For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก.

ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก

บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
ซูส เจ้าสวรรค์ โพไซดอน เจ้าสมุทร และเฮดีส เจ้านรก สามเทพหลักของกรีก
รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน)

ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก (กรีกโบราณ: ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นประมวลเรื่องปรัมปราของอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานประมวลเรื่องปรัมปราขึ้น[1]

ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนค.ศ.[2] แต่ปัจจุบันเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้ เราทราบจากวรรณกรรมกรีกโบราณทั้งสิ้น

วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอดกวีร่วมสมัยของโฮเมอร์ คือ ธีออโกนี และ งานและวัน เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก พงศาวลีของผู้ปกครองกึ่งเทพ การผลัดเปลี่ยนยุคสมัยของมนุษย์ ต้นกำเนิดความทุกข์ยากของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่าง ๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ (Homeric hymns) จากส่วนเสี้ยวที่หลงเหลือของบทกวีมหากาพย์ใน วัฎมหากาพย์ (Epic Cycle) จากบทร้อยกรองประกอบพิณ (lyric poems) จากงานละครโศกนาฏกรรมและสุขนาฎกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส

งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องปั้นดินเผาในยุคศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่าง ๆ ในสงครามเมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อ ๆ มาเช่น กรีซยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และสมัยเฮลเลนิสต์ ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่น ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่[3]

ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากประมวลเรื่องปรัมปรากรีก และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่านี้[4]

แหล่งข้อมูลของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก

ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกซึ่งรู้จักกันอยู่ทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากวรรณกรรมกรีกโบราณและภาพในสื่อที่มองเห็นด้วยตาซึ่งมีอายุนับย้อนไปถึงยุคจีโอเมทริก (Geometric Style) ประมาณปีที่ 900-800 ก่อนคริสตกาล[5]

แหล่งข้อมูลทางโบราณคดี

เวอร์จิล กวีเอกชาวโรมัน ได้สงวนรักษารายละเอียดเกี่ยวกับประมวลเรื่องปรัมปรากรีกไว้ในงานเขียนของตนหลายชิ้น

การค้นพบอารยธรรมไมซีนี โดยนักโบราณคดีสมัครเล่น ไฮน์ริช ชลีมาน ในศตวรรษที่ 19 และการค้นพบอารยธรรมไมนอสที่เกาะครีตโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ อาร์เธอร์ อีวานส์ ในศตวรรษที่ 20 มีส่วนช่วยอธิบายเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์ และให้หลักฐานรับรองทางโบราณคดีเกี่ยวกับรายละเอียดของนิทานปรัมปราหลาย ๆ เรื่อง อย่างไรก็ดีหลักฐานเหล่านี้เป็นหลักฐานสิ่งปลูกสร้างและอนุสาวรีย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีการใช้ตัวอักษรเขียนเพื่อจดบันทึกเรื่องราว และแผ่นจารึกไลเนียร์บีที่ขุดพบ ก็เป็นเพียงบันทึกเกี่ยวกับคลังเก็บสินค้าเท่านั้น[6]

การตกแต่งด้วยลวดลายเราขาคณิตบนเครื่องปั้นดินเผาสมัยศตวรรษที่ 8 ก่อนค.ศ. แสดงภาพเนื้อเรื่องของวัฎมหากาพย์กรุงทรอย และการผจญภัยของเฮราคลีส[6] การแสดงออกเชิงประจักษ์ของเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้มีความสำคัญสองประการ ประการแรก ตำนานปรัมปราส่วนใหญ่ปรากฏอยู่บนเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี ก่อนที่จะมีหลักฐานทางวรรณคดีนานหลายศตวรรษ[7][5] ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของวีรกรรมสิบสองประการของเฮราคลีส มีแค่การผจญสุนัขปีศาจเคเบรอสเท่านั้นที่มีบันทึกไว้ในวรรณกรรมร่วมสมัย ประการที่สอง แหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์บางครั้งแสดงรายละเอียด หรือฉากของเรื่องราวในตำนานที่ไม่ปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลทางวรรณคดีใด ๆ เลย ในสมัยอาร์เคอิก (ปีที่ 750-500 ก่อนค.ศ.), สมัยคลาสสิก (ปีที่ 480-323 ก่อนค.ศ.), และสมัยเฮลเลนิสติก (ปีที่ 323-146 ก่อนค.ศ.) หลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านี้มีบทบาทในการสนับสนุนและเพิ่มเติมหลักฐานทางวรรณคดี[6]

แหล่งข้อมูลในทางวรรณกรรม

โปรมีเธียส (ภาพวาดปี 1868 โดย กุสตาฟ โมเรอ) ผู้บันทึกตำนานโพรมีเธียสครั้งแรกคือ เฮสิโอด และต่อมาเป็นรากฐานของบทละครโศกนาฏกรรมไตรภาค ซึ่งคาดว่าเป็นของ Aeschylus ได้แก่ พันธนาการโพรมีเทียส, Prometheus Unbound, และ Prometheus Pyrphoros

การปูพื้นหลังเกี่ยวกับตำนานประมวลเรื่องปรัมปรามีบทบาทอย่างมากกับวรรณกรรมกรีกโบราณในทุกสาขา ถึงกระนั้น หนังสือตำนานปรัมปราเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดมาจากยุคกรีกโบราณ ก็คือ Library หรือ บิบลิโอเธกา (Bibliotheca) ของอพอลโลดอรัสตัวปลอม งานชิ้นนี้พยายามหาข้อยุติในความขัดแย้งกันระหว่างเรื่องเล่าต่าง ๆ ของบทกวีมากมาย และพยายามเรียบเรียงออกมาเป็นตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษกรีกในยุคดั้งเดิม[8] อพอลโลดอรัสแห่งเอเธนส์มีชีวิตในช่วงปีที่ 180-125 ก่อนคริสตกาล และเขียนเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นหลายชิ้น งานเขียนของเขาอาจจัดเป็นชุดที่ต่อเนื่องกัน แต่ "Library" นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลานาน ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็นของอพอลโลดอรัสเทียม

ในบรรดาแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด มีบทกวีมหากาพย์ของโฮเมอร์ สองเรื่อง คือ อีเลียด และ โอดิสซีย์ นอกจากนี้ยังมีกวีรายอื่นอีกที่ช่วยเติมเต็ม "วัฏมหากาพย์" ทว่าในภายหลังต่างสูญหายไปเกือบหมด บทกวีเหล่านี้มักเรียกกันว่า "เพลงสวดของโฮเมอร์" (Homeric Hymns) แต่อันที่จริงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฮเมอร์เลย มันเป็นบทสวดสรรเสริญที่สืบทอดมาแต่ยุคบทกวีไลริค (Lyric Poetry)[9] เฮสิโอดซึ่งน่าจะเป็นกวีร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับตำนานกรีกที่เก่าแก่ที่สุดไว้ในผลงานชื่อ ธีออโกนี (เทวพงศาวดาร) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างโลก พงศาวดารการกำเนิดของเทพเจ้าต่าง ๆ ตลอดจนพงศาวลีที่มีรายละเอียดสูง มีนิทานพื้นบ้าน และตำนานเกี่ยวกับจุดกำเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในงานเขียนของเฮสิโอดอีกเรื่องคือ งานและวัน (Works and Days) ซึ่งเป็นบทกวีสั่งสอนเกี่ยวกับชีวิตในไร่ ได้รวมเอาตำนานเกี่ยวกับโพรมีเทียส แพนดอรา และยุคทั้งห้าของมนุษยชาติเอาไว้ด้วย ผู้ประพันธ์ได้แนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการประสบความสำเร็จในโลกอันแสนอันตราย ซึ่งยิ่งถูกทำให้เป็นอันตรายมากขึ้นโดยพวกเทพนั่นเอง[6]

บทกวีประกอบเสียงพิณ (lyric poetry) มักจะนำเนื้อเรื่องมาจากตำนาน แต่วิธีการเล่าจะมีเนื้อหาน้อยกว่าและค่อนข้างคลุมเครือกว่า กวีเพลงของกรีกซึ่งรวมไปถึง พินดาร์, แบคคิลิดีส (Bacchylides), ไซโมนิดีส (Simonides of Ceos) และกวีท้องทุ่ง (bucolic poet) หรือพาสโตรัล เช่น ธีโอคริตัส (Theocritus) และ ไบออนแห่งสเมอร์นา (Bion of Smyrna) มักรวมเอาเหตุการณ์เหนือธรรมชาติของแต่ละคนเข้าไปด้วย[10] นอกจากนี้ นิทานประมวลเรื่องปรัมปรายังเป็นแกนกลางของศิลปะการละครในเอเธนส์ยุคคลาสสิก นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรม เช่น เอสคิลัส, โซโฟคลีส, และ ยูริพิดีส ใช้พล็อตเรื่องส่วนใหญ่จากตำนานในยุคแห่งวีรบุรุษและสงครามเมืองทรอย เรื่องราวโศกนาฏกรรมที่สำคัญ ๆ (เช่น อะกาเมมนอนกับลูก ๆ, อีดิปัส, เจสัน, เมเดีย, ฯลฯ) ก็ถูกเล่าผ่านละครโศกนาฏกรรมของกวีที่สำคัญเหล่านี้ จนกลายเป็นเวอร์ชันที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐาน อริสโตฟานีส นักเขียนบทละครตลกขบขันยังใช้ตำนานเหล่านี้ในงานบทละครเรื่อง วิหก (The Birds) และ กบ (The Frogs)[11]

นักประวัติศาสตร์ เฮโรโดตัส และ ดิโอดอรัส ซิคุลัส กับนักภูมิศาสตร์ เปาซาเนีย และ สตราโบ ซึ่งเดินทางไปทั่วแผ่นดินกรีกและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ยิน ได้ให้ข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับตำนานและเรื่องเล่าของท้องถิ่น โดยมักจะเป็นเวอร์ชันที่ต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก[10] โดยเฉพาะเฮรอโดตัสนั้นเที่ยวค้นหาประเพณีต่าง ๆ ที่ตนพบเจอและพบรากฐานทางประวัติศาสตร์หรือตำนานปรัมปราอยู่ในการเผชิญหน้าระหว่างกรีกกับประเทศตะวันออก[12] เฮรอโดตัสพยายามจะนำต้นกำเนิดต่าง ๆ เหล่านี้ที่มาจากต้นกำเนิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน

บทกวีในยุคเฮลเลนิสติกและยุคโรมันโบราณล้วนมีต้นกำเนิดในฐานะวรรณกรรมมากกว่าที่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา ถึงกระนั้นมันก็ยังบรรจุรายละเอียดสำคัญมากมาย ซึ่งอาจจะสูญหายไปหมดแล้ว บทกวีจำพวกนี้รวมถึงงานต่าง ๆ ต่อไปนี้คือ

  1. กวีชาวโรมัน โอวิด, สเตเชียส, วาเลเรียส ฟลัคคัส, เซเนกาผู้เยาว์, และเวอร์จิล กับบทบรรยายของเซอร์วิอัส
  2. กวีชาวกรีกในยุค ปลายสมัยโบราณ ได้แก่ นอนนัส, อันโตนินัส ลิเบราลิส และ ควินตัส สมีเนียส
  3. กวีชาวกรีกในยุคเฮเลนนิสติก ได้แก่ อพอลโลนีอัสแห่งโรดส์, คัลลิมาคัส, เอราทอสเทนีสเทียม, และ พาร์ธีนิอัส
  4. นิยายยุคโบราณของกรีกและโรมัน เช่น แอพิวลีอัส, เปโตรนิอัส, Lollianus, และ เฮลิโอดอรัส

สันนิษฐานของที่มาของประมวลเรื่องปรัมปรากรีก-โรมัน

อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่าทำไมฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเหตุใดจึงมีเสียงสะท้อนจากถ้ำเมื่อเราส่งเสียง หรือ ฯลฯ นั่นเพราะความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติจึงพยายามหาเหตุผลและชาวกรีกชอบฟังนิทานเรื่องเล่าปรัมปรา ชอบแต่งโคลงกลอน จึงรักการขับลำนำและดีดพิณคลอไปด้วยจึงทำให้การขับลำนำเป็นที่นิยม เล่ากันว่าโฮเมอร์ (Homer) ก็เป็นนักขับลำนำชั้นยอดคนหนึ่งของกรีก ใคร ๆ ก็รักน้ำเสียงการเล่านิทานของเขา แรกเริ่มเทวตำนานเป็นบทกลอนที่ท่องจำกันมาเป็นรุ่น ๆ ต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เราจึงไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งประมวลเรื่องปรัมปรา บ้างก็ว่า โฮเมอร์ เป็นผู้แต่ง อีเลียด (Iliad) บ้างก็ว่าแค่รวบรวม บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม เฮสิโอด (Hesiod) เป็นผู้แต่ง ส่วนโอวิด (Ovid) กวีชาวโรมันก็เล่าถึงเทวตำนานแต่ใช้ชื่อตัวละครต่างกัน เล่มของโอวิดจะเล่าได้พิสดารกว่าของนักเขียนคนอื่น

เค้าโครงของประมวลเรื่องปรัมปรากรีกโดยสังเขป

ต้นกำเนิดของโลกและของเทพเจ้า

ตำนานปรัมปราว่าด้วยต้นกำเนิด หรือการสร้างโลก คือความพยายามที่จะอธิบายต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในภาษาของมนุษย์ แบบฉบับที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดเป็นบทประพันธ์ของเฮสิโอด ได้แก่ ธีออโกนี (Theogony: เทวพงศาวดาร) เฮสิโอดเริ่มบรรยายตั้งแต่ เคออส หรือความว่างเปล่าไร้ก้นบึ้ง จากความว่างเปล่านั้นก็เกิด ไกอา (โลก) และเทพยุคดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ได้แก่ เอรอส (ความรัก), ทาร์ทารัส (ก้นบึ้ง), และเอเรบัส (เงาและความมืดมิด) ไกอาให้กำเนิดยูเรนัส (โดยไม่มีความช่วยเหลือจากเพศชาย) ผู้ซึ่งเข้ามีสัมพันธ์กับเธอ จากการอยู่ร่วมกันนั้นก่อให้เกิด ไทแทน พวกแรกสุด เป็นเพศชาย 6 ตน: คอยอัส (Coeus), ไครอัส (Crius), โครนัส (Cronus), ไฮเพเรียน (Hyperion), ไอแอพิตัส (Iapetus), และ โอซีอานัส (Oceanus)

แนวคิดของกรีกและโรมันเกี่ยวกับนิทานประมวลเรื่องปรัมปรา

การตีความสมัยใหม่

ประมวลเรื่องปรัมปราในฐานะแม่บทของงานศิลปะและวรรณกรรม

อ้างอิง

  1. "Volume: Hellas, Article: Greek Mythology". Encyclopaedia The Helios. 1952.
  2. Cartwirght, Mark. "Greek Mythology". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 26 March 2018.
  3. "Greek Mythology". Encyclopaedia Britannica. 2002.
  4. J.M. Foley, Homer's Traditional Art, 43
  5. 5.0 5.1 F. Graf, Greek Mythology, 200
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Greek Mythology". Encyclopædia Britannica. 2002.
  7. Homer, Iliad, 8. An epic poem about the Battle of Troy. 366–369
  8. R. Hard, The Routledge Handbook of Greek Mythology, 1
  9. Miles, Classical Mythology in English Literature, 7
  10. 10.0 10.1 Klatt-Brazouski, Ancient Greek nad Roman Mythology, xii
  11. Miles, Classical Mythology in English Literature, 8
  12. P. Cartledge, The Spartans, 60, and The Greeks, 22

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (กรีกและโรมัน)

แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

  • Ackerman, Robert (1991). "Introduction". Prolegomena to the Study of Greek Religion by Jane Ellen Harrison (Reprint ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01514-9.
  • Albala Ken G; Johnson Claudia Durst; Johnson Vernon E. (2000). "Origin of Mythology". Understanding the Odyssey. Courier Dover Publications. ISBN 978-0-486-41107-1.
  • Algra, Keimpe (1999). "The Beginnings of Cosmology". The Cambridge Companion to Early Greek Philosophy. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-44667-9.
  • Allen, Douglas (1978). "Early Methological Approaches". Structure & Creativity in Religion: Hermeneutics in Mircea Eliade's Phenomenology and New Directions. Walter de Gruyter. ISBN 978-90-279-7594-2.
  • "Argonaut". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • Betegh, Gábor (2004). "The Interpretation of the poet". The Derveni Papyrus. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80108-9.
  • Bonnefoy, Yves (1992). "Kinship Structures in Greek Heroic Dynasty". Greek and Egyptian Mythologies. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-06454-3.
  • Bulfinch, Thomas (2003). "Greek Mythology and Homer". Bulfinch's Greek and Roman Mythology. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30881-9.
  • Burkert, Walter (2002). "Prehistory and the Minoan Mycenaen Era". Greek Religion: Archaic and Classical (translated by John Raffan). Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-15624-6.
  • Burn, Lucilla (1990). Greek Myths. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-72748-9.
  • Bushnell, Rebecca W. (2005). "Helicocentric Stoicism in the Saturnalia: The Egyptian Apollo". Medieval A Companion to Tragedy. Blackwell Publishing. ISBN 978-1-4051-0735-8.
  • Chance, Jane (1994). "Helicocentric Stoicism in the Saturnalia: The Egyptian Apollo". Medieval Mythography. University Press of Florida. ISBN 978-0-8130-1256-8.
  • Caldwell, Richard (1990). "The Psychoanalytic Interpretation of Greek Myth". Approaches to Greek Myth. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-3864-4.
  • Calimach, Andrew (2002). "The Cultural Background". Lovers' Legends: The Gay Greek Myths. Haiduk Press. ISBN 978-0-9714686-0-3.
  • Cartledge, Paul A. (2002). "Inventing the Past: History v. Myth". The Greeks. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280388-7.
  • Cartledge, Paul A. (2004). The Spartans (translated in Greek). Livanis. ISBN 978-960-14-0843-9.
  • Cashford, Jules (2003). "Introduction". The Homeric Hymns. Penguin Classics. ISBN 978-0-14-043782-9.
  • Dowden, Ken (1992). "Myth and Mythology". The Uses of Greek Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-06135-3.
  • Dunlop, John (1842). "Romances of Chivalry". The History of Fiction. Carey and Hart. ISBN 978-1-149-40338-9.
  • Edmunds, Lowell (1980). "Comparative Approaches". Approaches to Greek Myth. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-3864-4.
  • "Euhemerus". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • Foley, John Miles (1999). "Homeric and South Slavic Epic". Homer's Traditional Art. Penn State Press. ISBN 978-0-271-01870-6.
  • Gale, Monica R. (1994). "The Cultural Background". Myth and Poetry in Lucretius. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-45135-2.
  • "Greek Mythology". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • "Greek Religion". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • Griffin, Jasper (1986). "Greek Myth and Hesiod". The Oxford Illustrated History of Greece and the Hellenistic World edited by John Boardman, Jasper Griffin and Oswyn Murray. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-285438-4.
  • Grimal, Pierre (1986). "Argonauts". The Dictionary of Classical Mythology. Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-20102-1.
  • Hacklin, Joseph (1994). "The Mythology of Persia". Asiatic Mythology. Asian Educational Services. ISBN 978-81-206-0920-4.
  • Hanson, Victor Davis; Heath, John (1999). Who Killed Homer (translated in Greek by Rena Karakatsani). Kakos. ISBN 978-960-352-545-5.
  • Hard, Robin (2003). "Sources of Greek Myth". The Routledge Handbook of Greek Mythology: based on H. J. Rose's "A Handbook of Greek mythology". Routledge (UK). ISBN 978-0-415-18636-0.
  • "Heracles". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • Jung Carl Gustav, Kerényi Karl (2001). "Prolegomena". Essays on a Science of Mythology (Reprint ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01756-3.
  • Jung, C.J. (2002). "Troy in Latin and French Joseph of Exeter's "Ylias" and Benoît de Sainte-Maure's "Roman de Troie"". Science of Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-26742-7.
  • Kelly, Douglas (2003). "Sources of Greek Myth". An Outline of Greek and Roman Mythology. Douglas Kelly. ISBN 978-0-415-18636-0.
  • Kelsey, Francis W. (1889). A Handbook of Greek Mythology. Allyn and Bacon.
  • Kirk, Geoffrey Stephen (1973). "The Thematic Simplicity of the Myths". Myth: Its Meaning and Functions in Ancient and Other Cultures. University of California Press. ISBN 978-0-520-02389-5.
  • Kirk, Geoffrey Stephen (1974). The Nature of Greek Myths. Harmondsworth: Penguin. ISBN 978-0-14-021783-4.
  • Klatt J. Mary, Brazouski Antoinette (1994). "Preface". Children's Books on Ancient Greek and Roman Mythology: An Annotated Bibliography. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-28973-6.
  • "Lexicon Iconographicum Mythologiae Classicae". Lexicon Iconographicum Mythologiae Classicae. Artemis-Verlag. 1981–1999.
  • Miles, Geoffrey (1999). "The Myth-kitty". Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. University of Illinois Press. ISBN 978-0-415-14754-5.
  • Morris, Ian (2000). Archaeology As Cultural History. Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19602-0.
  • "myth". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • Nagy, Gregory (1992). "The Hellenization of the Indo-European Poetics". Greek Mythology and Poetics. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-8048-5.
  • Nilsson, Martin P. (1940). "The Religion of Eleusis". Greek Popular Religion. Columbia University Press.
  • North John A.; Beard Mary; Price Simon R.F. (1998). "The Religions of Imperial Rome". Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-31682-8.
  • Papadopoulou, Thalia (2005). "Introduction". Heracles and Euripidean Tragedy. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85126-8.
  • Percy, William Armostrong III (1999). "The Institutionalization of Pederasty". Pederasty and Pedagogy in Archaic Greece. Routledge (UK). ISBN 978-0-252-06740-2.
  • Poleman, Horace I. (March 1943). "Review of "Ouranos-Varuna. Etude de mythologie comparee indo-europeenne by Georges Dumezil"". Journal of the American Oriental Society. 63 (1): 78–79. doi:10.2307/594160. JSTOR 594160.
  • Reinhold, Meyer (20 October 1970). "The Generation Gap in Antiquity". Proceedings of the American Philosophical Society. 114 (5): 347–65. JSTOR 985800.
  • Rose, Herbert Jennings (1991). A Handbook of Greek Mythology. Routledge (UK). ISBN 978-0-415-04601-5.
  • Segal, Robert A. (1991). "A Greek Eternal Child". Myth and the Polis edited by Dora Carlisky Pozzi, John Moore Wickersham. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-2473-1.
  • Segal, Robert A. (4 April 1990). "The Romantic Appeal of Joseph Campbell". Christian Century. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2007.
  • Segal, Robert A. (1999). "Jung on Mythology". Theorizing about Myth. Univ of Massachusetts Press. ISBN 978-1-55849-191-5.
  • Stoll, Heinrich Wilhelm (translated by R. B. Paul) (1852). Handbook of the religion and mythology of the Greeks. Francis and John Rivington.
  • Trobe, Kala (2001). "Dionysus". Invoke the Gods. Llewellyn Worldwide. ISBN 978-0-7387-0096-0.
  • "Trojan War". Encyclopaedia The Helios. 1952.
  • "Troy". Encyclopædia Britannica. 2002.
  • "Volume: Hellas, Article: Greek Mythology". Encyclopaedia The Helios. 1952.
  • Walsh, Patrick Gerald (1998). "Liberating Appearance in Mythic Content". The Nature of the Gods. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-282511-7.
  • Weaver, John B. (1998). "Introduction". The Plots of Epiphany. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-018266-8.
  • Winterbourne, Anthony (2004). "Spinning and Weaving Fate". When the Norns Have Spoken. Fairleigh Dickinson University Press. ISBN 978-0-8386-4048-7.
  • Wood, Michael (1998). "The Coming of the Greeks". In Search of the Trojan War. University of California Press. ISBN 978-0-520-21599-3.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?