For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ไพศาล พืชมงคล.

ไพศาล พืชมงคล

ไพศาล พืชมงคล

ไพศาล พืชมงคล (9 ตุลาคม พ.ศ. 2490[1] — ) เป็นกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) อุปนายกและเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน [2]อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)[3] นักกฎหมายชาวไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นักเขียนเจ้าของนามปากกา เรืองวิทยาคม

ประวัติ

[แก้]

ไพศาลเกิดที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในครอบครัวเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน บิดาชื่อนายอำไพ พืชมงคล มารดาชื่อนางประภา พืชมงคล เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 7 คน ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์[ต้องการอ้างอิง] แล้วสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[4] และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบการศึกษาจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ตามลำดับ ในปี พศ ๒๕๓๒ ได้เข้าเรียนและจบหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(รุ่น ๓๒)

ในขณะเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไพศาลได้รับรางวัลแชมป์หมากฮอสในการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน และในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไพศาลเป็นโฆษกพรรคเสรีตราชูของนักศึกษา และเป็นแชมป์หมากฮอส 5 มหาวิทยาลัย ได้รับประทานรางวัลชนะเลิศ จากเสด็จในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และได้แต่งตำราหมากฮอสฉบับมาตรฐาน รวมทั้งได้เป็นครูฝึกสอนหมากฮอสให้แก่ชมรมกีฬาในร่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่หลายปี

ไพศาลเริ่มเข้าทำงานที่บริษัทสากลสถาปัตย์ของเกียรติ วัธนเวคิน ตั้งแต่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2516 ไพศาลย้ายไปทำงานที่สำนักงานทนายความธรรมนิติของประดิษฐ์ เปรมโยธิน และได้รับช่วงดำเนินงานต่อ ในระหว่างที่ทำงานในธรรมนิติ ไพศาลได้นำรูปแบบของบริษัทจำกัดเข้ามาใช้กับสำนักงานธรรมนิติ ซึ่งให้ทนายความประจำสำนักงานมีเงินเดือนประจำ แทนที่ได้จากส่วนแบ่งจากการว่าความตามธรรมเนียมเดิม ในระหว่างนั้น ไพศาลเคยเป็นแกนนำเดินขบวนคัดค้านการขึ้นค่ารถเมล์ในสมัยรัฐบาลถนอม กิตติขจร เคยเข้าร่วมในการชุมนุมต่อต้าน "กฎหมายโบดำ"[5] และเคยเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมเดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลา และได้แต่งเพลงที่มีชื่อเสียงมากบทเพลงหนึ่งชื่อว่า ศักดิ์ศรีกรรมกร โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการรณรงค์ให้โค่นล้มระบบเจ้าขุนมูลนาย

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ไพศาลยังคงเคลื่อนไหวในเมือง รับช่วงงานจากทองใบ ทองเปาด์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งหลบหนีการปราบปรามไปเข้าร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยได้รับเป็นทนายความให้แก่คณะนักศึกษาและประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้รับเชิญจากคณะกรรมการทหารภาคอีสานขึ้นไปเยี่ยมฐานที่มั่น พร้อมกับคณะอีกหลายคนที่พื้นที่กาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2520

ไพศาลเคยว่าความในคดีความสำคัญเช่น คดียึดธนาคารแหลมทอง การรับเป็นทนายความให้แก่คณะทหารในคดีกบฏเมษาฮาวาย และให้แก่นายสุภาพ พัตรอ๋อง ผู้นำกรรมกรอ้อมน้อย ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2529 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มอบหมายให้เป็นหนึ่งในเจ็ดคนของคณะทำงานยกร่างหลัก สูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ ร่วมเอกชน (ปรอ.) และได้เข้าเรียนในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ในรุ่นที่ 2 (วปอ. 32)[ต้องการอ้างอิง]

ไพศาลได้เข้าสู่ตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเมืองครั้งแรกด้วยการเป็นคณะผู้บริหารองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่งต่อเนื่องมาอีกหลายปี

ต่อมาได้ร่วมงานกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธโดยเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาโครงการ C3I โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง[ต้องการอ้างอิง] เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ดำรงตำแหน่ง 22 มี.ค. 2539 - 21 มี.ค. 2543)

ไพศาลยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพการแพทย์แผนไทย[ต้องการอ้างอิง] และเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง] ในทางสังคมและเศรษฐกิจ มีตำแหน่งเป็น เลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน[6]

หลังร่วมงานกับพลเอกชวลิตแล้ว ไพศาลได้ร่วมงานกับกลุ่มผู้จัดการ โดยเรียบเรียงหนังสือ "สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ" (ใช้นามปากกา "เรืองวิทยาคม") และเขียนคอลัมน์ "ข้างประชาราษฎร์" (ใช้นามปากกา "สิริอัญญา" อันเป็นนามของเพื่อนรักสมัยยังอยู่อำเภอระโนต[ต้องการอ้างอิง]) ผลงานนี้ทำให้ไพศาลได้รับประทานรางวัลนักเขียนบทความดีเด่นประจำปี 2552 จากหม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

จนกระทั่งเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไพศาลถูกเรียกตัวโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อทำหน้าที่ร่างประกาศของคณะ พร้อมกับมีชัย ฤชุพันธุ์ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ดำรงตำแหน่ง 12 ต.ค. 2549 - 2 มี.ค. 2551)

หลังจากนี้ยังคงทำหน้าที่เป็นนักเขียนบทความให้แก่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หนังสือพิพม์แนวหน้าและเป็นวิทยากรอิสระให้กับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ผู้จัดการ สุวรรณภูมิ และช่อง ๑๓ สยามไท และเป็นบรรณาธิการเรื่องโหราศาสตร์ ให้แก่เว็บไซต์ ไพศาลวิชัน.คอม ด้วย

ชีวิตส่วนตัวสมรสแล้ว มีบุตร 2 คน ยามว่างชอบอ่านหนังสือ เล่นหมากฮอส หมากรุก ปลูกต้นไม้ และศึกษาพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ไพศาลก็สนใจในวิชาโหราศาสตร์ เคยเขียนพยากรณ์สงกรานต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการอยู่หลายปี

ผลงานหนังสือ

[แก้]
  • ไพศาล พืชมงคล. แนวการเดินหมากฮอส. กรุงเทพฯ : เกษมบรรณกิจ, 2528. (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2513)
  • ไพศาล พืชมงคล. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, 2533.
  • ไพศาล พืชมงคล. ว่าด้วยการสืบพยาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธรรมนิติ, 2536. ISBN 974-8000-51-6 (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2531)
  • สิริอัญญา. เหลียวหลังแลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วันชนะ, 2543. ISBN 974-85779-0-2
  • ไพศาล พืชมงคล. อายุวัฒนะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วันชนะ, 2545. ISBN 974-90796-0-4 (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2545)
  • เรืองวิทยาคม. สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2546.
  • เรืองวิทยาคม. ศิษย์สมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมนิติ, 2551. ISBN 978-974-7532-85-2
  • สิริอัญญา. วิมุตตะมิติ มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : Oh My God, 2553. ISBN 978-616-90656-0-9 (พิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2549)
  • เรืองวิทยาคม "สามก๊ก ขงเบ้ง พญามังกรแห่งโงลังกั๋ง"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ประวัติและผลงานของสมาชิกวุฒิสภา: นายไพศาล พืชมงคล เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. คำสั่งสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-11-15.
  4. สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายไพศาล พืชมงคล รุ่น 27[ลิงก์เสีย].
  5. "กฎหมายโบดำ" หมายถึง กฎหมายที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จะออกใช้เพื่อครอบงำอำนาจตุลาการ เนื่องจากอำนาจตุลาการเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งหลวงจำรูญเนติศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น เป็นผู้เสนอกฎหมายนี้ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลา 3 วัน รัฐบาลก็ยอมถอนร่างกฎหมายนี้
  6. สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน, ประกาศที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

สื่อวิจารณ์

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ไพศาล พืชมงคล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?