For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โซตัส.

โซตัส

โซตัส เป็นระบบการรับน้องในสถาบันอุดมศึกษาอย่างหนึ่ง ชื่อมาจากคำภาษาอังกฤษ 5 คำ ได้แก่ Seniority (ความอาวุโส) Order (ระเบียบ) Tradition (ประเพณี) Unity (ความสามัคคี) และ Spirit (จิตวิญญาณ หรืออาจจะแปลได้ว่าความมีน้ำใจ)[1] อย่างไรก็ดี รุ่นพี่ในสถาบันเหล่านั้นมักตีความอย่างเดียวว่า รุ่นพี่ถูกเสมอ เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่การใช้อำนาจของรุ่นพี่[1] ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดเหตุการณ์อื้อฉาวถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตทุกปี[2] ปัจจุบันโซตัสลามไปถึงระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา[3] ระบบโซตัสในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปโดยลดส่วนที่เป็นความรุนแรงลง แต่ยังปรากฏการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์อยู่[4]

นักวิชาการหลายคนเขียนว่า โซตัสเป็นระบบที่ตอกย้ำเรื่องลำดับชั้นทางสังคม ระบบอุปถัมภ์ การทำให้เชื่องและห้ามแตกต่าง คาดว่าโซตัสเข้าสู่สยามจากโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ แล้วมีการสถาปนาระบบอาวุโสในโรงเรียนฝึกข้าราชการโดยให้นักเรียนจำนวนหนึ่งช่วยครูในการดูแลนักเรียนด้วยกัน ต่อมามีการนำการว้ากเข้ามาผสม โดยมาจากบุคลากรที่ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ แม้มีหยุดไปช่วงสั้น ๆ ในพุทธทศวรรษ 2510 แต่กลับมาแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สันนิษฐานว่า ระบบโซตัสนำเข้ามาจากระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ และเข้าสู่สยาม ราวปี พ.ศ. 2440 อันเป็นช่วงที่ประเทศกำลังเกิดการปฏิรูปการปกครอง คือ รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบบอาวุโสถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและถูกใช้ครั้งแรกเมื่อมีการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยมีการตั้งตำแหน่ง "ดรุณาณัติ" (Fagging System) โดยจะมีการนำนักเรียนชั้นปีที่สูงกว่าจำนวนหนึ่งมาเป็นผู้ช่วยครู ในการอบรมสั่งสอนและดูแลนักเรียน ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกคนเหล่านี้ว่า Fag–master หรือ Prefect[5]

คำว่าโซตัส (SOTUS) ประกอบด้วยคำว่า 1. Seniority หมายถึง การเคารพความอาวุโสซึ่งหมายความถึงวัยวุฒิและอาวุโสในตำแหน่งหน้าที่ นับเป็นหัวใจของระบบโซตัส 2. Order หมายถึง ความมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม 3. Tradition หมายถึง การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีเพื่อสืบทอดต่อไป 4. Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สมานสามัคคีของคนในสังคม 5. Spirit หมายถึง ความเสียสละ ความมีน้ำใจ[5] ใจความของระบบโซตัสถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ดี กระทั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยึดถือเป็นคำขวัญประจำสถาบัน และถ่ายทอดอุดมการณ์ดังกล่าวผ่านบทเพลง "เกียรติภูมิจุฬาฯ"[5]

ในช่วงแรกนั้นยังไม่ได้เกิดการ "ว้าก" หากแต่การว้ากได้เกิดในยุคต่อมาในโรงเรียนป่าไม้แพร่ทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่านักเรียนที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐ ซึ่งเป็นต้นฉบับของการรับน้องรุนแรงเป็นผู้รับเอาวัฒนธรรมการว้ากมาใช้ในโรงเรียนป่าไม้แพร่ (ภายหลังก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้) การตีความของความหมายเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยให้ค่ากับการกดดันรุ่นน้องโดยอ้างว่าเพื่อละลายพฤติกรรม แต่ที่จริงเป็นการสร้างความอุปถัมภ์โดยใช้ระบบโซตัสกับการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ในเรื่องของการเคารพอาวุโสอย่างไม่มีเหตุผล[5]

ความนิยมของโซตัสหายไปช่วงหนึ่งในช่วงประมาณพุทธทศวรรษ 2510 เมื่อกระแสประชาธิปไตยขยายวงในหมู่นักศึกษา ต่อมาเกิดการปราบนักศึกษาครั้งใหญ่ในปี 2519 ด้วยเหตุนี้รัฐอาจกังวลต่อความมั่งคงทางสถาบันจึงมีการนำระบบการรับน้องด้วยโซตัสแบบมีการว้ากเข้ามาใช้อีกครั้ง เพื่อสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้นักศึกษาอยู่ในกรอบ[5]

บทวิเคราะห์

[แก้]

ธงชัย วินิจจะกูล ระบุว่า โซตัสเฟื่องฟูในประเทศไทยเพราะถ่ายทอดความเป็นไทย ในประเด็นลำดับชั้นทางสังคมและการอิงตัวบุคคล เป็นผลมาจากกระแสอนุรักษนิยมที่เติบโตขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง ๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาต่อโลกาภิวัฒน์และภัยคุกคามจากตะวันตก[2]

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของโซตัสคือการสร้างความสัมพันธ์รุ่นพี่-รุ่นน้อง และความรักพวกพ้องที่เหนียวแน่น เพื่อประโยชน์ต่อการสร้างระบบอุปถัมภ์ในชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ได้ประโยชน์จากโซตัส คือ เป็นการใช้อำนาจควบคุมนักศึกษาผ่านรุ่นพี่ทำให้เชื่อง พวกเขารู้ทุกขั้นตอนของการรับน้องและเป็นผู้อนุมัติเอง[1]

นักศึกษาผู้ดูแลกิจกรรมการรับน้องที่ขอไม่เปิดเผยชื่อคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการทั้ง 5 ข้อของโซตัสอย่างมากก็สร้างได้เพียงเปลือกในขั้นตอนการรับน้อง เช่น การยกมือไหว้รุ่นพี่ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าไม่ได้เป็นการไหว้เพราะกลัวถูกลงโทษ

กฎหมาย

[แก้]

สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับได้ในกรณีรับน้อง เช่น

  • การพูดในที่ประชุมเชียร์เพื่อให้รุ่นน้องคนใดคนหนึ่งเป็นที่ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 20,000 บาท (มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา)
  • ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย มีโทษสูงสุดจำคุก 2 ปี ปรับสูงสุด 4,000 บาท (มาตรา 295 ประมวลกฎหมายอาญา)
  • การข่มขืนใจให้รุ่นน้องทำกิจกรรม และมีการบังคับโดยการใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน อาจเป็นความผิดฐานข่มขู่ มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี ปรับสูงสุด 6,000 บาท (มาตรา 309 ประมวลกฎหมายอาญา)
  • การกักบริเวณรุ่นน้อง (เช่น ไม่ยอมให้กลับบ้าน) อาจเป็นความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี ปรับสูงสุด 6,000 บาท (มาตรา 310 ประมวลกฎหมายอาญา)
  • การทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส เช่น เวลาหายเกิน 20 วัน หรือจิตพิการอย่างติดตัว มีโทษสูงสุดจำคุก 10 ปี (มาตรา 297 ประมวลกฎหมายอาญา)
  • การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย มีโทษสูงสุดจำคุก 15 ปี (มาตรา 290 ประมวลกฎหมายอาญา)[6]

ปฏิกิริยา

[แก้]

สุภาพรสรุปการศึกษาระบบโซตัสว่า เป็นระบบที่เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรหรือสถาบันที่มุ่งประสงค์ฝึกความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจ เช่น ทหาร ตำรวจ เป็นต้น แต่ในสถาบันศึกษาจะเกิดโทษมากกว่า อาจกล่าวได้เลยว่าโซตัสมุ่งหวังให้รุ่นน้องเชื่อง เพื่อยอมรับการจำกัดสิทธิของตน ผู้ใช้ระบบนี้มีการบิดเบือนเพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้ใช้อำนาจอย่างบ้าคลั่ง อยากควบคุมบุคคลให้คลายสงสัย ให้นิยามผู้ที่เชื่อฟังและคล้อยตามว่าเป็นประชาชนที่ดี และกล่าวโทษผู้เห็นต่างว่าเป็นผู้ไม่ดี ไม่มีความรักชาติ เป็นบ่อเกิดของความแตกแยก[7]

กระแสต่อต้าน

[แก้]

ในปัจจุบัน กระแสต่อต้านโซตัสมีความสำเร็จระดับหนึ่ง โดยสามารถสร้างภาพลักษณ์ในแง่ลบให้กับโซตัสจนไม่มีใครกล้าอ้างเต็มปากว่าตนนิยมโซตัส ต้องพยายามหาเหตุผลมารองรับการกระทำของตนเอง และแก้ไขประเด็นที่ถูกโจมตีนั้น อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความท้าทาย กระบวนการต่อต้านโซตัสยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทางกลุ่มต่อสู้กับอะไร และต่อสู้เพื่ออะไรอย่างชัดเจน จนบางทีอาจเหมารวมกลุ่มที่นิยมการรับน้อง แต่ไม่นิยมโซตัส และอาจทำให้เสียการสนับสนุนจากกลุ่มดังกล่าว[1] นอกจากนี้ กระบวนการต่อต้านโซตัสที่ผ่านมายังไม่เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความคิดเห็นหนึ่งว่า น่าจะมีการเรียกร้องให้รุ่นน้องลุกขึ้นมาต่อต้านระบบโซตัสบ้าง[1]

นักศึกษานายกสโมสรนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งหนึ่ง ให้สัมภาษณ์ว่า คิดว่าการหากโซตัสมีความรุนแรงอย่างที่ทางกลุ่มแอนตีโซตัสกล่าวหาจริง ๆ ก็ควรจะยกเลิก แต่การที่ทางกลุ่มมีอคติและเหมารวมว่าทุกกิจกรรมรับน้องเป็นโซตัสเช่นนี้ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงพลอยโดนหางเลขไปด้วย หากจะเคลื่อนไหวจริงจังก็ควรระบุให้ชัดเจนไปเลยว่าใครใช้ความรุนแรง และว่า "อยากให้มองกิจรรมการรับน้องเหมือนอาหารหนึ่งจาน หากมีคนบอกเราว่ามันไม่อร่อย ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป ทำไมเราไม่ลองชิมดูก่อน จะได้รู้ว่ามันไม่อร่อยจริงหรือไม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องกินมันให้หมดจาน เราแค่ลองให้รู้ว่ามันเหมาะกับเราไหม"[1]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เหตุการณ์

[แก้]
  • ปี 2561 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถูกนักศึกษารุ่นพี่ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส ซึ่งยอมรับว่าก่อเหตุเพื่อสั่งสอนที่ปกครองนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ไม่ดีตามระบบโซตัส[8]
  • มีนักศึกษาคนหนึ่งเปิดเผยว่า ตนที่ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าแต่ถูกบังคับผ่านเพื่อนให้เข้าร่วมกิจกรรมรับน้อง จนต้องตัดสินใจย้ายที่เรียน[8]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โซตัส
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?