For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เอมีล ไอเซินโฮเฟอร์.

เอมีล ไอเซินโฮเฟอร์

เอมีล ไอเซินโฮเฟอร์ (เยอรมัน: Emil Eisenhofer) เป็นวิศวกรชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ควบคุมและวางแผนการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์ที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทยและสร้างบนที่สูงที่สุดในประเทศไทย และยังต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานที่สุดอีกด้วย

ประวัติ

[แก้]

นายไอเซินโฮเฟอร์สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิคที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ก่อนสำเร็จการศึกษาได้ทำงานเกี่ยวกับทางรถไฟในประเทศเยอรมนี ทั้งการสร้างอุโมงค์ในเวสปาเลีย กับสร้างประตูน้ำและทำนบในแม่น้ำ

นายไอเซินโฮเฟอร์เดินทางมาสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 และเข้าทำงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทย[1] เมื่อปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่กรมรถไฟหลวงได้จ้างชาวเยอรมันทำงานเป็นช่างเทคนิค และงานในหน้าที่อื่น ๆ เป็นจำนวนเกือบถึง 250 คน

มีการขุดอุโมงค์สองแห่ง ยาว 109 เมตร และ 1,362 เมตร ได้ใช้คนงานจีนทำงานเกี่ยวกับดิน ส่วนการขุดเจาะอุโมงค์ภูเขาใช้คนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แต่เนื่องจากทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยป่า คนงานจึงเป็นไข้มาลาเรียและอหิวาตกโรค รวมถึงนายไอเซินโฮเฟอร์ที่เป็นไข้มาลาเรียเช่นกัน

ในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาน เมื่อ พ.ศ. 2456 ใช้วิธีเจาะเข้าไปในภูเขาพร้อมกันทั้งสองด้าน โดยใช้ไดนาไมต์เจาะระเบิดภูเขา นายไอเซินโฮเฟอร์ได้ประดิษฐ์เครื่องระบายอากาศในระหว่างทำการก่อสร้างทางตอนลำปางถึงเชียงใหม่ จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เหล็กสะพานที่สั่งซื้อจากเยอรมนีไม่สามารถส่งมาได้ จึงได้ใช้ไม้เนื้อแข็งทำสะพานแทน ส่วนสะพานสูงใกล้อุโมงค์ ได้วางรางลัดเลาะไปตามเขาแล้วยกระดับรางให้สูงขึ้น เพื่อสะดวกในการวางรางเข้าไปสู่อุโมงค์ แต่เมื่อได้สร้างทางรถไฟเสร็จทั้งสองด้าน แต่อุโมงค์ยังไม่เสร็จ นายไอเซินโฮเฟอร์จึงลำเลียงหัวรถจักร รถบรรทุกและวัสดุในการก่อสร้างข้ามภูเขาดังกล่าว จนสามารถขุด หลังจากทำการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานมาได้ 4 ปี พอถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 ทางอุโมงค์ตอนลำปาง-ขุนตาน และตอนขุนตาน-เชียงใหม่ ก็สร้างเสร็จเรียบร้อย อุโมงค์ขุนตานเริ่มดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 11 ปี ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1,362,050 บาท อุโมงค์มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.40 เมตร และยาว 1,352.10 เมตร เพดานผนังอุโมงค์โค้งรัศมี 2.50 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก[2]

โดยในปี พ.ศ. 2460 นี้เองในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สยามอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเยอรมนี นายไอเซินโฮเฟอร์และเพื่อนร่วมชาติถูกทางการส่งเข้าค่ายกักกันพลเรือน ถูกยึดทรัพย์ และต่อมาถูกส่งไปอินเดีย หลายปี ในวันปีใหม่ของปี พ.ศ. 2473 นายไอเซินโฮเฟอร์กลับมาสยามพร้อมภรรยา ทางการสยามเล็งเห็นคุณูปการที่เขาเคยสร้างและจ่ายเงินชดเชยให้เป็นค่าทรัพย์ที่ถูกยึด เขาได้อยู่ที่ศรีราชา โดยเป็นผู้จัดการบริษัทค้าไม้ จากนั้นกลับมายังกรุงเทพเมื่อ พ.ศ. 2478[3] ต่อมา ทำงานเป็นวิศวกรโยธาอยู่ที่ บริษัทเพาล์ พิคเคินพัค (Paul Pickenpack) เป็นผู้นำเข้าสินค้าหลายประเภท ทั้งเบียร์ ไวน์ สุรา นมกระป๋อง รถนั่งส่วนบุคคล รถบรรทุก รถราง อุปกรณ์รถไฟ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ถ่ายภาพ และเครื่องจักรอื่น ๆ[1]

นายไอเซินโฮเฟอร์เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2505 ปัจจุบันอัฐิของเขายังคงสถิตในอนุสาวรีย์อยู่ ณ ปากอุโมงค์ขุนตานทางด้านทิศเหนือ เขตแม่ทา จังหวัดลำพูน[4]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

นายไอเซินโฮเฟอร์มีภรรยาชื่อ นางเอียร์มการ์ท (Irmgard) เป็นครูสอนภาษาและสอนว่ายน้ำ เมื่อครั้งที่พระองค์เจ้าอานันทมหิดลและพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชยังทรงพระเยาว์ นางได้ถวายการสอนว่ายน้ำแด่ทั้งสองพระองค์ในทะเลหัวหิน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ตอน เหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนเส้นทาง ของตระกูลภิรมย์ภักดี ไปตลอดกาล". สิงห์ แมกกาซีน. 4 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2020.
  2. "มร. เอมิล ไฮเซนโฮเฟอร์และโคมเป็ด". หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-09. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Reinhard Hohler. "Emil Eisenhofer and the German connection". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. เพ็ญสุภา สุขคตะ (15 ธันวาคม 2559). "ปริศนาโบราณคดี : "อุโมงค์ขุนตาน" สร้างนาน 14 ปี โศกนาฏกรรมแห่งแรงงานฝิ่น". มติชนรายสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เอมีล ไอเซินโฮเฟอร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?