISBN 978-1-317-74060-5.
  2. Hargreaves 2009, p. 29.
  3. Hart 2006, p. 16.
ก่อนหน้า ไฮนทซ์ กูเดรีอัน ถัดไป
พลโท อาด็อล์ฟ ฮ็อยซิงเงอร์ เสนาธิการกองทัพบก
(กรกฎาคม 1944 – มีนาคม 1945)
พลเอกทหารราบ ฮันส์ เครพส์
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ไฮนทซ์ กูเดรีอัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?