For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ช่องเวิร์คพอยท์.

ช่องเวิร์คพอยท์

ช่องเวิร์คพอยท์
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ

ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
สำนักงานใหญ่99 หมู่ 2 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
720p (16:9 ภาพคมชัดสูง/ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด
บริษัทแม่เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
บุคลากรหลักปัญญา นิรันดร์กุล
(ประธาน)
ประภาส ชลศรานนท์
(รองประธาน)
ชลากรณ์ ปัญญาโฉม
(CEO ดิจิทัล)
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ
  • ระบบดาวเทียม:
    26 กันยายน พ.ศ. 2554 (12 ปี)
  • ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน:
    1 เมษายน พ.ศ. 2557 (10 ปี)
  • ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
    2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (8 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์www.workpointtv.com
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 23 (มักซ์#2 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 23
ทีวีดาวเทียม
ไทยคม 6 C-Band3920 H 30000
ไทยคม 6 C-Band4080 H 30000
ไทยคม 8 KU-Band11560 H 30000
ช่อง 23
สื่อสตรีมมิง
WPtvเวิร์คพอยท์

ช่องเวิร์คพอยท์ เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ รูปแบบรายการทั่วไป ประเภทความละเอียดมาตรฐาน บริหารงานโดย บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ในเครือบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เน้นออกอากาศรายการเกมโชว์และวาไรตี้โชว์เป็นหลัก รวมถึงย้ายรายการที่เวิร์คพอยท์เคยผลิตออกอากาศทางฟรีทีวีในอดีตมาออกอากาศในช่องนี้ด้วย

ประวัติ

[แก้]

ช่องเวิร์คพอยท์เริ่มทดลองออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554[1] และมีการกำหนดผังรายการอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยเน้นออกอากาศรายการที่เวิร์คพอยท์เคยผลิตออกอากาศทางฟรีทีวีในอดีต เดิมกำหนดยุติระยะทดลองและเริ่มออกอากาศเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่เนื่องจากอาคารปฏิบัติการของเวิร์คพอยท์ในจังหวัดปทุมธานี ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ จึงเลื่อนกำหนดการดังกล่าวเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน

ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ มอบหมายให้ บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก เข้าร่วมประมูลช่องรายการกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ในประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง และภาพคมชัดปกติ ผลปรากฏว่า บจก.ไทย บรอดคาสติ้ง ผ่านการประมูลในประเภทภาพคมชัดปกติ หมายเลขช่อง 23 โดยเริ่มทดลองออกอากาศภาคพื้นดิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก[2]

การปรับช่องหมายเลขและความคมชัด

[แก้]

กสทช. เรียงลำดับโทรทัศน์ระบบจานดาวเทียมและเคเบิล โดยกำหนดให้มี 10 ช่องหมายเลขแรก และตามด้วยช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งกล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ช่องเวิร์คพอยท์ อยู่หมายเลข 1 จึงใช้ชื่อว่า "ช่อง 1 เวิร์คพอยท์" ส่วนกล่องดาวเทียมรุ่นอื่น ๆ จะอยู่หมายเลข 33 และระบบดิจิทัลหมายเลข 23 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ต่อมาตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ในระบบดาวเทียมและเคเบิล ช่องเวิร์คพอยท์อยู่หมายเลข 33 ซึ่งช่องเวิร์คพอยท์ที่อยู่หมายเลข 1 ของกล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ได้นำออกไป

ในประเภทรายการทั่วไป ผลปรากฏว่า บจก.ไทย บรอดคาสติ้ง ผ่านการประมูลในประเภทภาพคมชัดปกติ แต่กล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ได้ออกอากาศช่องเวิร์คพอยท์ในภาพคมชัดสูง กสทช. จึงแจ้งเตือนให้ปรับความคมชัดลง[3] และตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป กสทช. ได้ยกเลิก 10 ช่องหมายเลขแรกของจานดาวเทียม และจัดเรียงช่องเบอร์เดียวทุกระบบ ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อไม่ให้ผู้รับชมเกิดความสับสนหมายเลขช่อง[4][5] ทำให้ช่องเวิร์คพอยท์ถูกบังคับให้ออกอากาศทางช่องหมายเลข 23 ทุกระบบ และส่งผลให้เวิร์คพอยท์ต้องโปรโมทช่องของตัวเองใหม่ว่า "ช่องเวิร์คพอยท์ กดหมายเลข 23"

รายการข่าว

[แก้]

ช่องเวิร์คพอยท์เริ่มมีรายการข่าวตั้งแต่สมัยอยู่ดาวเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยว่าจ้างมติชนให้ผลิตรายการ โดยเริ่มออกอากาศวันแรกในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555[6] ต่อมาจึงได้เพิ่มข่าวในช่วงเวลาต่าง ๆ และข่าวต้นชั่วโมงเรื่อย ๆ จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2558 ช่องเวิร์คพอยท์ต้องการสร้างทีมข่าวเอง จึงได้เรียกคืนเวลารายการข่าวซึ่งเป็นของมติชนทีวีเดิมมาผลิตเองทั้งหมด โดยได้ตั้งทีมข่าว "เวิร์คพอยท์นิวส์" มาผลิตรายการข่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน[7] ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จึงได้เปิดตัวรายการใหม่ "เวิร์คพอยท์ทูเดย์" ซึ่งเป็นรายการข่าวทางออนไลน์ของทีมข่าวเวิร์คพอยท์นิวส์ ก่อนจะมีการปรับรูปแบบเวิร์คพอยท์นิวส์ขึ้นเป็นสำนักข่าวออนไลน์เต็มรูปแบบในชื่อ "เวิร์คพอยท์ทูเดย์" ในปี พ.ศ. 2563[8] และแยกพื้นที่นำเสนอออกจากทีมข่าวทางโทรทัศน์อยู่แต่เดิมซึ่งต่อมาในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 เปลี่ยนชื่อเป็น "ข่าวเวิร์คพอยท์ 23" แต่ยังคงทำงานร่วมกันอยู่[9]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • สมภพ รัตนวลี (ผอ.ติ่ง)
  • บรรจง ชีวมงคลกานต์ (บรรจง)
  • รินรดา รวีเลิศ (หยก)
  • สุภาพชาย บุตรจันทร์ (แป๊ะ)
  • ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ (เอ)
  • กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี (เบนซ์)
  • อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ (ลูกตาล)
  • ประภาศรี สภานนท์ (สอง)
  • ธนภัทร ติรางกูล (ชิน)
  • กาลเวลา เสาเรือน (ปอเปี๊ยะ)

รายการข่าวในปัจจุบัน

[แก้]
รายการข่าว ผู้ประกาศข่าว
ตลาดข่าวเวิร์คพอยท์
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 04:25 – 06:30 น.
ตลาดข่าวสุดสัปดาห์
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 05:00 – 06:30 น.
สุภาพชาย บุตรจันทร์
ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ (ช่วงที่ 1) (เสาร์-อาทิตย์)
ประภาศรี สภานนท์ (ช่วงที่ 1)
บรรจง ชีวมงคลกานต์ (ช่วงที่ 2)
รินรดา รวีเลิศ​ (ช่วงที่ 2)
ข่าวเช้าเวิร์คพอยท์
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 06:30 – 08:45 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 06:30 – 08:30 น.
สุภาพชาย บุตรจันทร์
บรรจง ชีวมงคลกานต์
รินรดา รวีเลิศ
ห้องข่าวบันเทิง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 08:45 – 09:20 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 08:30 – 09:00 น.
สุดารัตน์ บุตรพรม
กรกันต์ สุทธิโกเศศ (วันจันทร์ – วันศุกร์)
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา (วันเสาร์ – วันอาทิตย์)
กาลเวลา เสาเรือน (ตีสนิทติดเปี๊ยะ)
โต๊ะหนูแหม่ม
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 11:00 – 11:45 น.
สุริวิภา กุลตังวัฒนา
สดข่าวเที่ยง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 11:25 – 13:00 น. (Live ออนไลน์ เวลา 11:25 น. ต่อเนื่องทางสถานี เวลา 11:45)
กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี
อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ
ธนภัทร ติรางกูล (สดจากที่จริง)
เคลียร์ ชัด ชัด
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 13:00 – 13:45 น.
ภูวนาท คุนผลิน
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
นารากร ติยายน
ติ่งชงจงเสิร์ฟ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 15:15 – 16:15 น.
สมภพ รัตนวลี
บรรจง ชีวมงคลกานต์
บรรจงชงข่าว
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 16:15 – 17:47 น.
บรรจง ชีวมงคลกานต์
ประภาศรี สภานนท์ (เสพดราม่า)
ณัฏฐ์ชนิตว์ เทียนน้อย (ร้องทุกข์กับบรรจง)
ธนภัทร ติรางกูล (ชินสแกนโกง)
ติ่งข่าว
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 17:47 – 17:57 น.
สมภพ รัตนวลี
รินรดา รวีเลิศ
ไฮไลท์บันเทิง
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 17:57 – 18:00 น.
กาลเวลา เสาเรือน
2 ข่าวใหญ่
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 19:57 – 20:00 น.
ธนภัทร ติรางกูล
ข่าวในพระราชสำนัก
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 20:00 – 20:15 น.
ดึงสัญญาณโดยไทยพีบีเอส, สำนักข่าวไทย และ ททบ.5 เอชดี
ชงข่าววันเสาร์
วันเสาร์
เวลา 15:15 – 15:45 น.
ยกเว้นสัปดาห์แรกของเดือน
กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี
ติ่งข่าวสุดสัปดาห์
วันอาทิตย์
เวลา 09:00 – 09:30 น.
สมภพ รัตนวลี
รินรดา รวีเลิศ
ชงข่าววันอาทิตย์
วันอาทิตย์
เวลา 15:15 – 15:45 น.
อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ
ข่าวใหม่ต้นชั่วโมง
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
ทุกช่วงเวลา
ผู้ประกาศข่าวเวิร์คพอยท์
การเมือง On The ROCK
วันศุกร์
เวลา 16:00 น. (ออกอากาศทางออนไลน์)
สมภพ รัตนวลี
สุภาพชาย บุตรจันทร์
กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต

[แก้]
  • อาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ญาณิน ญาณัชปวีณ (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
  • เบญจพล เชยอรุณ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ปิยพัชร์ จิรประเสริฐกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธนกฤต ชูเชิด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณัฐพล เหลืองกนกนวนิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อนัญญา โตแสงชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วรานนท์ ปัจจัยโค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปิยะดา จิระพจชพร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มรกต แสงทวีป (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • สุจิรา อรุณพิพัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • อคัมย์สิริ สุวรรณศุข (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วรพรรณ ยาคอปเซ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ลลิดา ทองหล่อ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ฤๅชนก มีแสง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ไชยา มิตรชัย (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ศิลป์ รุจิรวนิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ดนู ชุตินาวี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นัฐฐพนท์ ลียะวณิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อติชาญ เชิงชวโน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชลธิชา อัศวาณิชย์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • เกียรติ กิจเจริญ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • คาร์บอน ยุทธนา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุคนธวา เกิดนิมิตร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธัณย์สิตา สุวัชราธนากิตติ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • อดินันท์ เหมือนยัง (ปัจจุบันอยู่สำนักข่าวมติชน)
  • ธนรัชต์ คูสมบัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุวกรณ์ ผลึกมณฑล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วาสนา ศรีผ่อง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปาณิสรา ข่มอาวุธ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปานดวงเนตร กล่อมใจ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นริสา ทรัพย์ทวีวัฒนา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปาณรวัฐ ลิ่มรัตนอาภรณ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ตรัย นุ่มแก้ว (ปัจจุบันเป็นนักการเมืองอิสระ)
  • ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)

รางวัล

[แก้]
  • รางวัลสื่อมวลชนด้านภัยพิบัติดีเด่น ประจำปี 2563 มอบโดย ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563
  • รางวัลหน่วยงานทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม ประจำปี 2563 มอบโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2559 รางวัลสถานีโทรทัศน์ส่งเสริมรายการปกิณกะดีเด่น วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 จัดโดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์
  • รางวัลดาวเมขลา ประจำปี 2559 ประเภทรางวัลสถานีดิจิทัลยอดเยี่ยม วันที่ 30 มีนาคม 2559[10]
  • รางวัลสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่มีพัฒนาการดีเด่น งานประกาศรางวัล MAYA AWARDS “มายามหาชน 2015” จัดโดย นิตยสาร MAYA CHANNEL วันที่ 9 กันยายน 2558
  • รางวัล Creative Entertainment Award ในงานประกาศรางวัล Me Awards 2015 จัดโดยนิตยสาร Me วันที่ 24 กรกฎาคม 2558
  • รางวัลประกาศเกียรติคุณทูตพระพุทธศาสนา วิสาขบูชาโลก ประจำปี 2558 ประเภทสถานีโทรทัศน์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันที่ 28 พฤษภาคม 2558
  • รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ รางวัลสถานีโทรทัศน์ที่สนับสนุนผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ซึ่งได้รับรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558[11]
  • รางวัล"พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 ประเภทสถานีดิจิทัลทีวียอดเยี่ยม วันที่ 31 กรกฎาคม 2557[12]
  • รางวัล Thailand Zocial Awards 2022 Best Brand Performance on Social Media สาขา Broadcasting[13]
  • รางวัล Maya Entertain Awards 2022 สาขา สถานีโทรทัศน์วาไรตี้สร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2022[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติ ช่องเวิร์คพอยท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
  2. เริ่มแล้วทดลองออกอากาศ “ทีวีดิจิตอล” 1เม.ย.
  3. สั่ง PSI ถอด HD ช่องเวิร์คพอยท์ 28-06-59
  4. thairath บังคับเรียงช่องทีวีดิจิตอลเริ่ม 1 ธ.ค.นี้
  5. thairath ทุกแพลตฟอร์มเรียงช่องให้ตรงกัน
  6. มติชนทีวี ข่าวค่ำ เตรียมออนแอร์แล้ว พร้อมชมคลิปรายการ "มติชนวิเคราะห์"[ลิงก์เสีย]
  7. เวิร์คพอยท์ เลิกจ้าง มติชน หันมาผลิตข่าวเอง ดึง บรรจง รอง ผอ. ฝ่ายข่าว, เอ็มจีอาร์ออนไลน์.
  8. "แนะนำตัว 'workpointTODAY' สำนักข่าวที่ตั้งใจทำงานเพื่อให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 9 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เปิดตัว 'workpoint TODAY' สำนักข่าวที่ตั้งเป้านำเสนอสาระความรู้ที่น่าเชื่อถือ เข้าถึงคน 35 ล้านราย". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 6 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "รางวัลและความสำเร็จ 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
  11. "รางวัลและความสำเร็จ 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
  12. "รางวัลและความสำเร็จ 2557". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
  13. "THAILAND ZOCIAL AWARDS ครั้งที่ 10 งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด". สปริงนิวส์. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
  14. TNN ช่อง16 (2022-05-19). "คนบันเทิงรับรางวัลแห่งปี ในงาน Maya Entertain Awards 2022". trueiD. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ช่องเวิร์คพอยท์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?