For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว).

โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)

โรงเรียนพยุหะวิทยา
Phayuhawittaya School
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนพยุหะวิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ว.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญ สิกฺขา จรณํ กิตฺติ สุขาวหํ
(การศึกษาและความประพฤติดี เป็นบ่อเกิดแห่งเกียรติและความสุข)
สถาปนา12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งพระธรรมคุณาภรณ์ ( เช้า ฐิตปัญโญ )
หน่วยงานกำกับสช.[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษาปฐมวัย , ประถมศึกษา , มัธยมศึกษา,ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปัจจุบันยุติการรับสมัคร)
สี   เหลือง - แดง
เว็บไซต์http://www.payuha.ac.th

โรงเรียนพยุหะวิทยา (อังกฤษ: Phayuhawittaya School ตัวย่อ : P.W.S) อักษรย่อ พ.ว. เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการสอนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย(ค่าเทอม)ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนปฐมวัย ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ – คณิต มัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลป์ภาษา [2]ในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดรับสมัครเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเปิดการรับสมัครครั้งแรก และปิดการรับสมัครตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 และเปิดการสอนสุดท้ายในปีการศึกษา 2557 สืบเนื่องเหตุผลจากการที่มีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนพยุหะวิทยา ( วัดเขาแก้ว ) ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[3] เดิมนายประเสริฐ เกษมรัติ เป็นเจ้าของได้ขออนุญาตตั้งขึ้นที่วัดอินทรารามเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาได้มอบถวายกิจการของโรงเรียนแก่วัดเขาแก้ว ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490 โดยใช้ชื่อโรงเรียนพยุหะวิทยาตามเดิม ใช้อาคารรัตนคีรีวิทยากร เป็นอาคารเรียนหลังแรก มีพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) เป็นเจ้าของ   พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ) เป็นผู้จัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ภิกษุ สามเณรได้ศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนพระปริยัติธรรม และพัฒนากิจกรรมอันเป็นสาระในวัดเขาแก้วและท้องถิ่นควบคู่กันไปอย่างไม่ขาดสาย

ยุคที่ 1 ยุคพระธรรมไตรโลกาจารย์

[แก้]

ท่านเจ้าคุณธรรมไตรโลกาจารย์ ( ยอด อักกวังโส ป.ธ.6 ) เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้ริเริ่มก่อตั้งความเจริญรุ่งเรืองไพศาลแห่งการศึกษาและการคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์จนเจริญทั่วจังหวัด การศึกษาและการคณะสงฆ์ที่เจริญมาถึงทุกวันนี้เป็นผลงานตลอด 22 ปีของท่านเจ้าคุณ ต่อมาเห็นว่าภิกษุและสามเณรเรียนแต่ปริยัติธรรมอย่างเดียว ความรู้ไม่กว้างขวางพอ จึงรับโอนโรงเรียนพยุหะวิทยา มาจาก นายประเสริฐ เกษมรัติ ที่ตั้งอยู่ที่วัดอินทารามมาเป็นโรงเรียนของวัดเขาแก้ว เมื่อปลายปี พ.ศ. 2490 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามใบอนุญาต ที่ 10/2490 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ใช้ตึกรัตนคีรีวิทยากรเป็นที่เรียนแห่งแรก คณะกรรมการโรงเรียนสนับสนุนให้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมถึงชั้นมัธยมปลายได้รับอนุมัติ จากสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามหนังสือที่ 73/2491 ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยใช้ศาลา และกุฏิเป็นที่เรียน ระยะหลังนายเกษม บุญศรี ส.ส.นครสวรรค์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายเรื่องงบประมาณสร้างอาคารเรียนได้งบประมาณ 420,000 บาท และให้โรงเรียนการช่างนครสวรรค์สร้างอาคารเรียนสองชั้นหกห้องเรียนจนแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2500 จึงย้ายตึกรัตนคีรีวิทยากรไปเรียนที่ใหม่ เป็นสถานที่เรียนในปัจจุบันนี้

ยุคหลังปี พ.ศ. 2541 อาจารย์สมบุญ  มากบุญ

[แก้]

มีพระครูนิทัศนพลธรรม (ต่อ มากบุญ) เป็นผู้รับใบอนุญาต ต่อจากพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) พระครูนิทัศ์ธรรมเวที (ปลด ศรีพงษ์สุทธิ์)  เป็นผู้จัดการ ต่อจากพระธรรมคุณาภรณ์(เช้า ฐิตปัญโญ) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 นายสมบุญ มากบุญ เป็นผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายหน้าที่ จากผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ให้พัฒนาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านกีฬาและนันทนาการ รวมไปถึงดนตรี-นาฏศิลป์ ซึ่งท่านได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อกิจการงานนักเรียนเป็นอันมาก ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงที่โด่งดังเป็นอันดับต้นๆ ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งจังหวัดนครสวรรค์ รวมไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ ท่านก็สามารถที่จะนำมานักเรียนของโรงเรียนไปพิชิตรางวัลได้อยู่เสมอๆ และทุกครั้งที่มีการมอบวุฒิบัตรในโรงเรียน ท่านจะมีคำคมคำหนึ่งที่ติดปากท่านมาตลอดว่า การเป็นแชมป์น่ะยาก แต่การรักษาแชมป์นั้นยากกว่าและวลีที่ทุกคนจดจำ นั่นคือ"สวัสดีคุณครูทุกท่าน และลูกๆ พ.ว.ที่รักทุกคน" ท่านมักจะตักเตือนนักเรียนด้วยความรักและเมตตา และเรียกนักเรียนทุกๆ คนว่าลูก ทำให้นักเรียนรักและเคารพท่านเป็นอันมาก โรงเรียนก็พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น

  • การสร้างสระว่ายน้ำแห่งแรกของตำบลพยุหะคีรี
  • การสร้างบ้านบอลเพื่อพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียน
  • การสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป
  • การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกค์ที่มีการค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ
  • การสร้างลานอเนกประสงค์ ศุภชัย อัมพุช เพื่อให้นักเรียนได้เข้าแถวปฏิบัตกิจกรรมในช่วงเช้าอย่างสบาย การก่อสร้างศาลาบนเขา เป็นที่ประดิษฐูนพระเพื่อให้นักเรียนกราบไหว้บูชา
  • การบูรณะหอประชุม ให้เป็นห้องติดแอร์ที่เหมาะแก่การประชุมทุกรูปแบบ
  • สร้างน้ำตกหน้าโรงเรียนเพื่อพัฒนาทัศนียภาพของโรงเรียน
  • การพัฒนาวงดุริยางค์ ให้กลายเป็นวงโยธวาทิต การพัฒนานาฏศิลป์ไทยของโรงเรียนให้เป็นการแสดงโขนระดับจังหวัด ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกหัดรำกลองยาวจนดังไกลไปทั้วประเทศ พัฒนาวงดนตรีไทยให้โด่งดังในกลุ่มโรงเรียนการกุศลขอวงวัดในพระพุทธศาสนา
  • ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทางด้านวิชาการ เพื่อแข่งขันระดับจังหวัดและระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งนักเรียนลงแข่งขันงานศิลปะหัตถกรรม

ยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555—ปัจจุบัน)

[แก้]

ปัจจุบันมี ผู้รับใบอนุญาต,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ได้มอบหมายหน้าที่ นางสมพิศ ให้เข้ามาบริหารงานฝ่ายวิชาการ เป็นผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโรงเรียน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การก่อสร้างอาคารรับเลี้ยงเด็กก่อนวัย เพื่อเตรียมเข้าสู่ชั้นปฐมวัย ปรับปรุงทัศนียภาพภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีการเพิ่มเติมสายงานของบุคลากร โดยท่านมีความประสงค์ให้ นักเรียนมีความรู้และพัฒนาคุณธรรม เพื่อให้นักเรียนก้าวไปเป็นเยาวชนที่ดีของชาติในอนาคต มีการเพิ่มรายวิชาการสอนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมหลักสูตรอาเซียนศึกษา ปรับการเรียนให้ผู้เรียนมีการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับความรู้ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาในด้านของศักยภาพของนักเรียน ทางโรงเรียนได้เพิ่มการสนับสนุนนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดี ให้ได้รับการศึกษาที่ตรงความต้องการ มีการเพิ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเพื่อใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน มีการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีการศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ตลอดเวลา รวมไปถึงการปรับทางด้านระเบียบการศึกษา ผู้ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมจะได้รับการตักเตือนและติดทัณฑ์บน เพื่อไม่ให้นักเรียนได้ทำผิดซ้ำอีก มีมาตราการในการป้องกันนักเรียนจากอบายมุขต่างๆ มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันนักเรียนจากผู้ไม่หวังดีภายนอก มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนในการร่วมกันดูแลโรงเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยความรักโรงเรียนแก่นักเรียน มีการเพิ่มเติมหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนพร้อมในการก้าวสู่อาเซียน สนับสนุนนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อฝึกฝน และพัฒนาทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันต่อความสามารถที่นักเรียนมี โดยได้มีทุนการศึกษาจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป ซึ่งมอบโดยครอบครัวคุณศุภชัย อัมพุช ครอบครัวอัครวงศ์ และบริษัท ไทยซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด ซึ่งมอบทุนการศึกษาเพื่อให้เด็กนักเรียนที่ฐานะทางบ้านไม่สามารถที่จะหาค่าใช้จ่ายในการศึกษเล่าเรียนได้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสในการเรียนรู้

สิ่งปลูกสร้าง

[แก้]

อาคารเรียน 7 หลัง

[แก้]

ได้แก่

  1. อาคาร 1 อาคารสธ อาคารเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 เป็นอาคารเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีห้องปฏิบัตภายในตึก 3 ห้องด้วยกัน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ( ห้องซาวด์แล็บ ) ห้องลูกเสือ และห้องปฏิบัติการด้านดุริยางค์ระดับประถม
  2. อาคาร 2 อาคารเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เป็นอาคารที่ตั้งของห้องธุรการ - การเงิน และห้องทำงานของท่านผู้อำนวยการ ห้องประชุมพลธมโม มีห้องปฏิบัติการ 5 ห้อง ได้แก่ ห้องดุริยางค์หลัก ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา ห้องศิลปะ และห้องเก็บเอกสารการสอน แล้วยังเป็นตึกที่ตั้งของธนาคารโรงเรียน ( ธนาคารออมสิน )
  3. อาคาร 3 อาคารนิทัศพลธรรม 80 อาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 เป็นอาคารเรียนที่ตั้งของห้องประชุมหลัก ห้องปฏิบัติงานท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ห้องประกาศข่าวสาร และห้องปฏิบัติการ 5 ห้อง ได้แก่ ห้องสมุดอี-ไลเบอร์รี่(ปัจจุบันเป็นห้องพักครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ( ซาวด์แล็บ ) ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องจริยธรรม และห้องวิชาการ
  4. อาคาร 4 อาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4–6และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปัจจุบันเป็นห้องวิชาการและห้องพักครู) เป็นอาคารเรียนที่มีห้องปฏิบัติการ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องเรียนสีเขียว ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกค์ และห้องพยาบาลและห้องปฏิบัติงานสภานักเรียน
  5. อาคาร 5 อาคารอนุสรณ์สถาน 50 อาคารเรียนระดับปฐมวัย (บูรณะเสร็จสิ้นในปี 2561)
  6. อาคาร 6 (216ล) อาคารเรียนระดับปฐมวัย
  7. อาคาร 10 (216ล) อาคารเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน ฯ

อาคารทั่วไป

[แก้]

ได้แก่

  1. อาคารหอประชุมนิทัศนพลธรรม 72
  2. อาคารคอมพิวเตอร์และโรงอาหาร
  3. ตึกนิสิตคุณากร เป็นห้องนาฏศิลป์และห้องดนตรีไทย
  4. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ 72 พรรษา
  5. อาคารนิสิตคุณากร อาคารรับดูแลเด็กก่อนปฐมวัย
  6. อาคารศุภชัย บุญเลี้ยง อัมพุช อาคารห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ทีทันสมัยที่สุดในอำเภอพยุหะคีรี
  7. ห้องพัสดุ
  8. สหกรณ์โรงเรียนพยุหะวิทยา
  9. ลานอเนกประสงค์ศุภชัย อัมพุช
  10. ศูนย์กีฬาและนันทนาการศุภชัย บุญเลี้ยง อัมพุช
  11. อาคารสระว่ายน้ำ
  12. ห้องปกครองและประชาสัมพันธ์

สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนพยุหะวิทยา

[แก้]
  1. ค่ายลูกเสือโรงเรียนพยุหะวิทยา[4]
  2. สนามฟุตบอลและกรีฑาโรงเรียนพยุหะวิทยา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพยุหะวิทยา ( วัดเขาแก้ว )

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายโกสินทร์ กัณหเนตร พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2492 (2ปี)
2 นายวิมล พงษ์ประดิษฐ์ พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2495 (3ปี)
3 นายประจวบ สุริยา พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2502 (7ปี)
4 นายฉะอ้อน อินทรวิชัย พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2503 (1ปี)
5 ผศ.บุญช่วย มนุญญวงษ์ พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2505 (2ปี)
6 นายวิสุทธิ์ พิสิทธิจำนง พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2508 (3ปี)
7 นายวิธาน เกิดปรุง พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2509 (1ปี)
8 รศ.มาณพ พราหมณโชติ พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2510 (1ปี)
9 นายทองเอื้อม เจริญสม พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2511 (1ปี)
10 นายไพฑูรย์ สุขศรีงาม พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2512 (1ปี)
11 นายบรรจง สุขเปรม พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2513 (1ปี)
12 นายปัญญา อยู่มาก พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2513 (6 เดือน)
13 ผศ.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2514 (1ปี)
14 พระครูนิทัศนพลธรรม ( ต่อ มากบุญ ) พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2536 (22ปี)
15 นายถมยา เย็นสุข พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2541 (5ปี)
16 นายสมบุญ มากบุญ พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2555 (14ปี)
17 นางสมพิศ สุขศรีชวลิต พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2561 (6ปี)
18 นางวรรณทิวา หมวกแก้ว พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน

หมายเหตุ

  • ตำแหน่งที่ได้รับนั้นเป็นตำแหน่ง ณ ปัจจุบัน
  • พระครูนิทัศนพลธรรม ( ต่อ มากบุญ ) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้มอบหมายให้นายภาณุวัฒน์ วงษ์คำภา ครูฝ่ายปกครองในสมัยนั้น ปฏิบัติหน้าที่แทนในการบริหารโรงเรียน เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดการงาน
  • นาย สมบุญ มากบุญ เป็นผู้อำนวยการเพียงคนเดียวที่ถึงแก่อนิจกรรมในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง
  • แต่เดิม ตำแหน่งผู้บริหารจะเรียกว่า ครูใหญ่ แล้วมาเปลี่ยนเป็น ผู้อำนวยการ ในสมัยของนางสมพิศ สุขศรีชวลิต
  • นาง สมพิศ สุขศรีชวลิต เดิมเข้ามาร่วมงานเป็นรองผู้อำนวยการด้านบุคคล แต่เนื่องจากนายสมบุญ เสียชีวิตในวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ทางคณะกรรมการบริหาร 4 ฝ่ายจึงมีมติให้นางสมพิศ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารงาน
  • เนื่องด้วยนาง สมพิศ สุขศรีชวลิต ได้ขอลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ด้วยเหตุผลส่วนตัว ทางคณะกรรมการโรงเรียนจึงได้มีมติแต่งตั้ง นางวรรณทิวา หมวกแก้ว ซึ่งแต่เดิมดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการ
  • เนื่องด้วยพระครูนิทัศน์ธรรมเวที(ปลด ศรีพงษ์สุทธ์) ได้มรณะภาพเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 พระครูนิทัศนพลธรรม(ต่อ มากบุญ) ผู้รับใบอนุญาต ได้แต่งตั้ง พระสมบูรณ์  ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ.เป็นผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562
  • เนื่องด้วยพระครูนิทัศนพลธรรม ผู้รับใบอนุญาต ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อให้โรงเรียนพยุหะวิทยาดำเนินการได้ต่อเนื่อง โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ขอแต่งตั้งพระสมบูรณ์ ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ. ตำแหน่งผู้จัดการ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
  • เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พระสมบูรณ์ ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ. ได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ มติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ขอแต่งตั้งพระราชรัตนเวที,ผศ. ดร.รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต จัดตั้งโรงเรียนตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

ปัจจุบัน มี พระราชรัตนเวที,ผศ. ดร.รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต มี พระครูนิเทศเขมรัตน์ (เกรียงไกร เขมปุญโญ) เป็นผู้จัดการ มี พระจักรกฤษ ฐิตวิริโย เป็นที่ปรึกษาผู้แทนผู้รับใบอนุญาต มี นางวรรณทิวา หมวกแก้ว เป็นผู้อำนวยการ

กิจกรรม-ประเพณี

[แก้]
  • กิจกรรมปฐมนิเทศ
  • กิจกรรมไหว้ครู,กิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน
  • กิจกรรมรับน้องม.ต้น – ม.ปลาย
  • กิจกรรมประจำวันสำคัญทางพระพุทรศาสนา ( วันอาสาฬหบูชา , วันวิสาขบูชา , วันมาฆบูชา , วันธรรมสวณะ , วันเข้าพรรษา - วันออกพรรษา )
  • กิจกรรมไหว้ครูดนตรีนาฏศิลป์
  • กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ
  • กิจกรรมพยุหะวิทยาเกมส์ ( กีฬาสี ) ในอดีต โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว) มีชื่อกลุ่มสี ดังนี้ มรกตจำรูญ ไพทูรย์พิษฐาน เพทายอมรมาน เกียรติตระการไพลิน
  • กิจกรรมรัตนคีรีบอล ( กินเลี้ยงศิษย์เก่า )
  • กิจกรรมถวายทักษิณานุประทานแด่พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ) 9 ตุลาคม ของทุกปี
  • กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ
  • กิจกรรมวันคริสต์มาส – กินเลี้ยงปีใหม่
  • กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการ กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
  • กิจกรรมบัณฑิตน้อย ( เลี้ยงส่งนักเรียนที่จบ อนุบาล 3 , ป.3 , ป.6 , ม.3 , ม.6 )

อ้างอิง

[แก้]

http://www.payuha.ac.th

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?