For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for แคะ.

แคะ

ชาวฮากกา
(แคะ)
客家 Hak-kâ
客家漢族

ชาวฮากกา (แคะ) ในชุดตามประเพณี
ประชากรทั้งหมด
ป. 80 ล้านถึง 120 ล้านคนทั่วโลก[2][3]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) (มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลเจียงซี, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง)
ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ฮ่องกง ฮ่องกง
มาเก๊า มาเก๊า

ชาวจีนโพ้นทะเล (โดยการสืบเชื้อสาย):

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, สิงคโปร์), ส่วนอื่นของประเทศเอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป
ภาษา
ภาษาจีนแคะ
ศาสนา
ตามประเพณีทั่วไปของชาวจีนฮั่นที่นับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่:
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวฮั่นอื่น ๆ

แคะ หรือ ฮากกา คือ ชาวจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง มีการตั้งถิ่นฐานกระจายไปในหลายมณฑลของประเทศจีนได้แก่ ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและมณฑลฝูเจี้ยน, และยังครอบคลุมบางส่วนลึกเข้าไปในมณฑลเจียงซี โดยใช้ภาษาจีนฮากกา

กล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนแคะอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง. ช่วงที่สาม ที่ชาวจีนแคะอพยพลงใต้ คือช่วงที่ชาวหนี่ว์เจินสามารถยึดครองเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือไว้ได้. ช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่ราชวงศ์ซ่งถูกโค่นล้มโดยชาวมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวน และช่วงสุดท้ายคือสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกโค่นล้มโดยชาวแมนจูซึ่งก่อตั้งราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา

ชื่อเรียก

[แก้]

(客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า ขักก๊า ส่วนคำว่า "ฮากกา" ที่ใช้กันแพร่หลายนั้น มาจากการออกเสียงในภาษากวางตุ้ง) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชาวจีนแคะมักจะเรียกตัวเองในภาษาจีนแคะว่า 客家人 ฮากกาหงิ่น

ส่วนการกล่าวเรียกตัวเองสำหรับเชื้อชาติคนจีนแคะมักจะอ้างสิทธิว่าตนสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ดีที่สุด จึงมักเรียกตนตามภาษาจีนแคะว่า ฮอนหงิ่น (漢人; แปลว่า พสกนิกรหรือ ประชาชนของราชวงศ์ฮั่นหรือชาวฮั่น) ในปัจจุบันชาวจีนแคะรวมทั้งชาวจีนโพ้นทะเลอื่นๆ เช่น ชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนกวางตุ้ง มักกล่าวเรียกตนเองว่าเป็น (唐人; แปลว่า พสกนิกรหรือประชาชนราชวงศ์ถัง) (ภาษาแต้จิ๋ว: "ตึ่งนั้ง"; ภาษาจีนกวางตุ้ง: "ถ่องหยั่น" )

ภาษา

[แก้]

ชาวจีนแคะมักใช้ภาษาจีนแบบฮากกาในการสนทนาติดต่อกันในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันนั้นมีการวิจัยของมหาวิทยาลัยภาษาศาสตร์ในฮ่องกงว่า ภาษาจีนฮากกา (แคะ) จัดอยู่ในภาษาถิ่นของภาษาตระกูลจีนฮั่นซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนกลางมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาษาจีนท้องถิ่นอื่นๆ และภาษาจีนฮากกายังได้รักษาสำเนียงภาษาจีนฮั่นโบราณไว้ได้มากที่สุด

ในปัจจุบันภาษาจีนฮากกาจัดเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวัน[4]

ประวัติ

[แก้]

ที่มาของคำว่า แคะ

[แก้]

คำว่า แคะ นั้นกล่าวกันว่าเป็นคำเรียกที่ค่อนข้างใหม่ ระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี ได้โปรดให้มีการอพยพผู้คนแถบภูมิภาคชายฝั่งเป็นเวลาเกือบทศวรรษ เพื่อลดอิทธิพลที่ยังหลงเหลือของราชสำนักหมิง ซึ่งหลบหนีไปยังดินแดนซึ่งกลายเป็นไต้หวันในปัจจุบัน หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามได้แล้ว พระจักรพรรดิ์คังซีได้มีพระราชโองการ โปรดให้มีการอพยพผู้คนเข้าไปในดินแดนนี้อีกครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก มีการมอบเงินให้ครอบครัวแต่ละครอบครัว ไว้สำหรับเริ่มชีวิตใหม่โดยลงทะเบียนว่าเป็น 'ครอบครัวผู้มาเยือน' (客戶 เค่อฮู่) ส่วนชนดั้งเดิมซึ่งอพยพกลับมายังถิ่นเดิม ก็ได้พบกับการเข้ามาของผู้มาอยู่ใหม่ ชนดั้งเดิมก็เกิดความหวงแหนในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์กว่าของพวกเขา จึงผลักดันชนกลุ่มใหม่ออกไปรอบนอก หรือไปตั้งหลักทำมาหากินในเขตที่มีแต่ภูเขา เมื่อเวลาผ่านไปกระแสการต่อต้านในท้องถิ่นก็แผ่ขยาย และกล่าวกันว่าคำว่า แคะ กลายเป็นคำที่ชนดั้งเดิมใช้เรียกผู้มาอยู่ใหม่อย่างดูแคลน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกสิ่งดังกล่าวก็จางลง และมีการยอมรับคำว่าแคะให้ใช้เรียกชาวจีนแคะได้ในที่สุด เป็นที่รู้กันดีว่าชาวนาจีนแคะ ใช้เท้าขณะอยู่ในท่ายืนดึงวัชพืชออกจากนาข้าว ซึ่งเป็นความหยิ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ยอมคุกเข่า และคลานบนดินแดนที่เป็นของชาวแมนจู

กรณีนี้ก็มีความน่าสนใจประการหนึ่ง เพราะว่าชนที่มาอยู่ใหม่อาจไม่ใช่บรรพบุรุษ ของผู้พูดภาษาจีนแคะทั้งหมด เนื่องจากคำว่าแคะเป็นคำที่เหมาคลุม จากการศึกษารากเหง้าสืบสายชาวกวางตุ้งและแคะ พบว่าแซ่บางแซ่มีบรรพบุรุษเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มชนอื่น ดั้งนั้นบรรพบุรุษของชาวแคะจึงเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพลงมาทางใต้ เราสามารถพบเห็นชาวแคะในมณฑลทางใต้ของจีน เช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยนตะวันตก เจียงซี ตอนใต้ของหูหนาน กว่างซี ตอนใต้ของกุ้ยโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเสฉวน เกาะไหหลำและไต้หวัน

แม้ว่าชาวแคะจะมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างเฉพาะตัวจากประชากรโดยรอบ แต่ชาวแคะก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย และยังคงถูกจัดว่าเป็นชาวจีนฮั่น ในความขัดแย้งนี้ ชนกลุ่มเดิมถือว่าชาวแคะไม่ใช่คนจีนอย่างสิ้นเชิง แต่ว่าจากการสืบรากเหง้าซึ่งพบว่ามีบรรพบุรุษสายเดียวกัน ชาวแคะจึงเป็นชาวจีนเหมือนเพื่อนบ้านของพวกเขา

อาณาจักรไท่ผิง (เมืองแมนแดนสันติ)

[แก้]
หง ซิ่วเฉฺวียน ผู่ก่อตั้งอาณาจักรแห่งสวรรค์ไท่ผิง

ชาวจีนแคะยังมีบทบาทในการกบฏไท่ผิงซึ่งนำโดย หงซิ่วฉวนผู้เป็นชาวจีนแคะที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์และเป็นผู้นำสาวกซึ่งก่อตั้งอาณาจักรแห่งสวรรค์ไท่ผิง (ไท่ผิงเทียนกั๋ว)เข้าต่อต้านราชวงศ์ชิง ทรงประกาศใช้ภาษาจีนแคะเป็นภาษาราชการประจำอาณาจักร นับเป็นอาณาจักรที่ตั้งโดยชาวจีนแคะครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน

ชาวแคะในประเทศจีน

[แก้]
บริเวณที่มีชาวแคะอาศัยในจีน (แสดงด้วยสีเขียว)
บริเวณพื้นที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีชาวแคะหนาแน่น (ประกอบด้วยพื้นที่ที่มีสีเหลือง: บริเวณมณฑลกวางตุ้ง, มณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจียงซี)

ชาวแคะในมณฑลฮกเกี้ยน

[แก้]

ชาวแคะที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มนมณฑลฝูเจี้ยน (หรือคนไทยรู้จักในนามมณฑลฮกเกี้ยน) ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรียกว่า ถู่โหลว ซึ่งแปลว่าสิ่งก่อสร้างที่ทำจากดิน ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวแคะเป็นผู้ที่มาอยู่ใหม่ ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตภูเขา และเพื่อป้องกันจากพวกขโมย และปล้นสะดม

ถู่โหลว มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลม ออกแบบให้เป็นได้ทั้งป้อมค่ายและอาคารคล้ายอพาร์ตเมนต์ในเวลาเดียวกัน มีแต่ประตูทางเข้าออก ไม่มีหน้าต่างในระดับพื้นดิน แต่ละชั้นก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ชั้นแรกเป็นชั้นไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเอาไว้สำหรับเก็บอาหาร และชั้นสามเป็นที่อยู่อาศัย

ชาวแคะในมณฑลกวางตุ้ง

[แก้]

ส่วนมากชาวแคะในมณฑลนี้จะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของมณฑล โดยเฉพาะในเขตซิ่งหนิง-เหมยเสี้ยน (ตัวเต็ม: 興寧-梅縣, ตัวย่อ: 兴宁-梅县) เช่นเดียวกับญาติของพวกเขาในมณฑลฮกเกี้ยน ชาวแคะก็มีสถาปัตยกรรมเป็นของตน เรียกว่า เหวยหลงวู (ตัวเต็ม: 圍龍屋, ตัวย่อ: 围龙屋, wéilóngwū) และ ซื่อเจี่ยวโหลว (四角楼 sìjǐaolóu)

ชาวแคะนอกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

ชาวแคะส่วนมากที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และติมอร์-เลสเต

นอกจากนี้ชาวแคะก็ได้อพยพไปที่อื่น ๆ ด้วย เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์ และยังพบชาวแคะในแอฟริกาใต้ มอริเชียส และหมู่เกาะแคริบเบียนโดยเฉพาะในจาเมก้า ชาวแคะพลัดถิ่นในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวดองกับฮ่องกง และน่าจะอพยพออกมาเมื่อครั้งฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร

ในไต้หวัน ประชากรราวร้อยละ 15 เป็นชาวแคะ ดังนั้นจึงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความสำคัญ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เกิดความขัดแย้งถึงขั้นใช้อาวุธเข้าปะทะกันระหว่างชาวแคะและชาวฝูเหล่า (福佬) ขึ้นหลายครั้ง บางครั้งเกิดจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ บ้างก็จากการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชน 2 กลุ่มนี้มาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามชนทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

ในไทย ชุมชนชาวแคะที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่บ้านห้วยกระบอก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี[5]

บุคคลสำคัญที่เป็นชาวแคะ

[แก้]

ถึงแม้ประชากรชาวแคะจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ของชาวจีนและของชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิวัติและผู้นำทางการเมือง และก็ยังคงเป็นจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีนซึ่งผู้นำจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นชาวแคะ ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 ชาวจีนแคะที่มีชื่อเสียงถึง 3 ท่านได้ครองอำนาจทางการเมืองพร้อม ๆ กันใน 3 ประเทศซึ่งมีชาวจีนเป็นชนส่วนใหญ่ อันได้แก่ เติ้งเสี่ยวผิงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลี่เติงฮุยแห่งสาธารณรัฐจีน และลีกวนยูแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์

นอกจากนี้ ทั้งดร.ซุนยัดเซ็น เติ้งเสี่ยวผิง และลีกวนยู ซึ่งต่างก็เป็นชาวแคะ และยังเป็น 3 คนในชาวจีน 4 คนซึ่งนิตยสารไทม์ (Time Magazine) จัดอันดับให้เป็นชาวเอเชียที่ทรงอิทธิพลที่สุด 20 อันดับแรกในศตวรรษที่ 20 ส่วนอันดับ 4 คือ เหมาเจ๋อตุง

รายนามบุคคลสำคัญชาวแคะที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

[แก้]
ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนไต้หวันคนปัจจุบัน

ในประเทศไทย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ผู้คนและอัตลักษณ์

[แก้]
  • Char, Tin-yuke (1969). The Hakka Chinese – Their Origin & Folk Songs. Jade Mountain Press.
  • Eberhard, Wolfram (1974). Studies in Hakka Folktales. Taipei: Chinese Association for Folklore.
  • Kiang, Clyde (July 1991). The Hakka Search for a Homeland. Allegheny Press. ISBN 9780910042611.
  • Constable, Nicole, บ.ก. (1996). Guest People: Hakka Identity in China and Abroad. University of Washington Press. ISBN 9780295984872.
  • Leong, Sow-Theng (1997). Wright, Tim (บ.ก.). Migration and Ethnicity in Chinese History: Hakkas, Pengmin and Their Neighbors. Stanford University Press. ISBN 9780804728577.
  • Chung, Yoon-Ngan (2005). The Hakka Chinese: Their Origin, Folk Songs and Nursery Rhymes. Poseidon Books. ISBN 978-1921005503.
  • Leo, Jessieca (September 2015). Global Hakka: Hakka Identity in the Remaking. BRILL. ISBN 9789004300262.

การเมือง

[แก้]
  • Erbaugh, Mary S. (December 1992). "The Secret History of the Hakkas: The Chinese Revolution as a Hakka Enterprise". The China Quarterly. 132 (132): 937–968. doi:10.1017/S0305741000045495. JSTOR 654189.
  • Spence, Jonathan D. (December 1996). God's Chinese Son: The Taiping Heavenly Kingdom of Hong Xiuquan. W. W. Norton & Company. ISBN 9780393315561.
  • Zhang, Delai (2002). The Hakkas of Sabah: A Survey of Their Impact on the Modernization of the Bornean Malaysian State. Sabah Theological Seminary. ISBN 9789834084004.
  • Yong, Kee Howe (July 2013). The Hakkas of Sarawak: Sacrificial Gifts in Cold War Era Malaysia. University of Toronto Press. ISBN 9781442615465.
  • Lee, Wei Ling (January 2015). Yap, Koon Hong (บ.ก.). A Hakka Woman's Singapore Stories: My Life as a Daughter, Doctor and Diehard Singaporean. Straits Times Press. ISBN 9789814642477.
  • Liu, L. Larry (January 2015). Hakkas in Power: A Study of Chinese Political Leadership in East and Southeast Asia, and South America. Create Space Independent Publishing Platform. ISBN 9781505429435.

ภาษา

[แก้]
  • Lee, T.H. (1955). Hakka Lessons for Malayan Students. Government Federation of Malaya.
  • Tsang, Joseph Mang Kin (January 2003). The Hakka Epic. President's Fund for Creative Writing in English. ISBN 9789990397406.
  • Chen, Matthew Y.; Lian, Hee Wee; Yan, Xiuhong (2004). The Paradox of Hakka Tone Sandhi. Dept of Chinese Studies, National University of Singapore. ISBN 9789810519438.
  • Hashimoto, Mantaro J. (June 2010). The Hakka Dialect: A Linguistic Study of its Phonology, Syntax and Lexicon. Cambridge University Press. ISBN 9780521133678.

ศาสนา

[แก้]
  • Constable, Nicole (August 1994). Christian Souls and Chinese Spirits: A Hakka Community in Hong Kong. University of California Press. ISBN 9780520083844.
  • Lutz, Jessie G.; Lutz, Rolland Ray (January 1998). Hakka Chinese Confront Protestant Christianity, 1850-1900: With the Autobiographies of Eight Hakka Christians, and Commentary. Routledge. ISBN 9780765600387.
  • Christofferson, Ethan (September 2012). Negotiating Identity: Exploring Tensions between Being Hakka and Being Christian in Northwestern Taiwan. Wipf & Stock Publishers. ISBN 9781610975032.

อาหาร

[แก้]
  • Anusasananan, Linda Lau (October 2012). The Hakka Cookbook: Chinese Soul Food from around the World. University of California Press. ISBN 9780520273283.

ประวัติครอบครัว

[แก้]
  • Tan, Amy (October 1995). The Hundred Secret Senses. Penguin Books. ISBN 9780399141157. The book was shortlisted for the 1996 Orange Prize for Fiction.[6]
  • Lee, J.P. (January 2004). Breaking the Curse of the Green Dragon (A Hakka Story). Instrument of Truth. ISBN 9789810480424.
  • Chin, Woon Ping (June 2008). Hakka Soul: Memories, Migrations and Meals. University of Hawaii. ISBN 9780824832896.
  • Huang, Suhua (April 2012). A Faithful Reading Partner: A Story from a Hakka Village. AuthorHouse. ISBN 9781468562675.
  • Lampotang, Peggy (January 2014). The Coral Heart: A Shopkeeper's Journey. Atelier d'ecriture. ISBN 9789990336924.
  • Sze, Elsie (February 2014). Ghost Cave: A Novel of Sarawak. Hong Kong Women in Publishing Society. ISBN 978-1496073945.
  • Hsiung, C. Fong (September 2014). Picture Bride. Mawenzi House/TSAR Publishers. ISBN 9781927494394.
  • Lin Ung, Charlene (March 2015). Nam Moi: A Young Girl's Story of Her Family's Escape from Vietnam. Createspace Independent Publishing Platform. ISBN 9781508700791.
  • Madison, Paula Williams (April 2015). Finding Samuel Lowe: China, Jamaica, Harlem. Amistad. ISBN 9780062331632.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rubinstein, Murray A. (2004), "Rethinking Taiwanese and Chinese Identity: Melissa J. Brown's Is Taiwan Chinese?" (PDF), iir.nccu.edu.tw, Institute of International Relations, vol. 40, pp. 454–458, ISSN 1013-2511, OCLC 206031459, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 July 2011
  2. "Hakka population". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  3. "客家文化探密:怀念先人 感念生活 客家人闹元宵". Sina Corp.
  4. "Hakka made an official language".
  5. "คิดเช่น Gen D 08 12 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  6. "Orange past winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 11 May 2008.
  • Rouil, C., Formose: des batailles presque oubliées (Taipei, 2001)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
แคะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?