For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรคฝุ่นหินจับปอด.

โรคฝุ่นหินจับปอด

โรคฝุ่นหินจับปอด
ปอดของผู้ป่วยโรคฝุ่นหินจับปอด
สาขาวิชาพยาธิวิทยาระบบหายใจ
ระยะดำเนินโรคโรคเรื้อรัง
สาเหตุสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหิน
การรักษาไม่มี
พยากรณ์โรคทำได้

โรคฝุ่นหินจับปอด (Silicosis) หรือ โรคปอดคนงานเหมือง (อังกฤษ: Miner's phthisis)[1] เป็นโรคฝุ่นจับปอดประเภทหนึ่ง[2] ที่เกิดจากการหายใจรับเอาอนุภาคหินเข้าไปมาก ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเกิดแผลในปอดส่วนบน โรคนี้มักนิยมพบในคนงานเหมืองหรือช่างตัดเจียรหินหรือคอนกรีต

ผู้บ่วยโรคนี้จะมีอาการหายใจลำบาก, ไอ, มีเสมหะสีดำ, เหนื่อยง่าย, เจ็บหน้าอก, มีไข้ และมีภาวะผิวคล้ำเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน บ่อยครั้งที่แพทย์มักวินิจฉัยผู้ป่วยโรคนี้ผิดพลาดว่าเป็นปอดบวมน้ำ, ปอดบวม และวัณโรค โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางรักษาให้หายได้[3] ทำได้แค่บรรเทาอาการเท่านั้น ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวโดยการสวมหน้ากากกรองฝุ่นในที่ทำงานที่มีฝุ่นหินมาก การพรมน้ำในที่ทำงานก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน

ในปี ค.ศ. 2013 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 46,000 คนทั่วโลก ซึ่งมีทิศทางลดลงจากปี ค.ศ. 1990 ที่มีผู้เสียชีวิต 55,000 คน[4]

การจำแนก

[แก้]

การจำแนกโรคฝุ่นหินจับปอด อาจจำแนกโดยแบ่งตามความหนักเบาของอาการ และระยะเวลาการแสดงโรค[5] ดังนี้:

  • ฝุ่นหินจับปอดทั่วไปแบบเรื้อรัง (Chronic simple silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินเข้าไปทีละน้อย ๆติดต่อกันเป็นระยะยาวมากกว่าสิบปี โดยทั่วไปมักแสดงโรคใน 10-30 ปีหลังเริ่มสูดรับ เป็นภาวะที่พบได้มากที่สุดในผู้ป่วยโรคนี้ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นเลย แต่สามารถตรวจพบพยาธิสภาพได้โดยการเอกซเรย์
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบเร่ง (Accelerated silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินเข้าไปในระดับปานกลางติดต่อกันระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปมักแสดงโรคใน 5-10 ปีหลังเริ่มสูดรับ ผู้ป่วยภาวะนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะลุกลามเป็นขั้นแทรกซ้อน
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบแทรกซ้อน (Complicated silicosis) ผู้ป่วยโรคฝุ่นหินจับปอดที่มีแผลในปอดมาก ๆ อาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อน อาทิ ภาวะพังผืดรุดหน้าเป็นก้อน (PMF) ซึ่งอาจมีขนาดถึง 1 เซนติเมตรหรือใหญ่กว่านั้น ซึ่งยิ่งทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากมากขึ้น
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบฉับพลัน (Acute silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินในปริมาณมาก ๆ หรือมหาศาลเข้าไปเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยทั่วไปมักจะแสดงโรคในไม่กี่สัปดาห์ถึง 5 ปีหลังการสูดรับ ผู้ป่วยภาวะนี้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าภาวะอื่น ๆ จนถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันสั้น เมื่อผู้ป่วยภาวะนี้ไปทำการเอกซเรย์ ฟิมล์เอกซเรย์ที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับผู้ป่วยโรคปอดบวม, ปอดบวมน้ำ และมะเร็งปอด ซึ่งอาจทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jane A. Plant; Nick Voulvoulis; K. Vala Ragnarsdottir (13 March 2012). Pollutants, Human Health and the Environment: A Risk Based Approach. John Wiley & Sons. p. 273. ISBN 978-0-470-74261-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2013. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
  2. Derived from Gr. πνεῦμα pneúm|a (lung) + buffer vowel -o- + κόνις kóni|s (dust) + Eng. scient. suff. -osis (like in asbestosis and silicosis, see ref. 10).
  3. Wagner, GR (May 1997). "Asbestosis and silicosis". Lancet. 349 (9061): 1311–1315. doi:10.1016/S0140-6736(96)07336-9. PMID 9142077.
  4. GBD 2013 Mortality and Causes of Death, Collaborators (17 December 2014). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385: 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. ((cite journal)): |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. NIOSH Hazard Review. Health Effects of Occupational Exposure to Respirable Crystalline Silica. DHHS 2002-129. pp. 23.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรคฝุ่นหินจับปอด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?