For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ตำบลแหลมผักเบี้ย.

ตำบลแหลมผักเบี้ย

ตำบลแหลมผักเบี้ย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Laem Phak Bia
แหลมหลวง
คำขวัญ: 
ศาลเจ้าตั้วเล่าเอี้ย ผักเบี้ยเป็นตำนาน โครงการพระราชดำริ ผลผลิตจากทะเล เสน่ห์ป่าโกงกาง สองฝั่งทางทำปลาหมึก สู่อ่าวลึกปะการังเทียม ยอดเยี่ยมหาดแหลมหลวง
ตำบลแหลมผักเบี้ยตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี
ตำบลแหลมผักเบี้ย
ตำบลแหลมผักเบี้ย
พิกัด: 13°01′47.6″N 100°05′02.4″E / 13.029889°N 100.084000°E / 13.029889; 100.084000
ประเทศไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.57 ตร.กม. (4.08 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด2,413 คน
 • ความหนาแน่น228.29 คน/ตร.กม. (591.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76100
รหัสภูมิศาสตร์760705
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ตราอย่างเป็นทางการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม
การปกครอง
 • นายกศรีเพชร นามเดช
รหัส อปท.06760711
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 64 หมู่ที่ 2 ทางหลวงชนบท พบ.ถ 85-008 ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76100
โทรศัพท์0 3244 1209
โทรสาร0 3244 1209
เว็บไซต์www.laemphakbia.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แหลมผักเบี้ย เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบลของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ด้านทิศใต้สุดของอำเภอบ้านแหลม องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นทั้งหมดในตำบลแหลมผักเบี้ย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย

ประวัติ

[แก้]

ตำบลแหลมผักเบี้ยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2490 โดยการโอนพื้นที่หมู่ที่ 7, 8, 9 และ 10 ของตำบลบางแก้วในสมัยนั้นมาเป็นหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 4 ในตำบลแหลมผักเบี้ย[1]

อาณาเขต

[แก้]

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลแหลมผักเบี้ยมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 หมู่บ้านพะเนิน
  • หมู่ที่ 2 หมู่บ้านดอนใน
  • หมู่ที่ 3 หมู่บ้านดอนกลาง
  • หมู่ที่ 4 หมู่บ้านดอนคดี

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

แหลมหลวง

[แก้]

แหลมหลวง เป็นแหลมยื่นออกจากฝั่งไปในทะเล โดยจะแยกระหว่างหาดทรายกับหาดโคลนออกจากกัน โดยทิศเหนือจะเป็นหาดโคลน ด้านทิศใต้เป็นหาดทราย สำหรับหาดทรายในตำบลแหลมผักเบี้ยนั้นเป็นหาดทรายจุดแรกของอ่าวไทยด้านซีกใต้ สืบเนื่องจากการไหลลงของน้ำจืดจากปากแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เมื่อตะกอนลงส่งทะเลจึงทำให้น้ำทะเลในช่วงนี้มีความขุ่นสูง จึงทำให้เป็นหาดโคลน แหลมหลวงจึงเหมาแก่การศึกษาระบบนิเวศได้ทั้ง 2 ระบบ ที่อยู่ในแหลมเดียวกัน

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช

[แก้]

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[2] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[3] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่

โครงการแหลมผักเบี้ย

[แก้]
แปลงพืชทดลองโครงการแหลมผักเบี้ยฯ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศึกษาวิจัยหารูปแบบเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดการใช้แปลงพืชกรองน้ำเสียและการกำจัดขยะ โดยใช้กล่องคอนกรีตที่เหมาะสมตามพระราชดำริ การทดลองประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาวิจัยสู่การแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะในพื้นที่จริง (เฉพาะเทศบาลเมืองเพชรบุรี) ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น[4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26): 1152–1153. 10 มิถุนายน 1490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  2. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑
  3. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.
  4. โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี www.lerd.org
  5. มูลนิธิชัยพัฒนา - แหลมผักเบี้ย http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=71 เก็บถาวร 2009-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ตำบลแหลมผักเบี้ย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?