For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โลมาแม่น้ำแอมะซอน.

โลมาแม่น้ำแอมะซอน

โลมาแม่น้ำแอมะซอน
โลมาแม่น้ำแอมะซอนกำลังกินปลาซัคเกอร์
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
อันดับฐาน: วาฬและโลมา
Cetacea
วงศ์: วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน
Iniidae
สกุล: วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน
Inia
(Blainville, 1817)
สปีชีส์: Inia geoffrensis
ชื่อทวินาม
Inia geoffrensis
(Blainville, 1817)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของโลมาแม่น้ำแอมะซอน

โลมาแม่น้ำอะเมซอน หรือ โลมาสีชมพู (อังกฤษ: Amazon river dolphin, Pink dolphin; โปรตุเกส: Boto, Boutu[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Inia geoffrensis; ออกเสียง: /อิ-เนีย-จี-โอฟ-เฟรน-สิส/[4]) เป็นโลมาแม่น้ำชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Inia และวงศ์ Iniidae

โลมาแม่น้ำแอมะซอน จัดเป็นโลมาแม่น้ำ หรือโลมาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดแท้ ๆ โดยที่ไม่พบในทะเล มีความยาวประมาณ 1.53-2.4 เมตร (5.0-7.9 ฟุต) ขึ้นอยู่กับชนิดย่อย ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวที่ใหญ่ที่สุด เป็นตัวเมียที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร (8.2 ฟุต) และน้ำหนักตัว 98.5 กิโลกรัม (217 ปอนด์) ขณะที่ตัวผู้ที่ใหญ่ที่สุด ยาว 2.0 เมตร (6.6 ฟุต) และน้ำหนักตัว 94 กิโลกรัม (210 ปอนด์) นอกจากนี้แล้วกระดูกสันหลังบริเวณคอมีความยืดหยุ่นจึงสามารถทำให้หันหัวได้ 180 องศา ซึ่งความยืดหยุ่นตรงนี้เองที่ทำให้เป็นสิ่งสำคัญในการว่ายน้ำผ่านต้นไม้ต่าง ๆ และวัสดุกีดขวางต่าง ๆ ในป่าน้ำท่วม

นอกจากนี้ยังมีจะงอยปากยาวซึ่งฟันมี 24 ถึง 34 คู่ ฟันเป็นรูปทรงกรวยและมีฟันกรามด้านในของขากรรไกร มีผิวหนังสีขาวอมชมพูเรื่อ ๆ ตามีขนาดเล็ก[5][6][7]

โลมาแม่น้ำแอมะซอน กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำแอมะซอน, แม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำลาพลาตา, แม่น้ำปารานา, แม่น้ำโทคันตินส์ เป็นต้น จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ

  • I. g. geoffrensis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป ในแม่น้ำแอมะซอนและโทคันตินส์
  • I. g. humboldtiana พบในแม่น้ำโอริโนโก
  • I. g. boliviensis พบในโบลิเวีย มีหัวเล็กกว่า มีลำตัวกว้างกว่า และมีจำนวนฟันมากกว่า ในบางข้อมูลจัดเป็นชนิดใหม่[4][3]

มีทฤษฎีเกี่ยวกับการที่เข้ามาอาศัยอยู่ในน้ำจืดของโลมาแม่น้ำแอมะซอน ว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทะเลด้านตะวันออกและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เชื่อมติดกัน ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ทางที่เชื่อมกันอยู่จึงถูกตัดขาดเนื่องจากมีเทือกเขาแอนดีสปรากฏขึ้นมา โลมาที่อาศัยอยู่ในทะเลแถบนี้จึงไม่สามารถว่ายน้ำกลับทะเลได้ นานวันเข้าจึงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จึงอาศัยอยู่ในแม่น้ำแอมะซอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[8]

โลมาแม่น้ำแอมะซอน กินปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร แม้กระทั่งปลาปิรันย่า มีอุปนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตรกับมนุษย์เหมือนโลมาทั่วไป ในนิทานพื้นบ้านของชนพื้นเมือง เชื่อว่า โลมาแม่น้ำแอมะซอนสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ โดยจะแปลงร่างเป็นชายหนุ่มรูปงาม และเข้ามาล่อลวงหญิงสาวในหมู่บ้าน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอาถรรพ์ หากนำน้ำมันของโลมามาใช้จุดตะเกียงจะทำให้ตาบอด แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล่าแต่จากความเชื่อเหล่านี้เองที่ทำให้โลมาแม่น้ำแอมะซอนไม่ถูกคุกคามจากชนพื้นเมือง[9]

แต่ปัจจุบันถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย อันเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าและมลภาวะเป็นพิษในน้ำ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เอโบ โมราเลส ประธานาธิบดีโบลิเวีย ได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองโลมาแม่น้ำแอมะซอนไว้เป็นสมบัติของชาติ[10]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. da Silva, V.; Trujillo, F.; Martin, A.; Zerbini, A.N.; Crespo, E.; Aliaga-Rossel, E.; Reeves, R. (2018). "Inia geoffrensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T10831A50358152. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T10831A50358152.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ itis
  4. 4.0 4.1 โลกาภิวัฒน์ 03/11/53 จากไทยรัฐ
  5. http://acsonline.org/factpack/Boto.htm เก็บถาวร 2012-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Cetacean Society Fact Sheet. "Boto (Amazon river dolphin)". American Cetacean Society. Retrieved December 6, 2011.]
  6. Robin C. Best & Vera M.F. da Silva (1993). "Inia geoffrensis". Mammalian Species (The American Society of Mammalogists) (426): 1–8.
  7. "Animal Info - Boto (Amazon river dolphin)". Animal Info - Endangered Animals. June 7, 2006. Retrieved December 6, 2011.
  8. หน้า 163, ผจญภัยในป่าอะเมซอน โดย ชุตินันท์ เอกอุกฤษฎ์กุล (สำนักพิมพ์ H.N.Group , 2549) ISBN 9789749909652
  9. แอมะซอน สายน้ำแห่งโลกเขียว
  10. Bolivia enacts law to protect Amazon pink dolphins จาก BBC

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โลมาแม่น้ำแอมะซอน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?