For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เหรียญฟีลดส์.

เหรียญฟีลดส์

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
เหรียญฟีลดส์
ด้านหน้าของเหรียญฟีลดส์
รางวัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นในวิชาคณิตศาสตร์ อันเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
ประเทศแตกต่างกันไป
จัดโดยสหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ (IMU)
รางวัล15,000 ดอลลาร์แคนาดา
รางวัลแรก1936; 88 ปีที่แล้ว (1936)
รางวัลสุดท้ายค.ศ. 2022 (2022)
เว็บไซต์Mathunion.org

เหรียญฟีลดส์ (อังกฤษ: Fields Medal) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักคณิตศาสตร์จำนวน 2-4 คน ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในการประชุมคณิตศาสตร์นานาชาติของสหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Mathematics Union หรือ IMU) ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี รางวัลเหรียญฟีลดส์ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับนักคณิตศาสตร์

รางวัลนี้มอบให้พร้อมกับเงินรางวัลเป็นจำนวน 15,000 ดอลลาร์แคนาดา (ตั้งแต่ปี 2006)[1][2] เหรียญฟีลดส์ก่อตั้งโดยความประสงค์ของนักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา จอห์น ชาร์ลส์ ฟีลดส์ (John Charles Fields) มอบรางวัลครั้งแรกในปี 1936 แก่นักคณิตศาสตร์ชาวฟินแลนด์ชื่อ ลาร์ส อาห์ลฟอร์ (Lars Ahlfors) และนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เจสส์ ดักลาส (Jesse Douglas) และจัดมอบทุก ๆ 4 ปีมาตั้งแต่ปี 1950 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและให้เกียรตินักวิจัยวัยหนุ่มสาวที่อุทิศตนเพื่องานด้านคณิตศาสตร์

ภาพรวม

[แก้]

เหรียญฟีลดส์ มักถูกเรียกว่าเป็น "รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์" แต่การเรียกแบบนี้อาจไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากเหรียญฟีลดส์จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี อีกทั้งยังจำกัดอายุของผู้รับรางวัลไม่ให้เกิน 40 ปี ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการมอบรางวัล อีกทั้งยังมีเงินรางวัลที่มอบให้น้อยกว่าเงินรางวัลของรางวัลโนเบลอยู่มาก ประการสุดท้ายคือ เมื่อพิจารณาในส่วนปาฐกถาแล้ว เหรียญฟีลดส์มอบรางวัลให้แก่ผลงานทั้งหมด ไม่ใช่ผลงานบางส่วน

รางวัลหลักทางคณิตศาสตร์อื่นๆ เช่น รางวัลอาเบล (Abel Prize) หรือ รางวัลวูล์ฟสาขาคณิตศาสตร์ (Wolf Prize in Mathematics) มอบให้กับผลงานโดยรวม ซึ่งทำให้แตกต่างจากรางวัลโนเบล แม้ว่ารางวัลอาเบลจะมีเงินรางวัลมากเหมือนรางวัลโนเบลก็ตาม

รายชื่อผู้ได้รับรางวัล

[แก้]
  • ค.ศ. 2022: Hugo Duminil-Copin (ฝรั่งเศส), June Huh (สหรัฐอเมริกา), James Maynard (อังกฤษ), Maryna Viazovska (ยูเครน)
  • ค.ศ. 2018: Caucher Birkar (อิหร่าน), Alessio Figalli (อิตาลี), Peter Scholze (เยอรมนี), Akshay Venkatesh (อินเดีย/ออสเตรเลีย)
  • ค.ศ. 2014: Artur Avila (บราซิล), Manjul Bhargava (แคนาดา), Martin Hairer (ออสเตรีย), Maryam Mirzakhani (อิหร่าน)
  • ค.ศ. 2010: Elon Lindenstrauss (อิสราเอล), Ngô Bảo Châu (เวียดนาม), Stanislav Smirnov (รัสเซีย), Cédric Villani (ฝรั่งเศส)
  • ค.ศ. 2006: Andrei Okounkov (รัสเซีย), Grigori Perelman (รัสเซีย) (ปฏิเสธรางวัล), Terence Tao (ออสเตรเลีย), Wendelin Werner (ฝรั่งเศส)
  • ค.ศ. 2002: Laurent Lafforgue (ฝรั่งเศส), Vladimir Voevodsky (รัสเซีย)
  • ค.ศ. 1998: Richard Ewen Borcherds (สหราชอาณาจักร), William Timothy Gowers (สหราชอาณาจักร), Maxim Kontsevich (รัสเซีย), Curtis T. McMullen (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1994: Efim Isakovich Zelmanov (รัสเซีย), Pierre-Louis Lions (ฝรั่งเศส), Jean Bourgain (เบลเยียม), Jean-Christophe Yoccoz (ฝรั่งเศส)
  • ค.ศ. 1990: Vladimir Drinfeld (สหภาพโซเวียต), Vaughan Frederick Randal Jones (นิวซีแลนด์), Shigefumi Mori (ญี่ปุ่น), Edward Witten (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1986: Simon Donaldson (สหราชอาณาจักร), Gerd Faltings (เยอรมนีตะวันตก), Michael Freedman (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1982: Alain Connes (ฝรั่งเศส), William Thurston (สหรัฐอเมริกา), Shing-Tung Yau (จีน/สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1978: Pierre Deligne (เบลเยียม), Charles Fefferman (สหรัฐอเมริกา), Grigory Margulis (สหภาพโซเวียต), Daniel Quillen (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1974: Enrico Bombieri (อิตาลี), David Mumford (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1970: Alan Baker (สหราชอาณาจักร), Heisuke Hironaka (ญี่ปุ่น), Sergei Petrovich Novikov (สหภาพโซเวียต), John Griggs Thompson (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1966: Michael Atiyah (สหราชอาณาจักร), Paul Joseph Cohen (สหรัฐอเมริกา), Alexander Grothendieck (ฝรั่งเศส), Stephen Smale (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1962: Lars Hörmander (สวีเดน), John Milnor (สหรัฐอเมริกา)
  • ค.ศ. 1958: Klaus Roth (สหราชอาณาจักร), René Thom (ฝรั่งเศส)
  • ค.ศ. 1954: Kunihiko Kodaira (ญี่ปุ่น), Jean-Pierre Serre (ฝรั่งเศส)
  • ค.ศ. 1950: Laurent Schwartz (ฝรั่งเศส), Atle Selberg (นอร์เวย์)
  • ค.ศ. 1936: Lars Ahlfors (ฟินแลนด์), Jesse Douglas (สหรัฐอเมริกา)

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • ปี 1954 Jean-Pierre Serre เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 27 ปี
  • ปี 1966 Alexander Grothendieck ปฏิเสธที่จะรับรางวัล เพื่อประท้วงการรุกรานของโซเวียตในยุโรปตะวันออก Léon Motchane ทำหน้าที่เป็นผู้รับรางวัลแทนเขา
  • ปี 1970 Sergei Novikov ถูกรัฐบาลโซเวียตกดดันไม่ให้รับรางวัลดังกล่าว
  • ปี 1978 Grigory Margulis ถูกรัฐบาลโซเวียตกดดันไม่ให้รับรางวัลดังกล่าว Jacques Tits ทำหน้าที่เป็นผู้รับรางวัลแทนเขา
  • ปี 1982 มีการเลื่อนการประชุมไปในปีถัดไป เนื่องจากมีการประกาศกฎอัยการศึกในวอร์ซอ รางวัลถูกมอบในปีต่อมา
  • ปี 1990 Edward Witten เป็นนักฟิสิกส์คนแรกที่ได้รับรางวัล
  • ปี 1998 Andrew Wiles ได้รับโล่เงินประกาศเกียรติคุณเป็นคนแรก จากผลงานการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ถึงแม้ว่าไวลส์จะมีอายุเกิน 40 ปีในตอนที่ได้รับรางวัลแล้วก็ตาม (ไวลส์ตีพิมพ์บทพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ตอนอายุ 41 ปี)
  • ปี 2006 กริกอรี เพเรลมาน (Grigori Perelman) ผู้พิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร ปฏิเสธที่จะรับรางวัลดังกล่าว
  • ปี 2014 Maryam Mirzakhani เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัล[3] และ Artur Avila เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้คนแรกที่ได้รับรางวัล[4]

เหรียญรางวัล

[แก้]

เหรียญรางวัล ออกแบบและสร้างโดยประติมากรชาวแคนาดาชื่อ Robert Tait McKenzie ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปของอาร์คิมิดีส (Archimedes) และมีข้อความเป็นภาษาลาติน ว่า "Transire suum pectus mundoque potiri" (เจริญเหนือตนเองและเข้าใจโลก)

ด้านหลังของเหรียญมีจารึกเป็นภาษาลาตินว่า

CONGREGATI
EX TOTO ORBE
MATHEMATICI
OB SCRIPTA INSIGNIA
TRIBUERE

(แปลว่า "นักคณิตศาสตร์ผู้ประชุมจากทั่วโลกมอบรางวัล [นี้] สำหรับงานเขียนโดดเด่น")

ในส่วนพื้นหลังแสดงหลุมศพของอาร์คิมีดีส ซึ่งสลักทฤษฎีบทของเขาไว้ (ทรงกลมบรรจุในทรงกระบอกที่มีความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน) และมีกิ่งไม้อยู่ด้านหลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]
  • รายชื่อรางวัลและเหรียญรางวัลทางคณิตศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Maths genius turns down top prize". BBC. 22 August 2006. สืบค้นเมื่อ 22 August 2006.
  2. Israeli wins 'Nobel' of Mathematics, JPost.com
  3. [1]
  4. [2]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เหรียญฟีลดส์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?