For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โลมาหลังโหนก.

โลมาหลังโหนก

โลมาหลังโหนก
ขณะกระโดดขึ้นเหนือน้ำในทะเล
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Cetacea
วงศ์: Delphinidae
สกุล: Sousa
สปีชีส์: S.  chinensis
ชื่อทวินาม
Sousa chinensis
(Osbeck, 1765)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีน้ำเงิน)
ชื่อพ้อง[2]
  • Sousa borneensis (Lydekker, 1901)
  • Sousa huangi Wang Peilie, 1999
  • Steno lentiginosus Gray, 1866
  • Stenopontistes zambezicus Miranda Ribiero, 1936
  • Delphinus chinensis Osbeck, 1765
  • Delphinus sinensis Desmarest, 1822
  • Delphinus lentiginosus Owen, 1866
  • Steno chinensis (Osbeck, 1765)
  • Sotalia borneensis Lydekker, 1901

โลมาหลังโหนก หรือ โลมาขาวเทา[3] หรือ โลมาเผือก หรือ โลมาสีชมพู[4] (อังกฤษ: Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sousa chinensis[2]; จีน: 中華白海豚; พินอิน: Zhōnghuá bái hǎitún) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae)

มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูงรองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาว หรืออย่างน้อยขาวในบางส่วน หรือสีชมพู ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่เป็นสีของหลอดเลือดที่ช่วยให้ไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป และมีส่วนหลังที่เป็นสันนูนเหมือนโหนก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ[4]

ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้ยาวประมาณ 3.2 เมตร ขณะที่ตัวเมียยาว 2.5 เมตร และลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 40 ปี โลมาหลังโหนกเมื่ออายุมากขึ้นสีชมพูตามตัวจะยิ่งเข้มขึ้น และส่วนด้านท้องและด้านล่างลำตัวจะเป็นจุด และมีสีที่สว่างกว่าลำตัวด้านบน [5] [4]

กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งหรือแหล่งน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณอินโดแปซิฟิก พบมากที่สุด คือ อ่าวรีพัลส์ หรือเกาะลันเตา ที่ฮ่องกง ที่มีจำนวนประชากรในฝูงนับร้อย โดยมากชายฝั่งทะเลที่โลมาหลังโหนกอาศัยอยู่นั้นมักจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ ๆ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น มีอุปนิสัยอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร จึงพบเห็นตัวได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ[4]

กินปลาทั้งตามชายฝั่งและในแนวปะการังเป็นอาหารหลัก รวมทั้งหมึก, กุ้ง, ปู ออกหาอาหารเป็นฝูง โดยใช้คลื่นเสียง เป็นโลมาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาฝึกกันตามสวนน้ำหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน [5] [6]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reeves, R.R., Dalebout, M.L., Jefferson, T.A., Karczmarski, L., Laidre, K., O’Corry-Crowe, G., Rojas-Bracho, L., Secchi, E.R., Slooten, E., Smith, B.D., Wang, J.Y. & Zhou, K. (2008). Sousa chinensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 24 March 2009.
  2. 2.0 2.1 จาก itis.gov
  3. โลมา ๒ น.ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "โลมาสีชมพู พระเอกแห่งทะเลขนอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-14. สืบค้นเมื่อ 2012-12-11.
  5. 5.0 5.1 โลมาเผือก, หลังโหนก
  6. กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์ โลมาและปลาวาฬ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sousa chinensis ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โลมาหลังโหนก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?