For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เชียงรุ่ง.

เชียงรุ่ง

เชียงรุ่ง

景洪市 · ကျိုင်းဟုံ · ᦋᦵᧂᦣᦳᧂᧈ

ຊຽງຮຸ່ງ
นครระดับอำเภอ
ภาพมุมสูงเมืองเชียงรุ่ง
ภาพมุมสูงเมืองเชียงรุ่ง
ที่ตั้งของเมืองเชียงรุ่ง (สีชมพู) ภายในจังหวัดสิบสองปันนา (สีเหลือง) มณฑลยูนนาน
ที่ตั้งของเมืองเชียงรุ่ง (สีชมพู) ภายในจังหวัดสิบสองปันนา (สีเหลือง) มณฑลยูนนาน
พิกัด: 22°00′32″N 100°47′49″E / 22.009°N 100.797°E / 22.009; 100.797
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลยูนนาน
จังหวัดสิบสองปันนา
GB/T 2260 CODE[1]532801
พื้นที่
 • นครระดับอำเภอ7,133 ตร.กม. (2,754 ตร.ไมล์)
ความสูง558 เมตร (1,831 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • นครระดับอำเภอ519,935 คน
 • ความหนาแน่น73 คน/ตร.กม. (190 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง205,000 คน
เขตเวลาUTC+8 (มาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์666100[3]
รหัสพื้นที่0691[3]
ภูมิอากาศAw
เว็บไซต์www.jhs.gov.cn
1สำนักงานสถิติมณฑลยูนนาน [1]
2Xishuangbanna Gov. [2]
3Yunnan Portal [3]

เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนทับศัพท์เป็น จิ่งหง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (พม่า: ကျိုင်းဟုံ; จีน: ; พินอิน: Jǐnghóng; ไทลื้อ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩩ᩵ᨦ; ไทยถิ่นเหนือ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩩ᩵ᨦ; ลาว: ຊຽງຮຸ່ງ) เป็นนครระดับอำเภอ และเมืองหลวงของจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ตอนใต้ของประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว

ที่มาของชื่อ

ที่มาชื่อนั้น มีตำนาน "พะเจ่าเหลบโหลก" (พระเจ้าเลียบโลก)[4] อยู่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเหินฟ้าเลียบโลกมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำของ (ภาษาไทลื้อ เรียกว่า น้ำของ ภาษาจีน เรียก หลานชาง คำว่าน้ำโขงจึงไม่มีในภาษาไทลื้อ) ในอาณาจักรของชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า "เชียง" ที่แปลว่า "เมือง" และ "รุ่ง" ที่แปลว่า "รุ่งอรุณ" ว่า "เชียงรุ่ง" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส[5]

เชียงรุ่ง หากเทียบภาษา และสำเนียงไทลื้อแล้ว จะออกเสียงว่า "เจงฮุ่ง" ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งรุ่งอรุณ คำว่า "เชียงรุ่ง" นั้นเป็นการเลียนในภาษาของชาวบางกอกเสียง ฮ จะเปลี่ยนเป็น ร เช่นคำว่า เฮา ในภาษาเหนือกลายมาเป็น เรา ในสำเนียงชาวบางกอก ภาษาเมื่อเทียบภาษาของชาวไทลื้อ เทียบสำเนียงภาษาไทลื้อแล้ว จะได้ความหมายดังนี้

  • ฮุง แปลว่า ตะไคร่น้ำ (หากฮุง) มีลักษณะสีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นตาน้ำ หรือบ่อน้ำตามริมห้วย
  • ฮุ่ง แปลว่า เวลารุ่งเช้า (ยามค่ำคืนฮุ่ง) สว่าง แจ้ง (น.) ต้นละหุ่ง ผลของลูกละหุ่ง หรือ
  • ฮุ้ง แปลว่า นกชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเดียวกับเหยี่ยว (ส่วนรุ้ง หรือ สายรุ้ง ที่เกิดบนฟ้านั้นชาวลื้อเรียกว่าแมงอี่ฮุม)
  • ภาษาไทลื้อไม่มีคำว่ารุ้ง การเรียกชื่อเมืองเชียงรุ้ง นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะภาษาไทลื้อ ออกเสียงว่า เจงฮุ่ง (เดิม อาจออกเสียงว่า เจียงฮุ่ง แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) อาจได้รับอิทธิพลจากการออกเสียงในภาษาจีนกลาง) เมื่อเทียบกับภาษาเขียนแล้วเชียงรุ่งในอักษรลื้อ ใช้ตัว ร แต่อ่านออกเสียงตัว ฮ ซึ่งการเรียกชื่อเมืองเชียงรุ่งในศัพท์ภาษาไทยนั้นจึงถูกต้องที่สุด[6][7]

อีกหนึ่งความเห็น เชื่อว่า "เชียงรุ่ง" ได้ชื่อมาจาก ตำนาน เรื่อง ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ซึ่งขยายอำนาจจากเมืองพะเยาไปเมืองเงินยางเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) จนถึงตอนใต้ของยูนนานที่สิบสองพันนา (จึงมีชื่อเมืองว่าเชียงรุ่ง หรือเจียงฮุ่ง จาก นามท้าวฮุ่ง)[8]

ภูมิศาสตร์

แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ่ง

เมืองเชียงรุ่งตั้งอยู่ละหว่างละติจูด 21°27' ถึง 22°36' เหนือ และลองจิจูด 100°25' ถึง 101°31' ตะวันออก ติดต่อกับเมืองผูเอ่อร์ทางทิศเหนือ อำเภอเมืองล้าทางทิศตะวันออก และอำเภอเมืองฮายทางทิศตะวันตก รวมทั้งติดต่อกับรัฐฉานของประเทศพม่าทางทิศใต้ มีเทือกเขาเหิงต้วน (เหิงตฺวั้น) กั้นทางทิศใต้ของเมือง และมีแม่น้ำโขง (ในประเทศจีนเรียกแม่น้ำหลานชาง) ไหลผ่านเมืองไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังประเทศลาวและประเทศพม่า

สภาพอากาศตอนบนเป็นเขตอบอุ่นและตอนล่างเป็นเขตอุ่นชื้น มีความชื้นมากในฤดูมรสุม และแห้งมากในฤดูหนาว ชั่วโมงแดดต่อปีก็คือ 1,800–2,300 ชั่งโมง อุณหภูมิเฉลี่ย 18.6 °C – 21.9 °C และ ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200–1,700 มิลลิเมตร/ปี[9]

ประชากร

เมืองเชียงรุ่งนั้น มีประชากรเป็นชาวไทลื้อเป็นหลัก โดยประชากรชนเผ่าต่าง ๆ รวมทั้งชาวจีนฮั่นและที่ไม่ใช่ชาวไท ผลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2545 เชียงรุ่งมีประชากร 249,721 คน หรือประมาณร้อยละ 67.27 ของทั้งหมด ส่วนชาวไทนั้นมีร้อยละ 35 ของทั้งหมด มีชาวฮั่น 121,511 คน และ ร้อยละ 32.73 ของทั้งหมด[10]

การขนส่ง

ถนนสายหนึ่งที่มีต้นปาล์มจำนวนมากในเมืองเชียงรุ่ง
ท่าอากาศยานสิบสองพันนา กาดทราย
ลำดับเวลา
  • พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เปิดถนนเชื่อมระหว่างคุนหมิง–เชียงรุ่ง
  • พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) เปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขง
  • พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เปิดทำการสนามบินสิบสองปันนา ใช้เวลาเพียง 45 นาทีในการเดินทางระหว่างคุนหมิงกับเชียงรุ่ง

อ้างอิง

  1. "中华人民共和国国家统计局 >> 行政区划代码". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
  2. "According to 2010 China National Census". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  3. 3.0 3.1 Area Code and Postal Code in Yunnan Province เก็บถาวร 2007-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. https://www.youtube.com/watch?v=67wnbcD8G18&t=1802s&ab_channel=โยธินคำแก้ว
  5. อาณาจักรเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา
  6. Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Turton, Andrew. Routledge, 2000. (ISBN 0700711732)
  7. Asian Borderlands: The Transformation of Qing China's Yunnan Frontier. Patterson Giersch, Charles. Harvard University Press, 2006. (ISBN 0674021711)
  8. http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2016/05/language.pdf
  9. 景洪城市介绍
  10. "欢乐共享 与傣族人民一同放飞心情(2)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-14. สืบค้นเมื่อ 2015-12-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เชียงรุ่ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?