For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เจ้าชายสืบสายพระโลหิต.

เจ้าชายสืบสายพระโลหิต

“เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์

เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (อังกฤษ: Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่นๆ

บรรดาศักดิ์

[แก้]

ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” จำกัดใช้เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายทางบิดา (Patrilineality) ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้มักจะใช้ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเอก แต่บางครั้งก็อาจจะใช้ตำแหน่งอื่นที่เฉพาะเจาะจงกว่าตำแหน่งนี้ก็ได้

มองซิเออร์พรินซ์

[แก้]

“มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” (ฝรั่งเศส: Premier prince du sang) ที่มักเป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยผู้มีอาวุโสสูงสุด (บุตรคนโต) ของราชวงศ์ผู้ที่มิใช่พระอนุชา, พระราชโอรส หรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หรือของโดแฟง (ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้เป็นเชื้อพระวงศ์ (ฝรั่งเศส: famille du roi)) ที่เป็นตำแหน่งที่เหนือกว่า “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” แต่พระโอรสองค์โตของพระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์หรือของโดแฟงสามารถถือตำแหน่งนี้ได้ คือเป็นตำแหน่งสำหรับผู้ที่มิได้เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (ฝรั่งเศส: petit-fils de France)[1] การใช้บรรดาศักดิ์ “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้จำกัดความเกี่ยวดองกับพระมหากษัตริย์ที่กำลังทรงราชย์อยู่ แต่ต้องมีคุณสมบัติเป็นเชื้อพระวงศ์ แม้ว่าอาจจะเป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ห่างๆ ก็ตาม (เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สำเร็จราชการแผ่นดินฟิลลิปที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15) แต่ก็มีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1785 เมื่อยุติการเป็นตำแหน่งตลอดชีพไปเป็นตำแหน่งที่มอบให้แก่เจ้าองค์ใดที่กลายมาเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของราชบัลลังก์โดยไม่ต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (เช่นในกรณีของหลุยส์-อองตวน ดยุคแห่งอองกูเลม) ซึ่งตามสิทธิแล้วก็ควรจะเป็น “เจ้าชายชั้นเอก”แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ซึ่งตามปกติแล้วมากับตำแหน่ง[2]

“เจ้าชายชั้นเอก” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ประกอบด้วยอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่รวมทั้งสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฐานะจากหลวง และเป็นบรรดาศักดิ์ตลอดชีพ การกำเนิดของเจ้าองค์โตที่มีสิทธิเป็น “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้เป็นการลดฐานะของผู้ที่ถือตำแหน่งอยู่แล้ว เช่น “มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยพรินซ์แห่งคองเดเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี การใช้บรรดาศักดิ์ตกไปเป็นของราชวงศ์ออร์เลอองส์ในปี ค.ศ. 1709 แต่ก็แทบจะไม่ได้ใช้กัน

เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก, ค.ศ. 1465-ค.ศ. 1830

ราชวงศ์วาลัวส์

ราชวงศ์บูร์บอง-ลามาร์ช

  • 3. ค.ศ. 1515-ค.ศ. 1525 : ชาร์ลส์ที่ 4 ดยุคแห่งอลองซอง (ค.ศ. 1489-ค.ศ. 1525) ;
  • 4. ค.ศ. 1525-ค.ศ. 1527 : ชาร์ลส์ที่ 3 ดยุคแห่งบูร์บองผู้ที่ควรจะเป็นเจ้าชั้นเอกแต่ถูกห้ามจากตำแหน่งเพราะเป็นกบฏ (ค.ศ. 1490-ค.ศ. 1527) ;
  • 5. ค.ศ. 1527-ค.ศ. 1537 : ชาร์ลส์ที่ 4 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งแวงโดม (ค.ศ. 1489-ค.ศ. 1537) ;
  • 6. ค.ศ. 1537-ค.ศ. 1562 : อองตวนแห่งบูร์บอง ดยุคแห่งแวงโดม ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1518-ค.ศ. 1562).

ราชวงศ์บูร์บอง

ราชวงศ์บูร์บอง-คองเด

  • 8. ค.ศ. 1589-ค.ศ. 1646 : อองรีที่ 2 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1588-ค.ศ. 1646) ;
  • 9. ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1686 : หลุยส์ที่ 2 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1621-ค.ศ. 1686) ;
  • 10. ค.ศ. 1686-ค.ศ. 1709 : อองรีที่ 3 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1643-ค.ศ. 1709).

ราชวงศ์ออร์เลอองส์


มาดามพรินเซส

[แก้]

“มาดามพรินเซส” เป็นตำแหน่งภรรยาของ “มองซิเออร์พรินซ์” ดัชเชส/พรินเซสที่มีสิทธิในการใชบรรดาศักดิ์นี้ก็ได้แก่:

  • ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1686 : Claire-Clémence de Maillé-Brézé (ค.ศ. 1628-ค.ศ. 1694) หลานของคาร์ดินัลรีชลีเยอ และภรรยาของ กรองด์คองเด นอกจากนั้นก็ยังมีตำแหน่งของตนเองเป็นดัชเชสแห่งฟรอนแซ็คระหว่าง ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1674.
  • ค.ศ. 1684-ค.ศ. 1709 : อันนา เฮนเรียตเตอแห่งบาวาเรีย (ค.ศ. 1648-ค.ศ. 1723) บุตรีของอันนา กอนซากา และชาร์ลส์ที่ 1 ดยุคแห่งมานตัว ในปี ค.ศ. 1663 อันนาสมรสกับอองรี ฌูลส์ ดยุคแห่งบูร์บอง บุตรชายและทายาทของ กรองด์คองเด อันนาเป็นมารดาของหลุยส์ที่ 3 ดยุคแห่งคองเด
  • ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1723 : ฟรองซัวส์-มารีแห่งบูร์บอง (ค.ศ. 1677-ค.ศ. 1749) - ภรรยาของฟิลิปที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์
  • ค.ศ. 1724-ค.ศ. 1726 : มากราวีนออกัสต์ มารี โยฮันนา แห่งบาเดิน-บาเดิน (ค.ศ. 1704–ค.ศ. 1726) - ภรรยาของหลุยส์แห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์
  • ค.ศ. 1743-ค.ศ. 1759 : หลุยส์ อองเรียตแห่งบูร์บอง - บุตรีของ หลุยส์ เอลิซาเบธเดอบูร์บอง มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สาม และภรรยาของหลุยส์ ฟิลิปแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์
  • ค.ศ. 1785-ค.ศ. 1793 : หลุยส์ มารี อเดเลดเดอบูร์บอง (ค.ศ. 1753-ค.ศ. 1821) ; ภรรยาของหลุยส์ ฟิลิปป์ โจเซฟแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้ถือตำแหน่งเป็นคนสุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส

มองซิเออร์ดยุค

[แก้]

“มองซิเออร์ดยุค” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด เดิมได้บรรดาศักดิ์ “duc d'Enghien” แต่มาเปลี่ยนในปี ค.ศ. 1709 เมื่อคองเดสูญเสียบรรดาศักดิ์ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” หลังจากนั้นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตก็เปลี่ยนเป็น “ดยุคแห่งบูร์บอง” และบุตรชายคนโตของบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด (หลาน) ก็เป็น “duc d'Enghien”

  • 1. ค.ศ. 1689-ค.ศ. 1709 : Henri I, Duke of Enghien (ค.ศ. 1643-ค.ศ. 1709) ;
  • 2. ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1710 : Louis I, Duke of Enghien (ค.ศ. 1668-ค.ศ. 1710) ;
  • 3. ค.ศ. 1710-ค.ศ. 1740 : Louis II Henri, Duke of Enghien (ค.ศ. 1692-ค.ศ. 1740) ;
  • 4. ค.ศ. 1740-ค.ศ. 1818 : Louis III Joseph, Duke of Enghien (ค.ศ. 1736-ค.ศ. 1818) ;
  • 5. ค.ศ. 1818-ค.ศ. 1830 : Louis IV Henri, Duke of Enghien (ค.ศ. 1756-ค.ศ. 1830)

มาดามดัชเชส

[แก้]

“มาดามดัชเชส” เป็นตำแหน่งของภรรยาของ “มองซิเออร์ดยุค” ผู้ดำรงบรรดาศักดิ์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดคือ:

  • ค.ศ. 1685-ค.ศ. 1709 : หลุยส์-ฟรองซัวส์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1673-ค.ศ. 1743) พระราชธิดานอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระสนมมาดามเดอมองเตสปอง หลุยส์-ฟรองซัวส์สมรสกับหลุยส์ที่ 3 พรินซ์แห่งคองเดเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1685 ผู้ได้รับตำแหน่งเกียรติยศว่า ดยุคแห่งบูร์บอง ที่เรียกว่า “มองซิเออร์ดยุค” หลุยส์-ฟรองซัวส์จึงได้รับการเรียกขานว่า “มาดามดัชเชส” และยังคงถือตำแหน่งแม้ว่าหลังจากที่เป็นแม่หม้ายแล้วเมื่อเป็นพรินเซสแห่งคองเด ต่อมาหลุยส์-ฟรองซัวส์ก็เป็นที่รู้จักกันในนาม มาดามดัชเชสหม้าย

“มาดามดัชเชส” คนอื่นๆ ก็ได้แก่:

  • ค.ศ. 1713-ค.ศ. 1720 : มารี แอนน์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1689–ค.ศ. 1720) - ภรรยาคนแรกของหลุยส์ อองรี ดยุคแห่งบูร์บอง;
  • ค.ศ. 1728-ค.ศ. 1741 : คาโรไลน์แห่งเฮสส์-โรเตนบวร์ก (ค.ศ. 1714-ค.ศ. 1741) ภรรยาคนแรกของดยุคแห่งบูร์บอง;
  • ค.ศ. 1753-ค.ศ. 1760 : ชาร์ลอตต์ เอลิสซาเบธ กอดฟรีด์ เดอ โรฮัน (ค.ศ. 1737-ค.ศ. 1760) - ภรรยาของหลุยส์ โจเซฟ พรินซ์แห่งคองเด
  • ค.ศ. 1770-ค.ศ. 1818 : หลุยส์ มารี เทอรีสแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1750-ค.ศ. 1820) - ภรรยาของพรินซ์แห่งคองเดคนสุดท้าย

มองซิเออร์เคานท์

[แก้]

“มองซิเออร์เคานท์” เป็นตำแหน่งประมุขของสาขารองของราชวงศ์บูร์บอง, เคานท์แห่งซัวซองส์ บรรดาศักดิ์นี้ก็เช่นเดียวกันกับบรรดาศักดิ์พรินซ์แห่งคองตี ที่สืบเชื้อสายมาจากพรินซ์แห่งคองเด ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1566 เมื่อมอบให้กับชาร์ลส์แห่งบูร์บองบุตรคนที่สองของหลุยส์แห่งบูร์บอง พรินซ์แห่งคองเดผู้ทรงเป็น พรินซ์แห่งคองเด คนแรก

พรินซ์แห่งคองเดคนแรกมีบุตรชายสามคน:

  • 1. อองรีแห่งบูร์บองพรินซ์แห่งคองเดคนที่สอง
  • 2. ชาร์ลส์แห่งบูร์บองเคานท์แห่งซัวซองส์คนแรกและผู้ก่อตั้ง ตระกูลบูร์บอง-ซัวซองส์
  • 3. ฟรองซัวส์แห่งบูร์บอง พรินซ์แห่งคองตี ผู้เป็นพรินซ์แห่งคองตีคนแรก แต่บรรดาศักดิ์ว่างลงหลังจากที่ฟรองซัวส์เสียชีวิตโดยไม่มีทายาทในปี ค.ศ. 1614 และมารื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1629 สำหรับอาร์มองด์ พรินซ์แห่งคองตีพระโอรสองค์ที่สองของเฮนรีที่ 2 พรินซ์แห่งคองเด

เคานท์แห่งซัวซองส์คนที่สองเสียชีวิตโดยไม่มีทายาท บรรดาศักดิ์จึงตกไปเป็นของน้องสาวคนรอง มารี เดอ บูร์บอง-คองเด ภรรยาของทอมัส ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งคาริยองแห่งราชวงศ์ซาวอย มารีจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์ เมื่อมารีเสียชีวิตตำแหน่งก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนที่สอง โจเซฟ-เอมมานูเอล พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง (ค.ศ. 1631-ค.ศ. 1656) และต่อมาไปเป็นของบุตรชายคนที่สามเออแฌง-ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง เออแฌงสมรสกับโอลิมเปีย มันชินิหลานของคาร์ดินัลมาซาแรง โอลิมเปียจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์[3] เช่นเดียวกับมารดาของสามี เมื่อสามีเสียชีวิตบรรดาศักดิ์ก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนโตหลุยส์-ทอมัส พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยองผู้เป็นพี่ชายของนายพลผู้มีชื่อเสียงของออสเตรียเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ตำแหน่งซัวซองส์มาสิ้นสุดลงเมื่อ เออแฌง-ฌอง-ฟรองซัวส์เดอซาวอย-คาริยอง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1734

มาดามเคานเทส

[แก้]

“มาดามเคานเทส” เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “มองซิเออร์เคานท์” ตัวอย่างผู้ถือตำแหน่งก็ได้แก่

  • 1. โอลิมเปีย มันชินิ

มาดามพรินเซสหม้าย

[แก้]

“มาดามพรินเซสหม้าย” (ฝรั่งเศส: Madame la Princesse Douairière) เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “พรินซ์แห่งคองตี” ที่สามีเสียชีวิตไปแล้ว ถ้ามีหลายคนก็จะเรียงลำดับด้วยหมายเลข ระหว่างปี ค.ศ. 1727 ถึงปี ค.ศ. 1732 ก็มีภรรยาหม้ายของพรินซ์แห่งคองตีถึงสามคนที่รวมทั้ง:

  • มารี แอนน์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1739) พระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และ หลุยส์ เดอ ลา วาลลิเยร์; มารี แอนน์เป็นภรรยาของหลุยส์ อาร์มองด์ที่ 1 พรินซ์แห่งคองตี มารี แอนน์เป็นที่รู้จักกันในตำแหน่ง มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่หนึ่ง (Madame la Princesse de Conti Première Douairière) เพราะเป็นภรรยาหม้ายของพรินซ์แห่งคองตีคนแรกที่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1685 บรรดาศักดิ์พรินซ์แห่งคองตีตกไปเป็นของน้องชายคนรองของสามีฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี
  • มารี เทอเรส เดอ บูร์บอง (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1732), ภรรยาของฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี มารี เทอเรสเป็นที่รู้จักกันในตำแหน่ง ''มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สอง (Madame la Princesse de Conti Seconde Douairière) หลังจากที่สามีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1709
  • หลุยส์ เอลิซาเบธเดอบูร์บอง (ค.ศ. 1693-ค.ศ. 1775) ภรรยาของหลุยส์ อาร์มองด์ที่ 2 เดอบูร์บอง พรินซ์แห่งคองตี บุตรชายและทายาทของฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี หลุยส์ เอลิซาเบธเป็นบุตรีของ มองซิเออร์ดยุคหลุยส์ที่ 3 ดยุคแห่งคองเด และ มาดามดัชเชส หลุยส์-ฟรองซัวส์เดอบูร์บอง เมื่อสามีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1727 หลุยส์ เอลิซาเบธก็เป็น มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สาม (Madame la Princesse de Conti Troisième/Dernière Douairière) ตำแหน่งที่ว่านี้ไม่ใช่ตำแหน่งตามสิทธิแต่เป็นวิธีที่ทางราชสำนักใช้แยกระหว่างแม่หม้ายทั้งสามผู้ใช้ตำแหน่ง พรินเซสแห่งคองตี พร้อมกัน

พระราชโอรสธิดาตามกฎหมาย

[แก้]

พระราชโอรสธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส และของชายในราชวงศ์ใช้นามสกุลตามสาขาของตระกูลคาเปต์ที่เป็นของพระราชบิดาหรือบิดาเช่นหลุยส์-โอกุสต์เดอบูร์บอง ดยุคแห่งแมนผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระสนม|มาดามเดอมองเตสปอง[4] หลังจากที่ทำให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็จะได้รับบรรดาศักดิ์จากดินแดนที่เป็นของบิดา ส่วนบุตรีก็จะได้รับตำแหน่งเป็น มาดมัวเซลล์แห่ง X

ถ้าเป็นบุตรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะใช้นามสกุลตามแต่ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่เป็นราชตระกูลก็ได้ เด็กที่เป็นลูกนอกกฎหมายไม่ถือว่าเป็น เชื้อพระวงศ์ (fils de France) แต่ถ้าได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นให้ถูกกฎหมาย พระมหากษัตริย์อาจจะพระราชทานบรรดาศักดิ์เกือบเท่าเทียมหรือเท่าเทียม เจ้าชายสืบสายพระโลหิต ก็ได้[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Velde, François. "The French Royal Family: Titles and Customs". Heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
  2. Velde, François. "The French Royal Family: Titles and Customs". Heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
  3. Nancy Mitford, The Sun King, 1966, p.87
  4. Spanheim, Ézéchiel (1973). ed. Émile Bourgeois (บ.ก.). Relation de la Cour de France. le Temps retrouvé (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Mercure de France. p. 70. ((cite book)): |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. ib. Spanheim, Ézéchiel, pp. 100-105, 323-327.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เจ้าชายสืบสายพระโลหิต
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?