For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เครื่องแบบนักเรียนไทย.

เครื่องแบบนักเรียนไทย

เครื่องแบบนักเรียนชายแบบหนึ่ง ซึ่งในภาพประกอบด้วยเสื้อคอปกสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงเท้าสีขาวและรองเท้าสีดำ

เครื่องแบบนักเรียนไทย หมายถึง รูปแบบการแต่งกายของผู้เข้าศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

เครื่องแบบ

[แก้]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

นักเรียนชาย

[แก้]
  • เสื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวคอตั้ง ไม่มีสาบหลัง มีกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านซ้าย ปักอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่หน้าอกซ้ายและชื่อหรือตัวเลขประจำตัวนักเรียนที่หน้าอกขวา ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินหรือสีแดงในการปัก
  • กางเกงและเข็มขัด มี 3 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากี คู่กับเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กางเกงขาสั้นสีดำคู่กับเข็มขัดหนังสีดำหรือน้ำตาล สีน้ำเงินคู่กับเข็มขัดสีดำหรือสีน้ำตาล ในปัจจุบัน โรงเรียนที่ใช้กางเกงนักเรียนสีกากีส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โรงเรียนรัฐบาลมักให้ใส่กางเกงนักเรียนสีดำ และโรงเรียนเอกชนจะใช้กางเกงนักเรียนสีน้ำเงิน โดยความยาวของกางเกงจะแตกต่างกันตามโรงเรียน โดยจะมีส่วนคล้ายกันคือต้องเหนือเข่าประมาณ 3-4 นิ้ว โดยเฉลี่ยแล้ว ความยาวกางเกงนักเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15-16 นิ้วเป็นอย่างน้อย บางโรงเรียนจะมีกฎบังคับไม้ให้ใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่าความยาวหนึ่ง เช่น โรงเรียนชายล้วนชื่อดังแห่งหนึ่ง ห้ามนักเรียนใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า 15 นิ้ว อีกแห่ง 16 นิ้ว และโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งถือว่าการใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า 18 นิ้วเป็นเรื่องน่าอับอายและจะต้องถูกลงโทษอย่างเคร่งครัด
  • รองเท้าและถุงเท้า มี 2 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากีจะใช้รองเท้าและถุงเท้าสีน้ำตาล อีกแบบคือกางเกงขาสั้นดำและน้ำเงินจะใช้ถุงเท้าสีขาว คู่กับรองเท้าผ้าหรือหนังสีดำ โดยสรุปแล้ว นักเรียนต้องสวมเสื้อนักเรียนและกางเกงนักเรียนที่สั้นที่สุดเท่าที่ตนเองมี บางแห่งอาจมีการกำหนดความยาว เช่น ต้องสั้นกว่า 18นิ้ว หรือ ชายกางเกงต้องสูงเหนือเข่าอย่างน้อย 2นิ้ว โดยผู้ที่ไม่มีกางเกงตามแบบดังกล่าวจำเป็นต้องนำกางเกงนักเรียนไปตัด

นักเรียนหญิง

[แก้]
  • เสื้อ มีรายละเอียดดังนี้
    • นักเรียนชั้นประถมศึกษา ใช้เสื้อคอปกบัวสีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนไม่มีจีบ ปล่อยชายเสื้อ เช่นเดียวกันกับนักเรียนโรงเรียนสาธิต
    • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อคอปกกะลาสี สีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนมีจีบและกระดุม ผูกโบสีกรมท่าใต้ปกเสื้อ ปล่อยชายเสื้อ ความยาวของกระโปรงเหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม.
    • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เสื้อเชิ้ตปกแหลม สีขาว ที่แขนมีจีบและกระดุม สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง คาดทับด้วยเข็มขัดหนังสีดำ ความยาวของกระโปรงเหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม.

ปักอักษรย่อของโรงเรียนที่หน้าอกขวาและชื่อนักเรียนที่หน้าอกซ้าย ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินปัก

  • กระโปรง ในโรงเรียนรัฐบาลจะใช้กระโปรงสีกรมท่าหรือสีดำ มีจีบด้านหน้า 6 จีบ และด้านหลัง 6 จีบ จีบหันออกด้านนอก ความยาวไม่สั้นเหนือลูกสะบ้า คู่กับเข็มขัดหนังสีดำ
  • รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าสีขาว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

มาตรการเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียน

[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอนุญาตให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทเข้าเรียน[1][2] อย่างไรก็ดี พบว่าครูบางโรงเรียนสั่งห้ามนักเรียนที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบเข้าเรียน[3] หลายโรงเรียนมีคำสั่งเชิงบังคับและขู่จะมีโทษหรือผลร้ายหากนักเรียนไม่สวมเครื่องแบบไปเรียน[4][5] ด้านคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เคยให้สัมภาษณ์ว่า ระเบียบกระทรวงกำหนดให้แต่งเครื่องแบบในโรงเรียนของรัฐ มิฉะนั้นจะต้องขออนุญาตกับศึกษาธิการจังหวัด อย่างไรก็ดี ยังเปิดให้แต่งชุดอย่างอื่นได้เช่นกัน เช่น ชุดพละ หรือชุดพื้นเมือง[6]

บางโรงเรียนมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องชุดเครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือและยุวกาชาด ซึ่งได้รับปฏิกิริยาทั้งแง่บวกและลบ[7]

ในห้วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และการเรียนการสอนออนไลน์พบว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดเห็นชอบให้นักเรียนสวมเครื่องแบบมาเรียนออนไลน์เพราะจะเป็นผลดีแก่นักเรียนเอง[8]

ข้อเสนอให้ยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน

[แก้]

ผู้สนับสนุนเครื่องแบบนักเรียนไทยมักอ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนทำให้เกิดมาตรฐานและความเท่าเทียมในสถานศึกษา ส่วนผู้คัดค้านยกประเด็นว่าเครื่องแบบนักเรียนเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและไม่ได้มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน[9] นอกจากนี้ มีการยกประเด็นว่าชุดนักเรียนไม่ช่วยให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ[10] และมีสื่อใช้เครื่องแบบนักเรียนเป็นเครื่องยั่วยุทางเพศ[11] มีข้อเรียกร้องให้นักเรียนสามารถเลือกแต่งเครื่องแบบหรือชุดไปรเวทได้ และในห้วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการนัดแต่งชุดไปรเวทไปเรียนใน 23 โรงเรียน[12] ทำให้มีผู้ตอบโต้กระแสต่อต้านเครื่องแบบนักเรียนว่าให้ "แก้ผ้าไปเรียน"[13]

ผลสำรวจของนิดาโพลในเดือนธันวาคม 2563 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,332 คน ระบุว่า ร้อยละ 69.67 สนับสนุนให้คงระเบียบการแต่งเครื่องแบบต่อไป โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 78.15 ระบุว่าเพื่อฝึกระเบียบวินัย[14] ร้อยละ 51.50 ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของกลุ่มนักเรียนเลว เห็นว่าควรไปทุ่มเทกับการเรียนมากกว่า[15]

แฟชั่น

[แก้]

พบในประเทศจีน กระแสเครื่องแบบนักเรียนไทยได้รับความนิยมเนื่องจากอิทธิพลจากซีรีส์ไทยที่ไปฉายที่นั่น[16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""กรุงเทพคริสเตียน" สุดคึกคัก เด็กแต่งชุดไปรเวทมาเรียนวันแรก!". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  2. "'สวนกุหลาบ'ไร้ปัญหาไปรเวท เข้าเรียนได้-ไม่ตัดคะแนน". เดลินิวส์. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  3. "คลิป นักเรียนแต่งไปรเวท โดนครูไล่กลับบ้าน ไม่ให้เข้าเรียน". ประชาชาติธุรกิจ. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  4. "เปิดคำสั่ง 3 โรงเรียน "บดินทรฯ- เขมะสิริฯ-หอวัง" ชน "ชุดไปรเวท"". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  5. "เทพศิรินทร์ ประกาศ ไม่แต่งกายตามระเบียบ ส่งหน่วยงานอื่นดูแล". ประชาชาติธุรกิจ. 4 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  6. "ชัดแล้ว! โรงเรียนรัฐห้ามใส่ชุดไปรเวท ระเบียบกระทรวงชี้ต้องแต่งกายตาม ร.ร.กำหนดเพื่อความเรียบร้อย". มติชนออนไลน์. 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  7. ""โรงเรียนผดุงวิทย์" ประกาศ 2 นโยบายเรื่องเครื่องแบบนักเรียน หวังช่วยผู้ปกครองแบ่งเบาค่าใช้จ่าย". ผู้จัดการออนไลน์. 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  8. "ผู้ว่าฯตราด เห็นด้วยใส่เครื่องแบบ เรียนออนไลน์ ยันมีข้อพิสูจน์ทำแล้วดี". ประชาชาติธุรกิจ. 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  9. คำเปรม, พัชรินทร์ (11 May 2021). "รายงาน : ส่อง 'ชุดนักเรียน-ลูกเสือ' ลดเหลื่อมล้ำใน ร.ร.จริงหรือ ??". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  10. ""หนูถูกครูทำอนาจาร" จากฝันร้ายในวัยเรียนสู่การต่อสู้เพื่อหยุดการล่วงละเมิดทางเพศ". BBC ไทย. 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  11. "เหมาะสมหรือไม่! เมียจำเป็น เสนอฉากใส่ชุดนักเรียนยั่วยวนพระเอก". TNN. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  12. "เช็กลิสต์23รร.บอกลาเครื่องแบบ แต่งชุดไปรเวทไปเรียน". เดลินิวส์. 30 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  13. "อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ โพสต์ถึงนร.ใส่ชุดไปรเวท "แก้ผ้าไปโรงเรียนเถิดลูก"". springnews. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  14. "'นิด้าโพล' เผยปชช. ส่วนใหญ่หนุนใส่ 'เครื่องแบบนักเรียน' ต่อไป". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  15. "คนค้านยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน ชี้เด็กควรเรียนหนังสือ ไม่ใช่ออกมาประท้วง". ไทยรัฐ. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  16. "ส่องความน่ารัก 'ชุดนักเรียนไทย' ดังไกลถึงเมืองจีน ได้รับอิทธิพลหนัง-ซีรีส์ไทย". ข่าวสด. 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เครื่องแบบนักเรียนไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?