For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เลอมงด์.

เลอมงด์

เลอมงด์
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบเบอร์ลินเนอร์
เจ้าของลา วี-เลอ มงด์
หัวหน้าบรรณาธิการซิลวี กอฟฟ์มานน์
บรรณาธิการบริหารเอริค ฟอทเทอร์ริโน
ก่อตั้งเมื่อ19 ธันวาคม พ.ศ. 2487
นโยบายทางการเมืองฝ่ายกลาง - ขวา
ภาษาภาษาฝรั่งเศส
สำนักงานใหญ่บีดี ออกุสเต-บลองกี 80,
ปารีส,  ฝรั่งเศส
ยอดจำหน่าย331,837[1]
เลขมาตรฐานสากล (ISSN)0395-2037
เว็บไซต์www.lemonde.fr

เลอมงด์ (ฝรั่งเศส: Le Monde) คือ หนังสือพิมพ์รอบค่ำรายวันของฝรั่งเศส ด้วยยอดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 จำนวน 371,803 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง] และถูกจัดเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าของฝรั่งเศส และบ่อยครั้งที่เป็นหนังสือพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสฉบับเดียว ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ที่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย นอกจากนี้ผู้คนส่วนใหญ่มักสับสนกับ เลอมงด์ดีปโลมาตีก (ฝรั่งเศส: Le Monde diplomatique) ซึ่ง เลอมงด์ เองเป็นหุ้นส่วนอยู่ร้อยละ 54 แต่เลอมงด์ดีปโลมาตีก ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายแยกอิสระจาก เลอมงด์ รวมทั้งมีกองบรรณาธิการเป็นของตัวเอง

เลอมงด์นั้น ก่อตั้งโดย อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี ตามคำของร้องของนายพลชาร์ล เดอ โกลล์ หลังจากกองทัพเยอรมนีถอนทัพออกจากปารีสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเข้าแทนที่หนังสือพิมพ์ เลอต็อง (ฝรั่งเศส: Le Temps) โดยชื่อเสียงของเลอต็องถูกบ่อนทำลายลงในช่วงที่เยอรมนีเข้ายึดครองฝรั่งเศส[2] โดยที่อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี เป็นบรรณาธิการที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการทุกด้านภายในสำนักพิมพ์ เลอมงด์ฉบับแรกวางจำหน่ายวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2487 และเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยมีเงินทุนสนับสนุนทางธุรกิจจากเครือลาวีเลอมงด์

การนำเสนอ

[แก้]

บ่อยครั้งที่เลอมงด์ ถูกบรรยายในภาพพจน์และจุดยืนทางการเมืองฝ่ายกลาง-ขวา แต่ในปัจจุบันแนวทางการนำเสนอข่าวสารของกองบรรณาธิการถูกบรรยายว่าเป็นหนังสือพิมพ์สายกลาง ในปี พ.ศ. 2524 เลอมงด์ มีส่วนสนับสนุนในการหยั่งเสียงของ ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ จากพรรคสังคมนิยม จึงทำให้เกิดการผลัดเปลี่ยนพรรคการเมืองที่จะได้เป็นรัฐบาลอันจะส่งผลดีต่อฝรั่งเศส ทางด้านฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ ภายในองค์กรมีรูปแบบเป็นหมู่คณะ ซึ่งไม่เพียงแค่นักหนังสือพิมพ์ส่วนมากเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ยังถือผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจและทรัพย์สินของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน อีกทั้งนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารเบื้องบนและบรรณาธิการอาวุโสขององค์กรอีกด้วย

แตกต่างจากหนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั่วไปของโลก เช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์ เลอมงด์ จะจับตาอยู่ที่การวิเคราะห์และความคิดเห็นตามแบบฉบับดั้งเดิม ซึ่งทำให้เลอมงด์ เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าที่แตกต่างจากรายอื่น ดังนั้นการตีความอย่างรอบด้านเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันจึงสำคัญมากกว่าการนำเสนอ "ทุกข่าวอันเหมาะสมที่จะตีพิมพ์" (คำขวัญของเดอะนิวยอร์กไทมส์) ช่วงสองสามปีมานี้นักเขียนส่วนมากที่เขียนบทความในเลอมงด์ มักจะไม่ลังเลที่จะเสี่ยงเสนอคำทำนายของตนลงในบทความ อย่างไรก็ตามเลอมงด์ ได้สร้างความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่ระหว่าง "ข้อเท็จจริง" กับ "ความคิดเห็น"

การโต้เถียงและการเมือง

[แก้]

มิเชล เลกริส ผู้เขียนหนังสือ เลอมงด์แตลกิลเลต์ (ฝรั่งเศส: Le monde tel qu'il est) ผู้ซึ่งอดีตเป็นนักข่าวให้กับเลอมงด์ ภายในได้เขียนเนื้อหาซึ่งลดความโหดร้ายป่าเถื่อนของเขมรแดงในกัมพูชา และในหนังสือ ลาฟาซกาเชดูมงด์ (ฝรั่งเศส: La face cachée du Monde, "ใบหน้าอันซ่อนเร้นของเลอมงด์") เขียนโดย ปิแอร์ ปอง และ ฟิลิปป์ โคเฮน ที่ออกมาเปิดโปง โคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล บรรณาธิการของเลอมงด์ เกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มการเมืองได้ทำข้อตกลงอย่างลับ ๆ กับทางเลอมงด์เพื่อจะลดทอนการนำเสนอข่าวอย่างอิสระของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เลอมงด์ ยังถูกกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับหน่วยงานและองกรณ์ภาครัฐของฝรั่งเศสจากการที่เปิดโปงเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองมากมาย (ส่วนมากมีชื่อเสียงจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ นานาของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก โดยเฉพาะการที่หน่วยราชการลับฝรั่งเศสในช่วงของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็องจมเรือเรนโบว์วอริเออร์) นอกจากนี้ทางผู้เขียนยังได้กล่าวถึงโคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล ว่าเป็น "พวกนิยมชาวต่างชาติ" และ "พวกเกลียดชังฝรั่งเศส" หนังสือเล่มดังกล่าวได้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ก่อให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนทั้งในฝรั่งเศสและทั่วโลกในช่วงที่หนังสือถูกตีพิมพ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เลอมงด์ชนะคดีในการฟ้องร้องต่อผู้เขียน โดยศาลตัดสินให้ผู้เขียนยินยอมที่จะไม่ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวอีก นอกจากนี้เลอมงด์ยังถูกตัดสินว่ามีความผิดในการนำเสนอข่าวว่านักฟุตบอลภายในสโมสรบาร์เซโลนาเอฟซีมีการใช้สารสเตียร์รอยด์ ทางเลอมงด์จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 450,000 ดอลลาร์สหรัฐและต้องตีพิมพ์เผยแพร่คำตัดสินของศาลทั้งในหนังสือพิมพ์และบนอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-16. สืบค้นเมื่อ 2010-04-30.
  2. Thogmartin, Clyde (1998). "The Golden Age and the War Years". The National Daily Press of France. Summa Publications, Inc. p. 113. ISBN 1883479207.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เลอมงด์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?