For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เนิร์ด.

เนิร์ด

บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
บทความนี้อาจมีงานค้นคว้าต้นฉบับรวมอยู่ กรุณาปรับปรุงโดยเพิ่มหลักฐานพิสูจน์ยืนยันข้อความที่อ้างและเพิ่มการอ้างอิงในบรรทัด ข้อความที่มีเฉพาะงานค้นคว้าต้นฉบับเพียงอย่างเดียวควรถูกลบเสีย (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

เนิร์ด หรือ เหนิด[1] (อังกฤษ: Nerd) หมายถึง “​คนที่ทำ​อะ​ไร​ด้วย​ความ​ชอบ​เป็น​หลัก​” หรืออาจกล่าวได้ว่า ​คือ คนที่​ใช้​เหตุผล​และ​ตัดสินใจบนพื้นฐานของ​ความ​ชอบ​หรือ​ความ​หมกมุ่น ไม่​ใช่​เป้าหมาย​อื่น ๆ ​เช่น​ เรื่องของ​เงินทอง​​หรือ​การได้การยอมรับ​จาก​สังคม ​แนวคิดที่ว่า​​ความ​ชอบ​ส่วน​ตัวควร​เป็น​แรงบันดาลใจ​ใน​การตัดสินใจทุกอย่าง​ใน​ชีวิต​นับ​เป็น​ “​หลักการเบื้องต้น​” ของคนในกลุ่มนี้[ต้องการอ้างอิง] ทำให้ลักษณะการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด​ เนิร์ดมักจะเป็นผู้ที่งุ่มง่าม ขี้อายและไม่มีเสน่ห์ดึงดูด[2]

เนิร์ด ในความหมายปัจจุบันนั้น หมายถึง คนที่มุ่งพัฒนา​ความ​สนใจเฉพาะด้าน​มากกว่า​จะ​สนใจทำ​ตัวตาม​ความ​คาดหวังของสังคม​ (conformity) ​คนกลุ่มนี้มักมีทักษะ ​(​โดย​เฉพาะด้านเทคนิค) และ​จินตนาการสูง และเห็นว่าเรื่องที่ตนเองสนใจ​ มีความสำ​คัญกว่าการได้รับความยอมรับ​จาก​สังคม​ นิยามนี้​ยัง​ใช้​เรียกคนที่คน​ส่วน​ใหญ่​มองว่าฉลาดหลักแหลมกว่าคนธรรมดามาก

เนิร์ด มักจะชอบ​ความ​แปลก​ใหม่​และ​ของ​ใหม่ ๆ​ ใช้​คอมพิวเตอร์คล่อง ​(แม้อาจ​ไม่​ถึง​ขั้นเขียนโปรแกรม​เป็น)​ มักมีทักษะในโลกอินเทอร์เน็ตสูง ​

นอกจากนั้น เนิร์ด ยังหมายถึงคนที่ทุ่มเท​ความ​สนใจ​กับ​อะ​ไรสักอย่าง​ ​จน​ถึง​ระดับที่ทำ​ให้​อยู่​นอก​ “​กระ​แสหลัก​” ​ของสังคม​ ในสมัยนี้มีคำอีกคำที่พัฒนาขึ้นมาในความหมายเฉพาะ อีกคำ คือ Geek

​นิยามของ Geek นี้กว้างมาก​ ​เพราะเมื่อเรา​พูด​ถึง​หัวข้อ​ความ​สนใจ​เป็น​หลัก​แล้วมันจะครอบคลุมวิชาการแทบทุกเรื่อง ไปถึงความสนใจพิเศษในทุกเรื่องที่เกิดความชื่นชอบและสนใจ จึง​ครอบคลุมตั้งแต่​​คณิตศาสตร์​, เครื่องบิน​, ดนตรี​, คอมพิวเตอร์​, ​วิทยาศาสตร์​ , ​ภาพยนตร์​, การ์ตูนญี่ปุ่น​ และแอนิเมชัน, ละคร​, ประวัติศาสตร์​, เกมคอมพิวเตอร์​, ภาษา​, การเมือง​​, เศรษฐศาสตร์​, กล้องถ่ายรูป ฯลฯ​ ​

เนิร์ด ในสมัยก่อน มักใช้​ใน​ความ​หมายเชิงลบ​ ใช้​เรียกคนที่​ไม่​มีทักษะ​ใน​การ​เข้า​สังคม​ ​ไม่​ว่า​จะ​ฉลาด​หรือ​ไม่​ ​ความ​หมายนี้​เหมือน​กับ​ศัพท์​แสลงอังกฤษอีกคำ​คือ​ “dork” ​แต่ตอนนี้​เมื่อ เนิร์ด และ geek “​เท่​” ​กว่าสมัยก่อนมาก​แล้ว​ ​คนที่​เข้า​สังคม​ไม่​เป็น​จึง​เรียกว่า​ dork ​อย่างเดียว​ ​ไม่​ใช่​ geek หรือ เนิร์ด อีกต่อไป

เนิร์ด สำหรับคนสายหัวเก่า เดิมหมายถึง คนที่ปกติจะขลุกอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือเรื่องที่คนอื่นเห็นว่าไม่น่าสนใจ เนิร์ดจะหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สนใจในสิ่งที่สังคมทั่วไปไม่สนใจกัน (โดยมากจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) คำนี้ใช้กันแพร่หลายที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีใช้ไม่น้อยในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เนิร์ดจำนวนมากบนโลกอินเทอร์เน็ต ถือเอาคำนี้เสมือนเหรียญตราแห่งความภูมิใจ และเริ่มใช้มันในความหมายแง่บวก เพื่ออธิบายถึงบุคคลที่มีความสามารถทางด้านเทคนิค ถึงแม้ว่าดั้งเดิมแล้วคำว่า "เนิร์ด" และ "กี๊ก" (geek) จะใช้เรียกผู้ชาย แต่ผู้หญิงจำนวนมากที่สนใจในเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่ปกติจะมีแต่ผู้ชาย ก็เริ่มรับเอาสองคำนี้ไปใช้เสมือนหนึ่งตราแห่งความสำเร็จด้วย

ในภาษาไทย อาจใช้คำว่าหนอนหนังสือเพื่ออธิบายเนิร์ดได้ แต่ก็ไม่ได้ให้ความหมายที่ตรงเท่าไรนัก หรือจะใช้คำว่า "แฟนพันธุ์แท้" ก็น่าจะเห็นภาพได้ครอบคลุมกว่า

ภาพลักษณ์ของเนิร์ดในสื่อมวลชนและการ์ตูน มักจะเป็นชายหนุ่มใส่แว่นหนากรอบดำ (ที่มักจะแตกและแปะด้วยเทปพันสายไฟ) มีไม้โปรเทกเตอร์ติดกระเป๋า สวมกางเกง "high-water pants" และเสื้อเชิ้ตหรือชุดที่มักจะเป็นทางการเกินไป และบางครั้งภาพที่ออกมาก็มักจะเป็นคนที่ไม่ดูแลความสะอาดของตัวเอง และถ้าไม่ผอมแห้งก็จะอ้วนฉุไปเลย ภาพของเนิร์ดมักจะเป็นคนที่เข้าสังคมไม่คล่อง ไม่สามารถสนทนาเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิคกับคนอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสาวสวย

เนิร์ด และ กี๊ก

[แก้]

ได้มีการถกเถียงกันถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำ เนิร์ด และ กี๊ก บางคนก็มองว่า กี๊กนั้นก็คือเนิร์ด แต่มีความสามารถที่ด้อยชั้นกว่า บางคนก็ว่าเนิร์ดนั้นใช้หมายถึงคนที่มีความสามารถในด้านเทคนิค รวมทั้งมีความสามารถในการเข้าสังคม ส่วนกี๊กนั้นมีแต่ความสามารถทางด้านเทคนิค ขาดความสามารถในการเข้าสังคม บางกลุ่มก็ให้ความหมายกลับกันว่า กี๊กนั้น คือ เนิร์ดที่มีความสามารถในการเข้าสังคม และยังใช้คำนี้เรียกกลุ่มของตนด้วยความภาคภูมิใจ เช่น บริษัทกี๊ก (Geekcorps) ซึ่งเป็นองค์กรที่ส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค ไปช่วยประเทศที่กำลังพัฒนา ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีบางกลุ่มที่ว่า กี๊กนั้นคือกลุ่มคนที่ไม่มีทั้งความสามารถทางด้านเทคนิค และ การเข้าสังคม

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความแตกต่างของการใช้คำ เนิร์ด และ กี๊ก ตามท้องถิ่นต่าง ๆ บ้างก็ว่าตามชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือนั้นนิยมคำว่า กี๊ก มากกว่าคำว่า เนิร์ด ส่วนตามชายฝั่งตะวันออกนั้นนิยมคำว่า เนิร์ด มากกว่าคำว่า กี๊ก (ดูเว็บ The Sexiest Geek Alive) บางกลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ตามชายฝั่งตะวันออกก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากพบเห็นบ่อยครั้งที่มีการใช้คำ เนิร์ด ในเชิงดูถูก และ กี๊ก ในเชิงยกย่อง ในประเทศอังกฤษ คำว่าเนิร์ด นั้นจะมีนัยสื่อไปในทางไม่ดี ส่วน กี๊ก นั้นจะใช้ไปในเชิงที่เป็นมิตร

คำว่า เนิร์ด เริ่มได้รับความนิยมในช่วง ทศวรรษ 1950 คำเนิร์ดจึงถูกเริ่มใช้ในเชิงค่อนแคะ เมื่อนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่คิดว่าการมีผลการเรียนที่ดีนั้น "cool" หรือ เจ๋ง (ในขณะที่บางคนก็ถือเป็นคำชมเชย)

ส่วนคำกี๊กนั้นเริ่มแพร่หลายทีหลังในช่วงทศวรรษ 1980 และไม่ได้ถูกใช้สื่อไปในทางไม่ดี เริ่มต้นนั้น กี๊กถูกใช้ในความหมายเดียวกับเนิร์ด เพียงแต่มีระดับความเข้มข้นของคำที่อ่อนกว่า โดยหมายถึง กลุ่มคนที่ถือว่าไม่ได้มีบทบาท ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่ได้มีความสลักสำคัญในวงสังคม ในขณะที่เนิร์ดนั้นใช้หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเงอะงะ ขัดเขินในการเข้าสังคม

“​เด็กเนิร์ด​”

[แก้]

ส่วน nerd ​หรือ​ที่​เริ่มปรากฏคำ​ว่า​ “​เด็กเนิร์ด​” ​ใน​ภาษา​ไทย​ ​หมาย​ถึง​คนที่มีสติปัญญาดีกว่าคนปกติ​ ​คน​ส่วน​ใหญ่​ที่ถูกเพื่อนๆ​ ​เรียกว่า​ “​เด็กเรียน​” ​และ​/​หรือ​ “​หนอนหนังสือ​” ​น่า​จะ​เป็น​ nerd ​

ความ​แตกต่างระหว่าง​ nerd ​กับ​ geek ​​จะ​อยู่​ที่​ “​ระดับ​ความ​สนใจ​” ​ใน​สิ่งที่ตัวเองชอบ​ (passion) ​เป็น​หลัก​ ​โดย​ระดับ​ความ​ทุ่มเทของ​ geek ​ใน​สิ่งที่ตัวเองสนใจ​ ​จะ​มีมากกว่าของ​ nerd ​หลาย​เท่า​ ​เช่น​ nerd ​บางคนอาจชอบอ่าน​ Lord of the Rings ​มากจนจำ​บางประ​โยค​ใน​นั้น​ได้​ ​แต่​ geek ​ที่ชอบมากๆ​ ​จะ​ใช้​เวลา​เป็น​เดือน ๆ​ ​ศึกษาภาษา Sindarin ​ของพวกเอลฟ์จนพูด​ได้​ ​หรือ​ nerd ​อาจชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น​ ​แต่​ geek ​ประ​เภท​ otaku ​ที่​เป็น​แฟนพันธุ์​แท้จริง ๆ​ ​จะ​หมดเวลา​ไป​กับ​การตามเก็บสะสมการ์ตูนที่ชอบ​ให้​ครบทุกเวอร์ชัน​ ​แต่งตัว​เป็น​ตัวการ์ตูนที่ชอบไปงานแฟนตาซี​ ​ฯลฯ

พูดง่าย ๆ​ ​คือ​ ​ระดับ​ความ​สนใจของ​ nerd ​ไม่​ว่า​จะ​ใน​เรื่องอะ​ไรก็​แล้ว​แต่​ ​จะ​อยู่​ใน​ระดับ​ “​วิชาการ​” ​เป็น​หลัก​ ​เป็น​ความ​รู้ที่มีประ​โยชน์​ ​สามารถ​นำ​ไป​ใช้​ประกอบอาชีพ​ได้​ ​ใน​ขณะที่ระดับ​ความ​สนใจของ​ geek ​จะ​เข้า​ขั้น​ “​หมกมุ่น​” ​คือระดับที่คน​ทั่ว​ไป​จะ​ไม่​เข้า​ใจว่าทำ​ไปทำ​ไม​ ​เสียเวลาทำ​มาหากินเปล่าๆ​ ประมาณนั้น

แต่สิ่งที่หลายคน​เข้า​ใจผิดคือ​ ​จริง ๆ​ ​แล้ว​ความ​เป็น​ nerd ​และ​ geek ​ไม่​เกี่ยวอะ​ไรเลย​กับ​ทักษะ​ใน​การ​เข้า​สังคม​ ​กล่าวคือ​ nerd ​หรือ​ geek ​บางคนอาจประหม่า​ ​ทำ​ตัว​ไม่​ถูกเวลา​เจอคนมากๆ​ ​ใน​ขณะที่​ nerd ​หรือ​ geek ​หลายคน​ไม่​มีปัญหา​นั้น​เลย​ ​แต่​ถ้า​พูดรวมๆ​ ​แล้ว​ geek ​โดย​เฉลี่ยอาจมี​ความ​สามารถ​ใน​การ​เข้า​สังคมต่ำ​กว่าคนที่​ไม่​ใช่​ geek ​เพราะ​ใช้​เวลา​อยู่​กับ​ความ​สนใจของตัวเอง​ (เช่น​ ​อยู่​หน้าจอคอมพิวเตอร์​ ​อ่านหนังสือเงียบ ๆ​ ​คนเดียว​ ​หรือ​สังสรรค์​กับ​คน​อื่น​ที่​เป็น​ geek ​ใน​สาขา​เดียว​กัน)​ ​มากกว่าคน​ทั่ว​ไป

ภาษาอังกฤษมีศัพท์​เฉพาะสำ​หรับเรียกคนที่มีปัญหา​ใน​การ​เข้า​สังคมจริงๆ​ ​อยู่​แล้ว​ ​คือคำ​ว่า​ “dork” ​ฉะ​นั้น​ dork ​ส่วน​ใหญ่​อาจ​เป็น​ nerd ​หรือ​ geek ​แต่​ nerd ​หรือ​ geek ​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​เป็น​ dork ​ด้วย

ตัวอย่างของตัวละครเนิร์ด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต. p. 137. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-07.
  2. DA Kinney (1993), "From nerds to normals: The recovery of identity among adolescents from middle school to high school", Sociology of Education, Sociology of Education, 66 (1): 21–40


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เนิร์ด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?