For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย.

โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย

โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย คือ โรงเรียนกวดวิชาต่าง ๆ โดยมากแล้วมีเป้าหมายเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ก็มีการกวดวิชาในลักษณะอื่น ๆ อย่าง โรงเรียนกวดวิชา สอบเป็นปลัดอำเภอ สอบเป็นผู้สอบบัญชี สอบเข้าเป็นพลตำรวจ เป็นนายร้อย แอร์โฮสเตส สอบโทเฟล เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

การกวดวิชามีลักษณะการเรียนพิเศษตามบ้าน สันนิษฐานว่า เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5[1] ยังพบบันทึกว่ามีการกวดวิชาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวจีนที่มีฐานะดีได้จ้างครูจีนมาสอนภาษาจีนให้แก่บุคคลที่จะไปศึกษาต่อในประเทศจีน[2] และจากในเอกสารโครงการวิจัยโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุถึง "โรงเรียนกลางคืน" ในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดสอนในเวลาหนึ่งทุ่มจนถึงสามทุ่ม ส่วนใหญ่เปิดสอนภาษาอังกฤษ นักเรียนที่มาเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบชิงทุนคิง (King’s Scholarship) เพื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

ในหนังสือ ประวัติการศึกษาไทย โดย ดวงเดือน พิศาลบุตร (2512) อธิบายถึงกวดวิชาในยุคแรกของไทยว่า "การเรียนการสอนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้เรียน และครูไม่คิดค่าสอนในตอนแรก แต่ในระยะต่อมาเริ่มมีการจ่ายค่าจ้างในการสอน ดังเช่นการเรียนการสอนของลูกคนจีนซึ่งจ้างครูมาสอนที่บ้านเดือนละ 8 ดอลลาร์ จึงนับได้ว่าการเรียนการสอน" จุดกำเนิดของการกวดวิชาในยุคแรกคือมาจากความต้องการของบุคคล[1] จนโรงเรียนกวดวิชามีหลักฐานชัดเจนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 มีระบุไว้ใน พ.ร.บ.โรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 มาตรา 20(5) ให้มีโรงเรียนกวดวิชา จัดเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทการศึกษาพิเศษ จนโรงเรียนกวดวิชาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปี 2520–2530 ซึ่งมีการแข่งขันสูงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต่อมาการกวดวิชาขยายวงกว้างมากขึ้นและส่งผลต่อการเรียนในโรงเรียนปกติ เด็กในปีสุดท้ายก่อนเอนทรานซ์ไม่สนใจการเรียนในชั้นปกติ และทำให้ครูในโรงเรียนเริ่มสอนในแนวกวดวิชามากขึ้น

ปี 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติหลักการให้เปิดโรงเรียนกวดวิชาได้แต่อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่รัดกุมทั้งสถานที่ ผู้บริหาร อาคาร ฯลฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2539 โรงเรียนกวดวิชาเคมีอาจารย์อุ๊ ที่ขณะนั้นมีสาขาเดียวที่สะพานควาย เกิดเหตุชุลมุน ผู้ปกครองมาต่อแย่งคิวให้บุตร จนตำรวจต้องมาระงับเหตุวุ่นวาย จากเหตุการณ์นี้เป็นต้นกำเนิดของการนำวิดีโอหรือดีวีดีมาเปิดสอนแทนครูในโรงเรียนกวดวิชาแทบทุกแห่งในปัจจุบัน หลังวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 สยามสแควร์เริ่มเป็นแหล่งของโรงเรียนกวดวิชา เนื่องจากร้านค้าในสยามสแควร์เริ่มปิดตัวลง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของที่ ได้ลดราคาค่าเช่า กลุ่มโรงเรียนกวดวิชาที่เดิมมักอยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ชุมชน และใกล้โรงเรียนดัง ๆ จึงเริ่มเข้ามามากขึ้น[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มีโครงการอาคารวรรณสรณ์ ตั้งอยูริมถนนพญาไท ถือเป็นโครงการแรกของประเทศด้วยที่โรงเรียนกวดวิชากว่า 20 สถาบันมารวมตัวกัน[1]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 ผู้กวดวิชาเริ่มเพิ่มมากขึ้นหลังหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 กระทั่งปลายเดือนมกราคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจึงได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชนประเภทโรงเรียนกวดวิชาฉบับใหม่ขึ้น ที่มีมาตรการเชิงความปลอดภัยและคุณภาพสมบูรณ์ขึ้น[2] ภายหลังที่เปลี่ยนรูปแบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นระบบแอดมิชชั่น ได้ส่งผลให้โรงเรียนกวดวิชาชื่อดังหันมาปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับระบบ โดยครอบคลุมทั้งวิชาสามัญทั่วไป การสอบความถนัดทั่วไป (GAT: General Aptitude Test) การสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT: Professional and Academic Aptitude Test) รวมถึงวิชาเฉพาะ เช่น วิชาเฉพาะแพทย์ วิชาความถนัดทางสถาปัตยกรรม และความถนัดทางภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น[4]

ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา

[แก้]

จากข้อมูลปี พ.ศ. 2561 มูลค่าตลาดของโรงเรียนกวดวิชา มีราว 8,000 ล้านบาท แม้ธุรกิจกวดวิชาเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2555 ที่มีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้นมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเริ่มชะลอตัว[5] จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในปี 2560 กลุ่มธุรกิจสถาบันกวดวิชามีรายได้รวมกันประมาณ 2,653 ล้านบาท โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือ We by The Brain[6]

สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมี อาจารย์อุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายด์ฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น ดาว้องก์ วิชาภาษาไทย, สังคมศึกษาและ ภาษาบาลี โดย อาจารย์ปิง ,เดอะติวเตอร์,เดอะเบรน (ปัจจุบัน คือ We by The Brain)[7]

เหตุผลมากที่สุดที่นักเรียนเข้ารับการกวดวิชาคือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียนของพวกเขา เหตุผลรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นคือเพื่อต้องการทราบถึงเทคนิคที่ช่วยให้คิดเร็วขึ้น ในขณะที่เหตุผลรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคือเพื่อเตรียมตัวให้ผ่านการสอบ วิชาที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกวดวิชามากที่สุดคือคณิตศาสตร์ และสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายคือภาษาอังกฤษ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหลักสูตรอยู่ที่ประมาณ 2,001–3,000 บาท[8]

ประเภท

[แก้]

การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบไว้ 7 ประเภท คือ ประเภทสอนศาสนา, ประเภทศิลปะและกีฬา, ประเภทวิชาชีพ, ประเภทกวดวิชา, ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต, ประเภทศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา), ประเภทสถาบันศึกษาปอเนาะ[9]

ในปัจจุบันสถาบันกวดวิชามีการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงระดับมหาวิทยาลัย และวัยทำงาน[10] จากข้อมูลปี พ.ศ. 2560 มีโรงเรียนกวดวิชาทั่วประเทศทั้งหมด 2,422 โรง ที่มีใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ โดยในกรุงเทพมหานคร 626 โรง และต่างจังหวัด 1,796 โรง[11] นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนกวดวิชาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร มีอยู่เฉลี่ย 3-5 แห่งต่อจังหวัด โรงเรียนประเภทนี้ มี 3 แบบ คือ เรียนแบบระยะสั้น 3-4 เดือน เรียนแบบรายชั่วโมง และ เรียนแบบกินนอนเป็นปี ยึดตามการเรียนการสอนระดับตั้งแต่ ม.3−ม.5 มีวิชาเน้นวิทยาศาสตร์ อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวมถึงการฝึกบริบทเตรียมตัวเข้าไปเป็นทหาร[12]

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 สุวรรณา เปรมโสตร์ (1 พฤศจิกายน 2551). "โรงเรียนกวดวิชา ปัจจัยที่ห้าของครอบครัวยุคใหม่". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 "เบื้องหลังเงินกวดวิชา 2,500 ล้าน : ภาพสะท้อนความอ่อนล้าระบบการศึกษาไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 11 มิถุนายน 2547. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ร.ร.กวดวิชา-ลมหายใจสยามฯ". โพซิชันนิงแมก. 5 ตุลาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ตลาดกวดวิชายังคงเติบโต : จับตา ทางเลือกกว้างขึ้นของนักเรียน และสินค้าติวเข้ามหาวิทยาลัย เป็นปัจจัยท้าทาย". โพซิชันนิงแม็ก. 26 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. ""เอ็นคอนเส็ปท์"ดัน5แผนการตลาดสู้กวดวิชาขาลง". คมชัดลึก. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ กวดวิชา". 1 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. ""เด็กไทย" เมื่อมูลค่ามาก่อนคุณค่า กวดวิชา ตลาดชอปปิ้งทางการเรียน". ผู้จัดการ. 12 มกราคม 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-06. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. Napompech, Kulkanya (2011), "What Factors Influence High School Students in Choosing Cram School in Thailand" (PDF), 2011 International Conference on Business and Economics Research, IACSIT Press, Singapore: IPEDR, 16: 90–95, doi:10.7763/IPEDR, ISSN 2010-4626, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-23, สืบค้นเมื่อ 2020-01-15
  9. "7 ประเภทของ รร.เอกชนนอกระบบ". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง. 11 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. ""กวดวิชา"หั่นราคารับเปิดเทอม ติวเตอร์ดังเอาด้วย-ดึงเด็กเต็มคลาส". ประชาชาติธุรกิจ. 4 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. "เดี่ยวนี้มีติวเตอร์-กวดวิชากันทางออนไลน์". คมชัดลึก. 6 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. "ส่อง ร.ร.กวดวิชาทหาร ใช้ช่องโหว่ ก.ม.เปิดเกลื่อน". ไทยรัฐ. 24 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?