For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรคคูรู.

โรคคูรู

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
คูรู
(Kuru)
เด็กชนเผ่าฟอร์ป่วยโรคคูรูระยะสุดท้าย ไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ และขาดสารอาหารรุนแรง
สาขาวิชาNeuropathology
อาการร่างกายสั่น, หัวเราะโดยไม่มีสาเหตุ, การประสานงานกล้ามเนื้อค่อยๆ เสื่อม
ภาวะแทรกซ้อนInfection and pneumonia during the terminal stage.
การตั้งต้นหลายปีหรือหลายสิบปีหลังได้รับเชื้อ
ระยะดำเนินโรคมีชีวิตอยู่ได้อีก 11–14 เดือน หลังแสดงอาการ[1]
สาเหตุติดเชื้อโปรตีนพรีออน
ปัจจัยเสี่ยงการกินเนื้อมนุษย์
วิธีวินิจฉัยการชันสูตรศพ
โรคอื่นที่คล้ายกันCreutzfeldt–Jakob disease
การป้องกันหลีกเลี่ยงการกินเนื้อมนุษย์
การรักษาไม่มีวิธีรักษา
พยากรณ์โรคเสียชีวิตทุกราย
ความชุก2,700 (1957–2004)
การเสียชีวิตApproximately 2,700

คูรู เป็นโรคความผิดปกติของเส้นประสาทที่หายาก และไม่สามารถรักษาได้ พบเจอในกลุ่มคนของชนเผ่าฟอร์ที่มีถิ่นฐานอยู่ประเทศปาปัวนิวกินี สาเหตุของโรคเกิดจากโปรตีนพรีออน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีนปกติให้เป็นรูปแบบก่อโรค ก่อให้เกิดอาการสั่นของร่างกาย มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว และการเสื่อมของระบบประสาท

คูรูเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฟอร์ kuria หรือ guria แปลว่า “สั่น”[2] แสดงให้เห็นถึงอาการสั่น ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคนี้[3] หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคหัวเราะ (laughing sickness) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอาการหัวเราะอย่างผิดปกติของผู้ป่วยโรคนี้ สาเหตุหลักของการติดต่อของโรคคูรูในกลุ่มคนฟอร์มาจากการบริโภคเนื้อมนุษย์ เมื่อหนึ่งสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต สมาชิกท่านอื่นจะนำร่างนั้นมาทำอาหาร คนฟอร์เชื่อว่าถ้านำร่างมาบริโภค จะช่วยปลดปล่อยวิญญาณของสมาชิกคนนั้น[4] บ่อยครั้งมารดาและบุตรจะเริ่มบริโภคสมองก่อน ซึ่งเป็นส่วนที่โปรตีนพรีออนจะสะสมมากที่สุด เพราะฉะนั้นโรคนี้จะพบเจอส่วนมากในผู้หญิงและเด็ก

โรคนี้คาดว่าเริ่มจากคนในหมู่บ้านที่มีโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ เมื่อเสียชีวิตลง คนในหมู่บ้านจึงได้นำร่างนั้นมาบริโภคและก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรค [5]

เมื่อทราบถึงข้อเท็จจริงของการแพร่กระจายของโรคนี้ กลุ่มคนฟอร์ได้หยุดบริโภคเนื้อมนุษย์เมื่อ พ.ศ. 2503 ถึงกระนั้นโรคนี้มีระยะการฝักตัวอยู่ระหว่างสิบถึงห้าสิบปี[6] จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 200 ชีวิตต่อปีเมื่อ พ.ศ. 2500 เหลือน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 รายต่อปี ในปี พ.ศ. 2548[7][8][9][10]

อาการและอาการแสดง

[แก้]

คูรูเป็นโรคสมองอักเสบแบบติดต่อ (transmissible spongiform encephalopathy: TSEs) ที่มีผลกระทบต่อจิตใจและประสาทจนนำไปสู่การเสียชีวิต โรคนี้เกิดขึ้นโดยการสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อและความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว[11]

ระยะฟักตัวของโรคคูรูเฉลี่ยเป็นเวลา 10-13 ปี แต่ทว่าระยะฟักตัวที่สั้นที่สุดอาจจะเกิดภายในระยะเวลา 5 ปีและนานที่สุดมากกว่า 50 ปี หลังจากได้รับโรค จากการบันทึก ผู้ที่เป็นโรคคูรูที่มีอายุน้อยที่สุดคือ 12 ปี[12] เมื่อผ่านระยะฟักตัวแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคคูรูอยู่โดยเฉลี่ย 12 เดือน และก่อนที่อาการเหล่านี้จะปรากฏ ผู้ป่วยจะรู้สึกมีอาการปวดเมื่อยบริเวณขาและมีอาการปวดหัว[13] โดยความคืบหน้าของอาการจะแบ่งเป็นสามขั้น โดยขั้นแรกผู้ป่วยยังสามารถเดินได้ปกติ ขั้นที่สองผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และขั้นที่สามผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเสียชีวิตในอนาคตอันใกล้ [11]

โดยขั้นแรก ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อค่อนข้างลำบาก มีอาการสั่น พูดไม่เป็นความ แต่ทว่าผู้ป่วยยังสามารถเดินได้[13] ขั้นที่สอง ผู้ป่วยอาการสั่นและปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างและกล้ามเนื้อการมากขึ้น จนไม่สามารถเดินได้ นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยจะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าแต่หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้ ถึงกระนั้นเอ็นกล้ามเนื้อยังทำงานปกติ[13] ขั้นสุดท้าย อาการของผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งไม่สามารถนั่งได้ถ้าไม่มีสิ่งของมารองรับ อาการใหม่จะเพิ่มมาในขณะเดียวกัน เช่น การกลืนลำบากทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหาร ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ไม่ตอบแสนองต่อสิ่งรอบตัวถึงแม้ว่าผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในเวลาสามเดือนถึงสองปีหลังจากเริ่มอาการของขั้นนี้ โดยส่วนมากเพราะปอดอักเสบหรือการติดเชื้อ[14]

สาเหตุ

[แก้]

โรคคูรูพบเจอส่วนมากในกลุ่มคนฟอร์และบุคคลที่แต่งงานกับคนฟอร์[15] โรคจะถูกส่งต่อโดยการบริโภคเนื้อมนุษย์[13] คนฟอร์จะนำร่างผู้เสียชีวิตในครอบครัวมาทำอาหารและบริโภคเพื่อเป็นการไว้ทุกข์และแสดงความเคารพให้แก่ผู้เสียชีวิต มารดาและบุตรจะเริ่มบริโภคสมองก่อน ซึ่งเป็นบริเวณที่โปรตีนพรีออนจะสะสมอยู่มากที่สุด มารดาและบุตรในครอบครัวจะมีมากโอกาสในการรับโรคติดต่อมากกว่าบิดาซึ่งบริโภคกล้ามเนื้อเป็นส่วนมาก[16]

โปรตีนพรีออนแบบปกติ PrPc subdomain-Residues 125-228 ให้สังเกตโครงสร้างเกลียวแอลฟา (สีฟ้า)

โปรตีนพรีออน

[แก้]
โมเดลจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็งของโปรตีนพรีออนแบบก่อโรค (PrPsc) มีโครงสร้างแผ่นพลีทบีต้าอยู่จำนวนมาก(ตรงกลางของภาพ).[17]

ตัวกลางในการติดต่อของโรคมาจากโปรตีนที่จัดรูปแบบไม่ถูกต้องเรียกว่าโปรตีนพรีออน (Prp) โปรตีนพรีออนสร้างมากจากการถอดรหัสของออกมาจากยีนโปรตีนพรีออน (PRNP)[18] โปรตีนพรีออนมีทั้งหมดสองชนิด แบบปกติ (PrPc) และแบบก่อโรค (PrPsc) ทั้งสองแบบมีจำนวนและชนิดของกรดอะมิโนเหมือนกัน แต่ไอโซฟอร์มของโปรตีนพรีออนแบบก่อโรคนั้นแตกต่างจากแบบปกติที่โครงสร้างโปรตีนขั้นสามและสี่ ไอโซฟอร์มของ PrPsc จะมีโครงสร้างแผ่นพลีทบีต้าอยู่จำนวนมาก ในขณะที่ PrPc จะมีโครงสร้างเกลียวแอลฟา[16] โครงสร้างของ PrPsc ก่อให้เกิดการรวมตัวของโปรตีนชนิดเดียวกัน ซึ่งทนทานกับการละลายตัวของโปรตีนโดยเอนไซม์ หรือวิธีทางเคมีและกายภาพ[13] ตรงกันข้ามกับโปรตีนพรีออนแบบปกติที่สามารถละลายตัวได้ง่าย[13] งานวิจัยพบว่า PrPsc ที่บุคคลนั้นมีหรือได้รับมา มีความสามารถในการเปลี่ยนโครงสารของ PrPc ให้เป็นรูปแบบก่อโรคได้ ซึ่งเปลื่ยนโครงสร้างของโปรตีนตัวอื่น ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้สามารถให้โปรตีนพรีออนแบบก่อโรคแพร่กระจายได้ จนกระทั่งบุคคลนั้นเป็นโรค[13]

การติดต่อ

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2504 นักวิจัยทางการแพทย์ชาวออสเตรเลีย Michael Alpers ได้สำรวจและวิจัยชนเผ่าฟอร์ด้วยกันกับนักมานุษยวิทยา Shirley Lindenbaum[10] จากการวิจัยทางประวัติศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคคูรูอาจจะเกิดขึ้นประมาณช่วง พ.ศ. 2443 จากบุคคลที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนของชนเผ่าฟอร์ และมีรูปแบบพัฒนาของโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบอยู่พร้อมกัน[19] อ้างอิงจากรายงานของ Alpers และ Lindenbaum โรคคูรูสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนโดยการบริโภคชิ้นส่วนร่างกายของผู้ป่วย โดยในกลุ่มคนฟอร์จะมีประเพณีนี้โดยการนำร่างผู้เสียชีวิตในครอบครัวมาฝังเป็นเวลาหลายวันจนกระทั่งหนอนจะขึ้นร่างเต็มตัว จากนั้นแล้วสมาชิกในครอบครัวจะนำร่างและหนอนมาทำอาหารและบริโภคเพื่อเป็นการไว้ทุกข์และแสดงความเคารพให้แก่ผู้เสียชีวิต [20]

จากการสังเกตปริมาณการได้รับโรคติดต่อในประชากรของกลุ่มคนฟอร์ โรคคูรูจะพบเจอในผู้หญิงและเด็กแปดถึงเก้าเท่ามากกว่าที่พบเจอในผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายคนฟอร์ถือว่าการกินเนื้อมนุษย์จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ่ในยามต่อสู้ ในขณะที่ผู้หญิงและเด็กจะกินชิ้นส่วนร่างกายของผู้เสียชีวิต รวมไปถึงสมองซึ่งเป็นส่วนที่โปรตีนพรีออนสะสมอยู่มากที่สุด นอกไปจากนี้แล้วโอกาสอื่นที่ทำให้โรคนั้นพบเจอในผู้หญิงและเด็กมากนั้น อาจจะเป็นเพราะผู้หญิงและเด็กเป็นบุคคลที่ทำความสะอาดร่างกายของผู้เสียชีวิต จึงมีโอกาสที่โปรตีนพรีออนจะเข้าร่างกายตามบาดแผลบนมือได้[21]

ถึงแม้ว่าการย่อยโปรตีนพรีออนจะสามารถก่อให้เกิดโรคได้ [22] โอกาสการติดต่อของโรคจะเกิดขึ้นมากเมื่อเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังได้รับโปรตีนพรีออน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายจากยุคอาณานิคมของออสเตรเลียและความพยายามของนักเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในท้องถิ่นเพื่อยกเลิกการกินเนื้อมนุษย์ ผลการวิจัยของ Alpers แสดงให้เห็นว่าโรคคูรูกำลังลดลงในกลุ่มคนฟอร์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503) ถึงกระนั้นโรคคูรูมีระยะการฟักตัวเฉลี่ยอยู่สิบสี่ปี และมีผู้ป่วยเจ็ดรายที่มีระยะการฟักตัวสี่สิบปีหรือมากกว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคคูรูจึงยังไม่หมดไปอีกหลายทศวรรษ ผู้เสียชีวิตรายสุดท้ายของโรคคาดว่าจะเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ศ. 2552[10][9][7][8]

ภูมิคุ้มกัน

[แก้]
สมองของผู้ป่วยโรคคูรู

เมื่อ พ.ศ. 2552 นักวิจัยจากสภาวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษค้นพบว่า รูปแบบและชนิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของโปรตีนพรีออนก่อให้เกิดความต้านทานโรคคูรูมากในประชากรของปาปัวนิวกินี การวิจัยซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539[23] นักวิจัยได้สำรวจและประเมินค่ามากกว่า 3,000 คนจากประชากรจากรอบๆบริเวณอีสเทิร์นไฮแลนด์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อค้นหาโครงสร้างที่แตกต่างของโปรตีนพรีออน G127 [24] นักวิจัยได้ค้นพบว่าโครงสร้างที่แตกต่างโปรตีนพรีออน G127 ในประชากรเกิดจาก missense mutation และมีขอบเขตจำกัดบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคคูรูมากที่สุด นอกจากนี้แล้วนักวิจัยเชิ่อว่าโครงสร้างที่แตกต่างโปรตีนพรีออนเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยประมาณสิบชั่วอายุคน[24][25]

ศาสตราจารย์ John Collinge ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหน่วยการศึกษาโปรตีนพรีออนของ MRC จากมหาวิทยาลัย College London ได้กล่าวไว้ว่า:

เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นหลักการของดาร์วินเกิดขึ้นในงานนี้ คนในชุมชนนี้ได้พัฒนาตัวเองเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคร้าย ความจริงที่ว่าวิวัฒนาการทางพันธุกรรมนี้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง

— ศาสตราจารย์ John Collinge

การค้นพบนี้สามารถช่วยส่งเริมความรู้ให้แก่นักวิจัยและผู้อื่น พร้อมทั้งพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนพรีออน เช่น โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบและโรคอัลไซเมอร์[26]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในตอนแรกคนฟอร์เชื่อว่าโรคคูรูเกิดจากเวทมนตร์อาคมที่สามารถติดต่อได้ คนฟอร์เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากภูติผีเพราะอาการสั่นและพฤติกรรมที่แปลกประหลาดที่มากับโรคคูรู ในขณะที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเชื่อว่าโรคคูรูอาจเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางจิต[27][28] อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือโรคคูรูมาจากนกแคสโซแวรี คนฟอร์ใช้วิธีการรักษาโรคนี้โดยให้ผู้ป่วยรับประทานเนื้อหมูและเปลือกไม้ของต้นสน สาเหตุที่แท้จริงของโรคคูรูยังไม่ถูกค้นพบจนกระทั่งแพทย์ชาวอเมริกัน Daniel Carleton Gajdusek ได้ตรวจสอบพฤติกรรมการบริโภคเนื้อมนุษย์และแสดงข้อมูลว่าเป็นสาเหตุของโรคคูรู อย่างไรก็ตามประเพณีการบริโภคเนื้อมนุษย์ไม่ได้ถูกละทิ้งเนื่องจากหลักฐานการเชื่อมโยงของโรคกับประเพณี ถึงแม้ว่าหลักฐานของการเชื่อมโยงนั้นจะยังไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะรัฐบาลออสเตรเลียนั้นเห็นว่าประเพณีกินเนื้อมนุษย์เป็นการกระทำอย่างไร้มนุษยธรรม คนฟอร์จึงได้ละทิ้งประเพณีนี้เมื่อ พ.ศ. 2503 เพราะกฎหมายบังคับใช้โดยรัฐบาลออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าคนที่ได้รับโรคติดต่อลดลง ผู้ที่อยู่ในการวิจัยทางการแพทย์ยังสามารถที่จะตรวจสอบและค้นคว้าเกี่ยวกับโรคคูรูได้จนนำไปสู่การค้นพบสาเหตุของโรคซึ่งก็คือโปรตีนพรีออน[29]

โรคคูรูได้กล่าวถึงครั้งแรกอย่างเป็นทางการโดยเจ้าหน้าชาวออสเตรเลียที่ลาดตระเวนอยู่เขตภูเขาทางทิศตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินีในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2493 [30] นอกจากนี้แล้วยังมีการกล่าวถึงโรคนี้แบบไม่เป็นทางการอยู่ในปี พ.ศ. 2453 [7] ในปี พ.ศ. 2494 Arthur Carey เป็นคนแรกที่ใช้ "คูรู" ในการเรียกชื่อโรคนี้ในรายงาน ต่อจากนี้แล้ว Carey ยังได้ระบุลงไปในรายงานว่าประชากรของคนฟอร์ส่วนมากที่ได้รับโรคคูรูเป็นผู้หญิง ต่อมาในปีต่อมาโรคคูรูได้ถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน John McArthur และบันทึกลงเป็นรายงานอยางเป็นทางการ McArthur เชื่อว่าโรคคูรูเป็นโรคปัจจัยทางจิตซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ไสยศาสตร์ของคนในภูมิภาคนั้น[30]

โรคฟอร์ได้ถูกกล่าวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495-96 ว่าเกิดขึ้นในกลุ่มคนฟอร์ คน Yate และ คน Usurufa โดยนักมานุษยวิทยา Ronald Berndt และ Catherine Berndt แต่ทว่าโรคฟอร์ยังไม่ระบาดร้ายแรงเท่าใน พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะเดียวกันที่นักไวรัสวิทยา Daniel Carleton Gajdusek และแพทย์ Vincent Zigas ได้เริ่มทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคคูรู โรคคูรูได้ระบาดร้ายแรงมากในภูมิภาคนั้นจนกระทั่งคนฟอร์ได้ไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรีย[7]

แพทย์ชาวอเมริกัน Daniel Carleton Gajdusek ได้ทำงานวิจัยทดลองโรคคูรูกับลิงชิมแปนซีที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) โดยมีเป้าหมายในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของโรคมากขึ้น การทดลองเริ่มจากการนำวัตถุที่ได้รับจากสมองของผู้ป่วยไปยังลิงชิมแปนซี และจึงได้บันทึกพฤติกรรมของสัตว์จนกระทั่งสัตว์นั้นได้เสียชีวิตลงหรือแสดงอาการของโรค[7] ภายในระยะเวลาสองปีลิงชิมแปนซีซึ่งมีชื่อว่าเดซี่ได้เกิดอาการของโรคคูรูขึ้น บ่งบอกว่าโรคคูรูสามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นด้วยชิ้นส่วนของผู้ติดเชื้อและยังสามารถแพร่กระจายไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยเฉพาะลิง หลังจากที่ Elisabeth Beck ได้ยืนยันว่าการทดลองนี้ได้อธิบายการแพร่กระจายของโรคคูรูเป็นครั้งแรก Gajdusek จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์[31][7]

ในช่วงช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นปี 1970 E. J. Field ได้สำรวจโรคคูรู[32]และเชื่อมโยงโรคนี้กับโรคสเครปีและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[33] นอกจากนี้แล้ว Field ยังได้กล่าวถึงถึงความคล้ายคลึงกันของการตบสนองของเซลล์เกลียต่อโรค เช่น การแพร่กระจายของโรคในผู้ติดเชื้ออาจจะขึ้นอยู่กับการจัดการโครงสร้างของโมเลกุลของผู้ติดเชื้อ[34] นี้เป็นข้อสังเกตแรกๆ ที่นำไปสู่สมมุติฐานเกี่ยวกับโปรตีนพรีออน[35]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The epidemiology of kuru in the period 1987 to 1995", Department of Health (Australia), สืบค้นเมื่อ February 5, 2019
  2. Hoskin, J. O.; Kiloh, L. G.; Cawte, J. E. (1969-04-01). "Epilepsy and Guria: the shaking syndromes of New Guinea". Social Science & Medicine. 3 (1): 39–48. doi:10.1016/0037-7856(69)90037-7. ISSN 0037-7856. PMID 5809623.
  3. Scott, Graham (1978). The Fore language of Papua New Guinea. (Pacific Linguistics, Series B No.47). Canberra: Dept. of Linguistics, Research School of Pacific Studies, Australian National University. pp. 2, 6.
  4. Whitfield, Jerome T.; Pako, Wandagi H.; Collinge, John; Alpers, Michael P. (2008-11-27). "Mortuary rites of the South Fore and kuru". Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences. 363 (1510): 3721–3724. doi:10.1098/rstb.2008.0074. ISSN 0962-8436. PMC 2581657. PMID 18849288.
  5. "When People Ate People, A Strange Disease Emerged". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-08.
  6. "Kuru: MedlinePlus Medical Encyclopedia". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Alpers, Michael P. (2007). "A history of kuru". Papua and New Guinea Medical Journal. 50 (1–2): 10–19. ISSN 0031-1480. PMID 19354007.
  8. 8.0 8.1 Here's What Happens to Your Body When You Eat Human Meat, Esquire
  9. 9.0 9.1 Collinge, John; Whitfield, Jerome; McKintosh, Edward; Beck, John; Mead, Simon; Thomas, Dafydd; Alpers, Michael (2006-06-24). "Kuru in the 21st century—an acquired human prion disease with very long incubation periods". The Lancet (ภาษาอังกฤษ). 367 (9528): 2068–2074. doi:10.1016/S0140-6736(06)68930-7. PMID 16798390.
  10. 10.0 10.1 10.2 "A life of determination". Monash University. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
  11. 11.0 11.1 "Department of Health | The epidemiology of kuru in the period 1987 to 1995". www.health.gov.au. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  12. Collinge, John; Whitfield, Jerome; McKintosh, Edward; Frosh, Adam; Mead, Simon; Hill, Andrew F.; Brandner, Sebastian; Thomas, Dafydd; Alpers, Michael P. (2008-11-27). "A clinical study of kuru patients with long incubation periods at the end of the epidemic in Papua New Guinea". Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences (ภาษาอังกฤษ). 363 (1510): 3725–3739. doi:10.1098/rstb.2008.0068. ISSN 0962-8436. PMC 2581654. PMID 18849289.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 Imran, Muhammad; Mahmood, Saqib (2011-01-01). "An overview of human prion diseases". Virology Journal. 8: 559. doi:10.1186/1743-422X-8-559. ISSN 1743-422X. PMC 3296552. PMID 22196171.
  14. Wadsworth JD; Joiner S; Linehan JM; และคณะ (March 2008). "Kuru prions and sporadic Creutzfeldt–Jakob disease prions have equivalent transmission properties in transgenic and wild-type mice". en:Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 105 (10): 3885–90. doi:10.1073/pnas.0800190105. PMC 2268835. PMID 18316717.
  15. Lindenbaum, Shirley (2001-01-01). "Kuru, Prions, and Human Affairs: Thinking About Epidemics". en:Annual Review of Anthropology. 30 (1): 363–385. doi:10.1146/annurev.anthro.30.1.363.
  16. 16.0 16.1 "Kuru: Background, Pathophysiology, Epidemiology". 2016-04-27. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. Kupfer, L; Hinrichs, W; Groschup, M.H (2016-11-10). "Prion Protein Misfolding". en:Current Molecular Medicine. 9 (7): 826–835. doi:10.2174/156652409789105543. ISSN 1566-5240. PMC 3330701. PMID 19860662.
  18. Linden, Rafael; Martins, Vilma R.; Prado, Marco A. M.; Cammarota, Martín; Izquierdo, Iván; Brentani, Ricardo R. (2008-04-01). "Physiology of the Prion Protein". Physiological Reviews (ภาษาอังกฤษ). 88 (2): 673–728. doi:10.1152/physrev.00007.2007. ISSN 0031-9333. PMID 18391177. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-18.
  19. Kuru: The Science and the Sorcery (Siamese Films, 2010)
  20. Liberski, P. P. (2009). "Kuru: Its ramifications after fifty years". Experimental Gerontology. doi:10.1016/j.exger.2008.05.010.
  21. "Kuru : Article by Paul A Janson". eMedicine. 2009-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  22. Gibbs CJ, Amyx HL, Bacote A, Masters CL, Gajdusek DC (August 1980). "Oral transmission of kuru, Creutzfeldt–Jakob disease, and scrapie to nonhuman primates". J. Infect. Dis. 142 (2): 205–8. doi:10.1093/infdis/142.2.205. PMID 6997404.((cite journal)): CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. "Releases". Sciencedaily.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  24. 24.0 24.1 Mead, Simon; Whitfield, Jerome; Poulter, Mark; Shah, Paresh; Uphill, James; Campbell, Tracy; Al-Dujaily, Huda; Hummerich, Holger; Beck, Jon (2009-11-19). "A Novel Protective Prion Protein Variant that Colocalizes with Kuru Exposure". New England Journal of Medicine. 361 (21): 2056–2065. doi:10.1056/NEJMoa0809716. ISSN 0028-4793. PMID 19923577.
  25. "Supply file" (PDF). doi:10.1056/nejmoa0809716/suppl_file/nejm_mead_2056sa1.pdf. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. "Natural genetic variation gives complete resistance in prion diseases". Ucl.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  27. "Definition of PSYCHOSOMATIC". www.merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21.
  28. "KURU". www.macalester.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-21. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21.
  29. "Kuru Among the Foré - The Role of Medical Anthropology in Explaining Aetiology and Epidermiology". arcjohn.wordpress.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21.
  30. 30.0 30.1 Shirley Lindenbaum (14 Apr 2015). "An annotated history of kuru". Medicine Anthropology Theory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-18.
  31. Kotad, K.B.; และคณะ (2014). "Kuru: A Neurological Disorder" (PDF). 2 (2). International Journal of Current Trends in Pharmaceutical Research: 405–416. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  32. "Horizon - Season 8, Episode 6: Kuru - To Tremble with Fear". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2018-10-18.
  33. Field, EJ (7 Dec 1967). "The significance of astroglial hypertrophy in Scrapie, Kuru, Multiple Sclerosis and old age together with a note on the possible nature of the scrapie agent". Journal of Neurology. 192 (3): 265–274. doi:10.1007/bf00244170.
  34. Field, EJ (Feb 1978). "Immunological assessment of ageing: emergence of scrapie-like antigens". Age Ageing. 7 (1): 28–39. doi:10.1093/ageing/7.1.28. PMID 416662.
  35. "BSE - mad cow - scrapie, etc.: Stimulated amyloid degeneration and the toxic fats".
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรคคูรู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?