For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for แอร์นิวซีแลนด์.

แอร์นิวซีแลนด์

แอร์นิวซีแลนด์
IATA ICAO รหัสเรียก
NZ ANZ NEW ZEALAND
ก่อตั้ง26 เมษายน ค.ศ. 1940 (84 ปี) (ในชื่อ แทสมันเอ็มไพร์แอร์เวย์ลิมิเต็ด)[1]
เริ่มดำเนินงาน1 เมษายน ค.ศ. 1965 (59 ปี) (ในชื่อ แอร์นิวซีแลนด์)
ท่าหลัก
สะสมไมล์แอร์พอยต์
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน110
จุดหมาย50
บริษัทแม่รัฐบาลนิวซีแลนด์ (53%)
การซื้อขาย
สำนักงานใหญ่นิวซีแลนด์ ออกแลนด์ นิวซีแลนด์[2]
บุคลากรหลักเกร็ก ฟอราน (ซีอีโอ)
เทเรซ วอลช์ (ประธาน)
รายได้เพิ่มขึ้น 2.73 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ค.ศ.2022)[3]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง −4 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ค.ศ.2022)[3]
กำไร
ลดลง −591 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ค.ศ.2022)[3]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 8.35 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ค.ศ.2022)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 1.68 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ค.ศ.2022)[3]
พนักงาน
8,863 (2022)[3]
เว็บไซต์www.airnewzealand.co.nz

แอร์นิวซีแลนด์ (อังกฤษ: Air New Zealand; มาวรี: Araraurangi Aotearoa[4]) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์[5] สายการบินให้บริการเที่ยวบินโดยสารประจำไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 20 แห่ง และจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 30 แห่ง ใน 18 ประเทศ โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในขอบแปซิฟิก[6] สายการบินเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่ปี 1999[7]

แอร์นิวซีแลนด์เข้ามาสืบทอดกิจการของแทสมันเอ็มไพร์แอร์เวย์ลิมิเต็ด (ทีล) เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1965 สายการบินให้บริการเฉพาะเส้นทางระหว่างประเทศจนถึงปี 1978 เมื่อรัฐบาลได้ควบรวมกิจการของสายการบินเข้ากับนิวซีแลนด์แนชนัลแอร์เวย์คอปอเรชัน (เอ็นเอซี) เป็นสายการบินเดียวภายใต้ชื่อ แอร์นิวซีแลนด์ สายการบินโอนกิจการมาเป็นเอกชนในปี 1989 แต่รัฐบาลกลับเข้ามาถือหุ้นส่วนใหญ่ในปี 2001 ภายหลังสภาวะใกล้ล้มละลายจากความล้มเหลวในการผูกขาดกับสายการบินอันเซตต์ออสเตรเลีย ในปีงบประมาณ 2017 จนถึงเดือนมิถุนายน แอร์นิวซีแลนด์ให้บริการผู้โดยสาร 15.95 ล้านคน[8]

เครือข่ายเส้นทางบินของแอร์นิวซีแลนด์เน้นไปที่ออสตราเลเซียและแปซิฟิกใต้เป็นหลัก โดยให้บริการเที่ยวบินระยะไกลไปยังเอเชียตะวันออกและอเมริกาเหนือ สายการบินเป็นสายการบินสุดท้ายที่ดำเนินการเที่ยวบินรอบโลก โดยทำการบินสู่ลอนดอน ผ่านลอสแองเจลิสและฮ่องกง โดยบริการหลังนี้ถูกยกเลิกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 เมื่อแอร์นิวซีแลนด์หยุดให้บริการเที่ยวบินฮ่องกง-ลอนดอน เพื่อสนับสนุนข้อตกลงการบินร่วมกับคาเธ่ย์แปซิฟิก[9][10] เที่ยวบินสู่ลอนดอนฮีทโธรว์ของสายการบินหยุดให้บริการโดยสิ้นเชิงในปี 2020 จากการแข่งขันในตลาดที่สูงและความต้องการที่ลดลง[11] แอร์นิวซีแลนด์มีสำนักงานใหญ่ในชื่อ "เดอะฮับ" ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์ 20 กิโลเมตรในวินยาร์ดควอเตอร์[12]

ปัจจุบันแอร์นิวซีแลนด์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินหลากหลายประเภท ได้แก่ เครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320 เอ320นีโอ โบอิง 777 และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ และมีฝูงบินระดับภูมิภาคซึ่งประกอบด้วย เอทีอาร์ 72-600 และบอมบาร์ดิเอร์ คิว300 สายการบินได้รับรางวัลสายการบินแห่งปีในปี 2010[13] และปี 2012[14] โดยแอร์ทรานส์ปอร์ตเวิลด์ ในปี 2014 แอร์นิวซีแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินที่ปลอดภัยที่สุดในโลกโดย JACDEC[15]

ประวัติ

[แก้]

ในปี 1940 ทีล หรือ แทสมันเอ็มไพร์แอร์เวย์ลิมิเต็ด ได้ถูกก่อตั้งขึ้น[16] เที่ยวบินแรกของสายการบินออกเดินทางจาก อ๊อคแลนด์ไปซิดนีย์และเวลลิงตัน ต่อมา จึงได้เพิ่มเที่ยวบินไปยังฟิจิ ซามัว ตาฮิติ และหมู่เกาะคุก[17] รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำการซื้อหุ้นส่วนของ TEAL ไปทั้งหมด 50% ในปี 1953 ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็ตกเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ในปี 1961 สายการบินนี้ได้กลายเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์โดยสมบูรณ์ ทีลได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า แอร์นิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1965 สายการบินได้ซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-8 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1965 ซึ่งใช้สำหรับเส้นทางที่ยาวกว่าไปยังโฮโนลูลูและลอสแอนเจลิส จากนั้นในปี 1981 แอร์นิวซีแลนด์ก็ได้ซื้อ โบอิง 747 แอร์นิวซีแลนด์เข้าซื้ออันเซตต์ออสเตรเลียในปี 2000 โดยอันเซตต์ได้เลิกดำเนินการไปในภายหลัง

กิจการองค์กร

[แก้]

สำนักงานใหญ่

[แก้]
สำนักงานใหญ่ "เดอะฮับ" ของแอร์นิวซีแลนด์ในออกแลนด์

สำนักงานใหญ่ของแอร์นิวซีแลนด์เป็นอาคารสำนักงานขนาด 15,600 ตารางเมตร (168,000 ตารางฟุต) ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนโบมอนต์และถนนฟานชอว์ในออกแลนด์[18][19] สำนักงานนี้ประกอบด้วยอาคารหกชั้นสองแห่งที่เชื่อมต่อกัน[19] อาคารเหล่านี้ใช้เงิน 60 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ในการสร้างและพัฒนา ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[19]

บริษัทลูก

[แก้]

แอร์นิวซีแลนด์คาร์โก้เป็นบริษัทในเครือเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันของแอร์นิวซีแลนด์ โดยเป็นบริการขนส่งสินค้าทุกประเภท[20]

การสนับสนุน

[แก้]

แอร์นิวซีแลนด์เป็นผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขันรักบี้รายการแอร์นิวซีแลนด์คัพตลอดฤดูกาลของปีค.ศ. 2009 สายการบินยังเป็นสปอนเซอร์หลักของนิวซีแลนด์รักบี้ รวมทั้งสมาคมรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์ หรือออลแบล็คส์ สายการบินยังเป็นผู้สนับสนุนของแอร์นิวซีแลนด์ไวน์อวาร์ดและเวิลด์ออฟแวร์เอเบิลอาร์ต และเป็นพันธมิตรกับกรมอนุรักษ์และแอนตาร์กติกาของนิวซีแลนด์[21]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

แอร์นิวซีแลนด์ให้บริการปลายทางภายในประเทศ 20 แห่งและปลายทางระหว่างประเทศ 30 แห่งในสิบแปดประเทศและเขตแดนทั่วเอเชีย อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย

แอร์นิวซีแลนด์ดำเนินการเส้นทางเสรีภาพสี่เส้นทางที่ห้า (เช่น ระหว่างสองปลายทางที่ไม่ใช่ของนิวซีแลนด์) สายการบินดำเนินการเที่ยวบินรายสัปดาห์จากราโรตองกาไปซิดนีย์และลอสแอนเจลิส นอกเหนือจากเที่ยวบินที่ต่อเครื่องผ่านออกแลนด์[22] ในปีค.ศ. 2012 หลังจากได้รับสัญญาจากรัฐบาลออสเตรเลีย แอร์นิวซีแลนด์ได้เปิดตัวบริการสัปดาห์ละสองครั้งจากซิดนีย์และบริสเบนไปยังเกาะนอร์ฟอล์กด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ320

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

แอร์นิวซีแลนด์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกันกัลสายการบินต่างๆดังต่อไปนี้:[23]

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]

ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 แอร์นิวซีแลนด์มีเครื่องบินประจำการอยู่ในฝูงบินดังนี้:[31][32]

ฝูงบินของแอร์นิวซีแลนด์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
C+ C W Y รวม
แอร์บัส เอ320-200 17 171 171
แอร์บัส เอ320นีโอ 6 165 165
แอร์บัส เอ321นีโอ 12 4[33][34] 214 214 การจัดเรียงแบบระหว่างประเทศ[35]
217 217 การจัดเรียงแบบภายในประเทศ[36]
เอทีอาร์ 72-600 29 2[34] 68 68
โบอิง 777-300อีอาร์ 9[37] 1[38] 44 54 244 342 จะปลดประจำการและทดแทนด้วยโบอิง 787 ในปี 2027[39][40]
6 53 34 201 294 เช่าจากคาเธ่ย์แปซิฟิก[41][42][43]
40 32 296 368
โบอิง 787-9 14[44] 2[45] 27 33 215 275 ลูกค้าเปิดตัว[46]
18 21 263 302
8 42 52 125 227 การจัดเรียงห้องโดยสารใหม่ในปี 2024[47]
4 22 33 213 272
โบอิง 787-10 6[48] รอประกาศ ทดแทนโบอิง 777-300อีอาร์ในปี 2027[40]
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8-300 23 50 50 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น
ฝูงบินของแอร์นิวซีแลนด์คาร์โก
บีตาอาลียา อีซีทอล 1[49] สินค้า จะเป็นเครื่องบินพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของแอร์นิวซีแลนด์
รวม 110 16

แอร์นิวซีแลนด์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 10.1 ปี

การบริการ

[แก้]

ห้องโดยสาร

[แก้]

ชั้นประหยัด

[แก้]
ที่นั่งชั้นประหยัด

ที่นั่งชั้นประหยัดมีให้บริการบนเครื่องบินทุกลำโดยจะมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 3-3-3 บนโบอิง 787, 3-4-3 บนโบอิง 777-200 และ 300 อีอาร์ ที่นั่งมีความกว้างประมาณ 790 -880 มิลลิเมตร สามารถเอนเบาะที่นั่งได้ประมาณ 152 มิลลิเมตร ที่นั่งชั้นประหยัดทุกที่นั่งได้มีการติดตั้งหน้าจอความบันเทิงไว้ทุกที่นั่ง โดยหน้าจอจะมีขนาด 9 ถึง 10 นิ้ว

ชั้นประหยัด สกายเคาช์

[แก้]

ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ มีให้บริการในเครื่องบิน โบอิง 787-9, โบอิง 777-200ER และ โบอิง 777-300ER โดยเป็นชุดที่นั่งชั้นประหยัดสามที่นั่งแถวริมหน้าต่างของห้องโดยสารที่มีพนักวางแขนที่สามารถหดกลับเข้าไปในที่นั่งด้านหลัง และที่พักขาแบบเต็มที่สามารถปรับยกขึ้นเองทีละตัวและแบบแมนนวล เพื่อสร้างพื้นผิวเรียบที่ยื่นออกไปทางด้านหลังของที่นั่งด้านหน้า ที่นั่งชั้นนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับครอบครัว เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับเล่นที่ราบเรียบ และสำหรับคู่รักที่ซื้อเบาะนั่งตรงกลางในราคาตัวละ 25% ก็สามารถใช้เป็นเบาะนอนราบได้[50][51]

ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ แต่ละที่นั่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเหมือนกับที่นั่งชั้นประหยัดแบบมาตรฐาน ที่นั่งชั้นนี้มีให้บริการเฉพาะในเส้นทางที่มีระยะเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงเท่านั้น ในกรณีที่เครื่องบินถูกใช้ในเส้นทางที่สั้นกว่า ที่พักขาจะถูกล็อกและที่นั่งชั้นสกายเคาช์จะทำหน้าที่เป็นที่นั่งชั้นประหยัดแบบปกติ

ชั้นประหยัดพรีเมียม

[แก้]
ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียม

ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมจะอยู่ในโซนเฉพาะในห้องโดยสาร ซึ่งใช้ห้องสุขาร่วมกับห้องโดยสาร ธุรกิจพรีเมียร ซึ่งมีอยู่ในเครื่องบินโบอิง 777-200ER, โบอิง 787-9 และโบอิง 777-300ER บางลำ ห้องโดยสารมีไฟส่องสว่าง การรับประทานอาหารและไวน์ที่คัดสรร และปลั๊กไฟในบริเวณที่นั่ง เช่นเดียวกับห้องโดยสารชั้นธุรกิจพรีเมียร์ ที่นั่งที่ได้รับการตกแต่งใหม่นั้นกว้างขึ้นด้วยการปรับเอนได้ขนาด 9 นิ้ว และที่พักขาที่ขยายได้ โดยมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 2-4-2 ในโบอิ้ง 777 และรูปแบบ 2-3-2 ในโบอิ้ง 787-9 ระยะห่างระหว่างที่นั่งประมาณ 41 นิ้ว (1,000 มม.)

ชั้นธุรกิจพรีเมียร

[แก้]
ที่นั่งชั้นธุรกิจพรีเมียร

ที่นั่งชี้นธุรกิจพรีเมียร์ เป็นชั้นโดยสารสูงสุดที่มีในเที่ยวบินของแอร์นิวซีแลนด์โดยมีให้บริการบนโบอิง 777 และโบอิง 787 ที่นั่งได้รับการกำหนดค่าในรูปแบบรูปแฉกแนวตั้งในรูปแบบ 1-2-1 บน 777 และ 1-1-1 บน 787 ทำให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถเข้าถึงทางเดินได้โดยตรง เบาะนั่งแต่ละที่นั่งเป็นหนังกว้าง 22 นิ้ว (560 มม.) และที่พักเท้าแบบอัตโนมัติที่สามารถใช้เป็นเบาะสำหรับแขกได้ เบาะนั่งสามารถปรับเป็นเตียงนอนราบแบบเต็มความยาวได้ (79.5 นิ้วหรือ 2,020 มม.)

ห้องรับรอง

[แก้]

แอร์นิวซีแลนด์ เลานจ์ เป็นชื่อสำหรับเครือข่ายห้องรับรองของสายการบินทั่วโลกของ แอร์นิวซีแลนด์ สมาชิกของโปรแกรมแอร์นิวซีแลนด์ โครู สามารถเข้าใช้ห้องรับรองและรับบริการจอดรถ ช่องเช็คอินพิเศษ ปริมาณสัมภาระเช็คอินเพิ่มเติม และที่นั่งที่สำรองไว้

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 แอร์นิวซีแลนด์ได้สูญเสียเครื่องบินสี่ลำและการจี้เครื่องบินสองครั้ง อุบัติเหตุที่เลวร้ายที่สุดของสายการบิน และเป็นเพียงอุบัติเหตุที่มีผู้โดยสารเสียชีวิต คือเที่ยวบินที่ 901 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 เมื่อเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ชนเข้ากับภูเขาไฟเอเรบัสในเที่ยวบินท่องเที่ยวเหนือทวีปแอนตาร์กติกา ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 257 คนบนเครื่องเสียชีวิต[52]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Air New Zealand Limited (104799) – Companies Office". Ministry of Business, Innovation and Employment. สืบค้นเมื่อ 7 September 2014.
  2. "Airline Membership". IATA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Air New Zealand Annual Financial Results 2022 (PDF) (Report). Air New Zealand. 25 August 2022. สืบค้นเมื่อ 30 May 2023.
  4. "Air New Zealand celebrates employees committed to Māori language". Māori Television (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-02.
  5. "Directory: World Airlines". Flight International. 27 March 2007. p. 64.
  6. "Air New Zealand: Facts & Figures". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2010.
  7. "Investor Updates". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 August 2016.
  8. "Investor Updates June 2017" (PDF). Air New Zealand. 31 July 2017. สืบค้นเมื่อ 19 April 2019.
  9. "Does any one airline fly all the way around the world?". Travel-nation.co.uk. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  10. "Air NZ cuts Hong Kong-London service | The National Business Review". Nbr.co.nz. 6 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2012. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  11. "Air New Zealand decides not to return to London". Business Traveller (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
  12. "We're committed to our environment เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air New Zealand. 21 (23/29). Retrieved 26 August 2009.
  13. "Awarded ATW Airline of the Year 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2012.
  14. Walker, Karen (10 January 2012). "ATW names Air New Zealand 2012 Airline of the Year". Air Transport World. สืบค้นเมื่อ 10 January 2012.
  15. "Safety Ranking 2014 » JACDEC". www.jacdec.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
  16. "Tasman Empire Airways Limited (TEAL) | Teal Motor Lodge | Gisborne New Zealand Accommodation | Book Direct and Save". www.teal.co.nz.
  17. http://www.teal.co.nz/teal/TEAL+2.htm[ลิงก์เสีย]
  18. "Big piece of Viaduct for little guys". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English).
  19. 19.0 19.1 19.2 "Air NZ readies for headquarters shift". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English).
  20. "International products & services - International Cargo | Air New Zealand - Cargo". www.airnewzealandcargo.com.
  21. "Air New Zealand Wine Awards - Cheap Flights, Airfares & Holidays - Air New Zealand Official Site - NZ". web.archive.org. 2008-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
  22. "Air New Zealand renews agreements to operate long haul Cook Islands services - Media releases 2014 - Media Releases - Media Centre - Company Information - Air New Zealand". web.archive.org. 2014-12-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-14. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.((cite web)): CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  23. "Co-operation partners - Airpoints™ | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
  24. "Air Canada and Air New Zealand to pursue joint venture". flightglobal.com. 27 Feb 2019. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  25. "ANA partner Airlines". ana.co.jp. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  26. "Asiana Airlines partners". flyasiana.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  27. "EVA Air and Air New Zealand sign codeshare agreement – Blue Swan Daily". blueswandaily.com (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 5 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-25. สืบค้นเมื่อ 5 November 2018.
  28. "Qantas, Air New Zealand announce codesharing partnership". news.com.au. 1 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
  29. "SAA codeshare partners". flysaa.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  30. "Turkish Airlines codeshare partners". turkishairlines.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  31. "Operating fleet - About Air New Zealand | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
  32. "Air New Zealand Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  33. "Air NZ commits to taking seven more A321neos". Flight Global. 24 August 2018. สืบค้นเมื่อ 24 August 2018.
  34. 34.0 34.1 "Air New Zealand adds four new aircraft to Regional and Short Haul fleet". Air New Zealand (Press release) (ภาษาNew Zealand English). สืบค้นเมื่อ 24 August 2023.
  35. "Airbus A321neo - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
  36. "Airbus A321neo (NZ Domestic) - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
  37. "Air New Zealand grows B777 fleet".
  38. "Air New Zealand Interim Financial Results 2024" (PDF).
  39. Carroll, Melanie (2022-11-15). "By the numbers: How Air NZ brings its planes in the desert back to life". Stuff (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  40. 40.0 40.1 "Air New Zealand to operate Dreamliners on all long-haul routes as Boeing 777s phased out". Newshub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
  41. "Boeing 777-367ER - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2024-05-13.
  42. "Boeing 777-367ER V2 - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2024-05-13.
  43. Granville, Alan (16 November 2023). "Why does this Air New Zealand plane look different?". www.stuff.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2024-05-13.
  44. Mrcaviation (2019-10-28). "3rd Level New Zealand: Air New Zealand Boeing 787-9 ZK-NZR delivered and enters service". 3rd Level New Zealand. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
  45. Esther Taunton and Roeland van den Bergh (10 May 2023). "Air fares set to tumble as Air NZ invests $3.5b in new aircraft and retrofitting fleet". Stuff. สืบค้นเมื่อ 10 May 2023.
  46. "Air New Zealand shows off stunning, all-black Dreamliner". 9 July 2014.
  47. Bradley, Grant (2022-06-29). "Revealed: Sleep pods, help-yourself food - Air NZ's biggest cabin overhaul in decades". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English). สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
  48. "Boeing Commercial Airplanes". www.boeing.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
  49. "Air NZ's new battery planes - how far will they fly?". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English). 6 December 2023. สืบค้นเมื่อ 6 December 2023.
  50. "Economy Skycouch™ - The long haul experience - Onboard your flight - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
  51. "Air New Zealand | Book Air NZ Flights with Confidence". www.airnewzealand.co.nz.
  52. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident McDonnell Douglas DC-10-30 ZK-NZP Mount Erebus". aviation-safety.net.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
แอร์นิวซีแลนด์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?